ธปท. เผย Q2/64 ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยยังแข็งแกร่ง

กรุงเทพฯ 23 ส.ค. – ธปท. เผย Q2/64 ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยยังแข็งแกร่ง รองรับผลกระทบโควิดได้


นางสาว สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 2 ปี 2564 ว่า ระบบธนาคารพาณิชย์มีความเข้มแข็ง โดยมีเงินกองทุนเงินสำรองและสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง สามารถรองรับผลกระทบจาก

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวและทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้และสนับสนุนความต้องการสินเชื่อได้ ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นช่วยชะลอการด้อยลงของคุณภาพสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ ขณะที่ผลประกอบการปรับดีขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน โดยหลักจากค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลงหลังจากการกันสำรองในระดับสูงในปีก่อน


ทั้งนี้ ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 3,038.1 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) ที่ร้อยละ 20.0 เงินสำรองอยู่ในระดับสูงที่ 851.5 พันล้านบาท โดยอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL coverage ratio) อยู่ที่ร้อยละ 152.2 และอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) อยู่ที่ร้อยละ 186.7

ภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 2 ปี 2564 ขยายตัวลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 3.7 เทียบกับไตรมาส 2 ปี 2563 จากร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

สินเชื่อธุรกิจขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 เทียบกับไตรมาส 2 ปี 2563 จากการเร่งใช้สินเชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่ ในช่วงที่ตลาดการเงินมีความผันผวนในปีก่อน กอปรกับการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ SMEs ปรับดีขึ้นและขยายตัวเมื่อเทียบกับปีก่อนในไตรมาสนี้ ส่วนหนึ่งจากผลของมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) และสินเชื่อฟื้นฟู


สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวที่ร้อยละ 5.7 เทียบกับไตรมาส 2 ปี 2563 และปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 โดยหลักจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ยังคงขยายตัวได้ดีตามอุปสงค์ต่อที่อยู่อาศัยแนวราบที่ยังปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่สินเชื่อรถยนต์ขยายตัวชะลอลง สอดคล้องกับยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ปรับลดลงจากไตรมาสก่อน ด้านสินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัวลดลง จากปริมาณการใช้บัตรเครดิตที่ลดลงจากไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจก่อนการล็อกดาวน์ ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวเพิ่มขึ้น จากความต้องการสภาพคล่องในภาคครัวเรือน โดยบางส่วนเป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสวัสดิการ

ด้านคุณภาพสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 2 ปี 2564 ยังคงได้รับผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นลูกหนี้ โดยยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ 

(Non Performing Loan: NPL หรือ stage 3) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 545.5 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ร้อยละ 3.09 ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยง ด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (Significant Increase in Credit Risk: SICR หรือ stage 2) อยู่ที่ร้อยละ 6.34 ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 6.42

ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ปี 2564 จำนวน 60.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 72.1 โดยหลักจากค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลงจากการกันสำรองในระดับสูงในปีก่อน ประกอบกับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากรายได้เงินปันผลและรายได้ค่าธรรมเนียม 

หากเทียบกับไตรมาสก่อน กำไรสุทธิที่ไม่รวมผลของรายการพิเศษปรับเพิ่มขึ้นจากรายได้เงินปันผลและรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ตามรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของสินเชื่อ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Assets: ROA) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.08 แต่หากตัดผลของรายการพิเศษ ROA จะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 0.89 จากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 0.81 

ขณะที่อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (Net Interest Margin: NIM) ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.46 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 2.43

สำหรับการควบรวมของธนาคารพาณิชย์ 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) เป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 64 ทำให้ธนาคารมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการทำธุรกรรมเชื่อมโยงกับสถาบันการเงินอื่นมากขึ้น รวมทั้งมีการให้บริการทางการเงินที่สำคัญทั้งสินเชื่อ เงินฝาก การโอนเงินชำระเงิน ในปริมาณที่สูงและมีลูกค้าจำนวนมาก ส่งผลให้ธนาคารทหารไทยธนชาตเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญต่อระบบในประเทศ (Domestic Systemically Important Banks: D-SIBs) เพิ่มขึ้นอีก 1 แห่งในปีนี้ จากเดิมที่มีอยู่จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โดยปัจจุบัน D-SIBs ทุกแห่งมีความมั่นคง มีเงินกองทุนอยู่ในระดับสูงกว่าอัตราที่ ธปท. กำหนดและเพียงพอรองรับการดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มตามมาตรการที่กำหนดในการกำกับดูแล D-SIBs . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ชนแล้วหนี! 2 หนุ่มกลัวถูกจับดึงสลักระเบิดดับ

2 หนุ่มชนแล้วหนี โบกรถมาขึ้นสามล้อเครื่อง ตำรวจตามกระชั้นชิด ตัดสินใจดึงสลักระเบิด แต่สะดุดล้มระเบิดตูมสนั่นดับ 1 ส่วนอีกคน ถูกจับโดยละม่อม

“ไบเดน” เปิดทำเนียบขาวต้อนรับ “ทรัมป์” ถกถ่ายโอนอำนาจ

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐเปิดห้องทำงานรูปไข่ในทำเนียบขาวหารือนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดี ซึ่งต่างให้คำมั่นการถ่ายโอนอำนาจจะเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด

“อี้ แทนคุณ” เผยคดีใหม่ “ฟิล์ม” ชวนลงทุนคล้าย forex เสียหายกว่า 60 ล้าน

“อี้ แทนคุณ” เผยคดีใหม่ “ฟิล์ม รัฐภูมิ” ชักชวนลงทุนในดูไบ คล้าย forex ความเสียหายกว่า 60 ล้านบาท ขณะที่อีกฝ่ายอ้างนำเงินไปลงทุนจริงแต่ขาดทุน

ข่าวแนะนำ

“หนุ่ม กรรชัย” งดเคลียร์ “ฟิล์ม” ย้ำดำเนินคดีถึงที่สุด

“หนุ่ม กรรชัย” ประกาศตัดสัมพันธ์ “ฟิล์ม รัฐภูมิ” ย้ำดำเนินคดีถึงที่สุด งดเคลียร์ ซัดเป็นคนไร้ศักดิ์ศรี ชี้เรื่องนี้ไม่ต้องเตือน ให้ย้อนไปดูที่บ้านได้สั่งสอนหรือไม่

เริ่มแล้ว ประเพณียี่เป็งหรือลอยกระทงเชียงใหม่

ประเพณียี่เป็ง หรือลอยกระทง จ.เชียงใหม่ ปีนี้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งเต็มไปด้วยแสงสีจากแสงไฟที่ประดับไปทั่วเมือง และความงดงามทางวัฒนธรรมมากมาย ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ท่ามกลางอากาศเย็นสบาย

“จิราพร” สั่งตรวจสอบปมคลิปเสียงอ้างชื่อ-จ่อแจ้งความเอาผิด

“จิราพร สินธุไพร” ยืนยันไม่รู้จักนักร้องเรียนหญิง ที่แอบอ้างว่าเป็นคณะทำงาน ประสานฝ่ายกฎหมายเร่งตรวจสอบคลิปเสียง เพื่อแจ้งความดำเนินคดี

“หนุ่ม กรรชัย” เข้าให้ปากคำปมถูกอ้างชื่อเรียกรับเงินบอส “ดิไอคอน”

“หนุ่ม กรรชัย” เข้าพบพนักงานสอบสวนกองปราบฯ ให้ปากคำกรณีถูกแอบอ้างชื่อเรียกรับเงินผู้บริหาร “ดิไอคอน”