ธนาคารกรุงเทพเตือนระวังมิจฉาชีพลวงขอข้อมูลผ่าน SMS-โซเชียล


กรุงเทพฯ 17 พ.ค. – ธนาคารกรุงเทพ เตือนลูกค้าระวังมิจฉาชีพสวมรอยลวงขอข้อมูลผ่าน SMS-อีเมล-โซเชียลแนะนำ 5 ข้อควรปฏิบัติเพื่อทำธุรกรรมอย่างปลอดภัย


นางปรัศนี อุยยามะพันธุ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีกลุ่มมิจฉาชีพได้ใช้วิธีการในรูปแบบต่างๆ หลอกลวง แอบอ้างเป็นธนาคาร เพื่อขอข้อมูลส่วนตัวผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือฟิชชิ่ง (Phishing) เป็นจำนวนมาก โดยมักใช้วิธีส่งข้อความ SMS หรืออีเมล เพื่อสร้างความเข้าใจผิดให้ลูกค้าและหลอกลวงเอาข้อมูลส่วนตัวลูกค้าเข้าไปทำรายการแก้ไข เพื่อใช้ยืนยันการทำธุรกรรม โดยล่าสุดใช้วิธีส่ง SMS แจ้งว่าได้รับเงินจากจากธนาคารพร้อมให้กดเพิ่มเป็นเพื่อนใน LINE เพื่อหลอกขอข้อมูลส่วนตัว และการส่งข้อความผ่านช่องทางอีเมล โดยในข้อความมิจฉาชีพจะอ้างตัวเป็นตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจจากธนาคารในการดูแลธุรกรรมการชำระเงินที่เกิดความผิดพลาดให้ลูกค้า เพื่อหลอกลวงให้ลูกค้ายืนยันข้อมูลส่วนตัวพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนสำหรับดำเนินการแก้ไขรายการดังกล่าว ซึ่งจะทำให้มิจฉาชีพสามารถสวมรอยเข้าไปทำธุรกรรมการเงิน โดยเฉพาะการโอนเงินออกจากบัญชีด้วยการใช้ข้อมูลที่ลูกค้าให้ผ่านวิธีการหลอกลวงแอบอ้างในรูปแบบ ฟิชชิ่งนี้

ทั้งนี้ ธนาคารกรุงเทพ ให้ความสำคัญกับความมั่นคงปลอดภัยในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธนาคารมีความห่วงใยในความปลอดภัยของลูกค้าทุกท่าน และขอให้ระมัดระวังในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ทั้งนี้ ธนาคารขอเรียนให้ลูกค้าทุกท่านทราบว่า ธนาคารไม่มีนโยบายการส่งข้อความผ่านทาง SMS อีเมล LINE รวมถึงช่องทางออนไลน์และโซเชียลมีเดียต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อขอข้อมูลและเอกสารส่วนบุคคล หรือรหัสผ่านจากลูกค้าแต่อย่างใด


นอกจากนี้ ธนาคารขอเน้นย้ำข้อควรปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรม ตามแนวทางที่ศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) ได้ออกประกาศเตือนประชาชนทั่วไปถึงการโจมตีแบบฟิชชิ่ง ดังนี้

  1. อย่าหลงเชื่อลิงก์ที่แนบมาพร้อมกับข้อความ SMS อีเมล เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย หรือโปรแกรมสนทนาต่าง ๆ เช่น LINE และ Facebook Messenger ที่ไม่มีแหล่งที่มา และห้ามเปิดลิงค์แนบอย่างเด็ดขาด
  2. ห้ามเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวผ่านการร้องขอในรูปแบบต่าง ๆ หากไม่แน่ใจเกี่ยวกับช่องทางการบริการ ให้ติดต่อธนาคารโดยตรงด้วยตนเอง
  3. หากพบข้อความ หรือเว็บไซต์ที่สงสัยว่าจะเป็นการฟิชชิ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับธนาคาร ควรติดต่อธนาคารทันที
  4. กรณีหลงเชื่อและเปิดเผยข้อมูลหรือรหัสผ่านไปแล้ว ให้รีบติดต่อธนาคารเพื่อเปลี่ยนรหัสผ่านทันที
  5. อาจเลือกใช้บริการแจ้งเตือนความเคลื่อนไหวของบัญชี ผ่านช่องทางที่ธนาคารกำหนด เช่น SMS Alert หากพบรายการธุรกรรมที่ผิดปกติหรือข้อมูลบัญชีที่ไม่ถูกต้อง ควรติดต่อธนาคารทันที

ลูกค้าทุกท่านสามารถติดตามข้อมูลได้จากสื่อประชาสัมพันธ์ของธนาคารกรุงเทพทุกช่องทาง ได้แก่ www.bangkokbank.com, Bangkok Bank Line Official หรือหากต้องการคำแนะนำ บริการ หรือความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถติดต่อธนาคารได้ที่สาขาธนาคารกรุงเทพ กว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ บัวหลวงโฟน โทร.1333 หรือ 0-2645-5555 . – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

แอปฯ “ล่าเหรียญ” ฟีเวอร์ ทำชาวบ้านเดือดร้อน

แอปพลิเคชัน “Jagat” ฟีเวอร์ ทำวัยรุ่นว้าวุ่น แห่ล่าเหรียญแลกเงินที่กระจายอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ทำชาวบ้านและผู้ประกอบการเดือดร้อน ตำรวจเตือนการแชร์พิกัดตำแหน่งอาจเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพเฝ้าติดตามและฉวยโอกาสขโมยทรัพย์สินได้ และอาจเสี่ยงเจอข้อหาบุกรุก

ญาติเชื่อพระมรณภาพก่อนถูก “เจ้าจอร์จ” กัดแทะ

ญาติมั่นใจหลวงพี่มรณภาพด้วยโรคประจำตัว ก่อนถูกสุนัขพันธุ์อเมริกันบูลลี่ที่เลี้ยงไว้ในกุฏิกัดแทะร่างเพราะความหิว วอนอย่าโยนบาปให้สุนัข