เร่งขับเคลื่อนนโยบายห้ามนำเข้าขยะพลาสติก

กรุงเทพฯ 3 ก.ย. – รมว. วราวุธยืนยัน ผลักดันการพัฒนากฎหมายเพื่อเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ภายในปี 2565 ให้สอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของรัฐบาล อธิบดีกรมควบคุมมลพิษเผยเตรียมเสนอแนวทางควบคุมการนำเข้าเศษพลาสติกให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีพิจารณา 


นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) กล่าวว่า ได้ประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 2/2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (VDO Conference) ซึ่งเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะดำเนินตามนโยบาย BCG (Bio – Circular – Green Economy) ของรัฐบาลที่คำนึงถึงความสมดุลในทุกมิติ ทั้งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ในการบริหารจัดการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกของประเทศ

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการควบคุมการนำเข้าเศษพลาสติกในเขตปลอดอากรและเขตประกอบการเสรี การติดตามตรวจสอบตู้เศษพลาสติกคงค้าง รวมถึงมีวาระการพิจารณาทบทวนนโยบายและมาตรการกำกับการนำเข้าเศษพลาสติกให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน


นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีมติมอบหมาย คพ. หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางเลือกด้านเงื่อนไขระยะเวลาการห้ามนำเข้าเศษพลาสติก จัดทำข้อดี-ข้อเสีย โดยกำหนดแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน เพื่อเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยมีทางเลือกในการดำเนินงาน 3 แนวทางดังนี้

แนวทางที่ 1 ห้ามนำเข้าเศษพลาสติก ในปี 2564 ตามมติคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 (กขป.5)

แนวทางที่ 2 ห้ามนำเข้าเศษพลาสติก ในปี 2569 ตามมติคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564


 แนวทางที่ 3 ห้ามนำเข้าเศษพลาสติก ในปี 2566

ทั้งนี้ หากมีการดำเนินงานตามแนวทางที่ 2 และ 3 จะต้องมีการกำหนดสัดส่วนเพื่อส่งเสริมการใช้เศษพลาสติกภายในประเทศ และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเมื่อต้องใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงาน 100% สอดคล้องกับนโยบายการขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยระบบโมเดลเศรษฐกิจ BCG

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบถึงการพัฒนากฎหมายเพื่อเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ภายในปี 2565 ที่ได้ขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง ตาม Road Map การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 โดยที่ประชุมเห็นด้วยในการออกประกาศกำหนดประเภทการผลิตพลาสติก เป็น 2 ชนิด คือ 1) พลาสติกแบบรีไซเคิล 100 % และ 2) พลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพ (compostable plastic) ซึ่งจะมีการกำหนดมาตรฐานพลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพเป็นมาตรฐานบังคับภายใต้ สมอ. มีตราสัญลักษณ์และแสดงวิธีคัดแยก รวมถึงการควบคุมการผลิตโฟมบรรจุอาหาร ถุงพลาสติกหูหิ้ว แก้วพลาสติกแบบบาง หลอดพลาสติก โดยมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมทั้ง 5 ฉบับไปดำเนินการต่อไป. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เชียงใหม่อากาศแปรปรวน เจอลมหนาว-ฝนตก 3 วันติด

ชาวเชียงใหม่เจอลมหนาวและฝนตกต่อเนื่อง 3 วันติด อุตุฯ ย้ำอากาศแปรปรวน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ยังมีฝนตกและลมหนาว แนะรักษาสุขภาพ

“อัจฉริยะ” ยื่นสอบปม “ทนายตั้ม” ปูดข่าวผู้บริหารปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ

“อัจฉริยะ” ยื่นหนังสือตรวจสอบข้าราชการช่วยผู้บริหารรัฐวิสาหกิจปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ คาดอาจมีทนายดังเข้าไปเอี่ยว เสนอตำรวจให้สอบพยานรายสำคัญที่เป็นประโยชน์กับ “มาดามอ้อย”

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊ก บช.ก. สอบปากคำ

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊กสอบสวนกลาง สอบปากคำ นานกว่า 5 ชั่วโมง ขณะที่พนักงานสอบสวนเตรียมเข้าค้น “ษิทรา ลอว์ เฟิร์ม” เช้าพรุ่งนี้ หาหลักฐานเพิ่ม ก่อนฝากขังช่วงบ่าย ค้านประกันตัว

“บิ๊กอ้อ” เผย “ทนายตั้ม-ภรรยา” มีพฤติการณ์หนี-ยุ่งเหยิงพยานฯ

“บิ๊กอ้อ” ชี้ตำรวจต้องออกหมายจับ “ทนายตั้ม” เหตุพบพฤติการณ์เตรียมหลบหนีออกนอกประเทศ และยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน นอกจากนี้ยังมีคดีต่อเนื่อง 3 คดี เตรียมแจ้งข้อหาเพิ่ม

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นตอนเช้า-ภาคใต้ฝนหนัก

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นในตอนเช้า เตือนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พร้อมอัปเดตเส้นทางพายุ “หยินซิ่ง”

MOU44

MOU 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง ตอนที่ 1

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องเอ็มโอยู 44 และเส้นแบ่งอาณาเขตทางทะเล หรือเส้นเคลม กลายเป็นปมร้อน ท่ามกลางความกังวลถึงผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และสิทธิเหนือเกาะกูด ติดตามความเห็นและมุมมองจากผู้เกี่ยวข้องในรายงาน “ปมร้อน เอ็มโอยู 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง”

ทนายตั้ม

“ทนายตั้ม” สร้างตัวตนผ่านสื่อ หวังหาผลประโยชน์หรือไม่

หลังจากพนักงานสอบสวนควบคุมตัว “ทนายตั้ม” และภรรยา เข้าเรือนจำไปแล้ว มีคำถามตามมาว่า ทนายคนดังสร้างตัวตนจนโดดเด่นในสังคม เพื่อหาผลประโยชน์จากความน่าเชื่อถือที่สร้างไว้หรือไม่