รัฐเร่งดูแลปัญหาน้ำเค็ม ภัยแล้งเขตอีอีซี

กรุงเทพฯ 5 ก.พ.-รัฐเร่งดูแลปัญหาน้ำเค็ม ภัยแล้งเขตอีอีซี รองรับความต้องการน้ำภาคอุตสาหกรรม และชุมชนในพื้นที่

พล.ร.อ.พิเชฐ ตานะเศรษฐ ประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ประชุมหารือแผนบริหารจัดการน้ำรองรับปัญหาภัยฤดูแล้งปี64 และแนวทางการแก้ไขปัญหาค่าความเค็มจากน้ำทะเลหนุนสูง หวั่นกระทบต่อการใช้น้ำของประชาชนและภาคอุตสาหกรรม เพื่อเตรียมจัดสรรน้ำเพื่อให้เพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง ปี 64 โดยพื้นที่ภาคตะวันออกมีความต้องการใช้น้ำถึงเดือน ม.ค.64 จำนวน 724 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบัน จัดสรรน้ำไปแล้ว 263 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเป็นไปตามแผนการบริหารจัดการน้ำ


สำหรับสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน พื้นที่ภาคตะวันออก มีแหล่งน้ำ 14,560 แห่ง แยกเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 6 แห่ง ขนาดกลาง 44 แห่ง และขนาดเล็ก 14,510 แห่ง ปัจจุบัน กักเก็บน้ำต้นทุน จำนวน 1,942 ล้าน ลบ.ม. ตลอดช่วงฤดูแล้งปี 64 ต่อเนื่องยาวถึงเดือน มิ.ย.64 คาดว่ามีความต้องการใช้น้ำ จำนวน 1,790 ล้าน ลบ.ม. ทำให้สามารถบริหารการใช้น้ำได้เพียงพอตลอดช่วงหน้าแล้ง แต่เนื่องจากสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงทำให้ต้องมีการใช้น้ำต้นทุนผลักดันน้ำเค็มเพื่อรักษาคุณภาพน้ำ จึงต้องบริหารแผนการใช้น้ำอย่างระมัดระวัง โดยให้กรมชลประทาน ติดตามค่าความเค็มที่สถานีวัดคุณภาพน้ำทั้ง 4 สถานี อย่างใกล้ชิดต่อไป

นอกจากนี้ยังเร่งรัด การจัดสรรงบกลางปี 63 จำนวน 1,451 โครงการ วงเงิน 1,714 ล้านบาท ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 424 โครงการ ส่วนโครงการที่เหลือ คาดว่าแล้วเสร็จใน เม.ย.64 ยกเว้นโครงการโครงการระบบสูบผันน้ำคลองสะพาน – อ่างเก็บน้ำประแสร์ จ.ระยอง วงเงิน 186 ล้านบาท แล้วเสร็จใน มิ.ย.64 ยอมรับว่ายังทันเวลาต่อการสูบกลับน้ำต้นทุนในฤดูฝน ปี64



คณะอนุกรรมการฯ จึงได้ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตาม มติ ครม. ประกอบด้วย การเร่งเก็บกักน้ำ การจัดหาแหล่งสำรองน้ำดิบในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ การจัดสรรน้ำฤดูแล้ง ให้ติดตาม กำกับให้เป็นไปตามแผน การวางแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้งรวมถึงมาตรการควบคุมการใช้น้ำ การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำ การส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมจัดการน้ำเสียตามหลัก 3R การสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่องให้กับทุกภาคส่วนเพื่อให้รับทราบถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำ ในภาพรวม

คณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาแนวทางการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ของเกษตรน้ำฝนพื้นที่ภาคตะวันออก โดยมอบหมายให้ สทนช. กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำ ร่วมกันประสานข้อมูลพื้นที่เกษตรกรรมทั้งในเขตชลประทาน และพื้นที่นอกเขตชลประทาน เพื่อให้การบริหารทรัพยากรน้ำ การจัดทำโครงการต่างๆมีการแบ่งหน่วยงานรับผิดชอบชัดเจน ไม่เกิดความซ้ำซ้อนและเป็นประโยชน์ต่อการจัดสรรน้ำต่อประชาชนในทุกภาคส่วน เพื่อให้มีน้ำเพื่อเกษตรกรรม อุปโภคบริโภค การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม ได้อย่างเพียงพอ.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ป.ป.ส. รวบ 3 นักค้ายาเสพติดต่างชาติ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

ป.ป.ส. รวบนักค้ายาเสพติดต่างชาติ 3 ราย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ส่งออกไปอิตาลี-อังกฤษ เลขาฯ ป.ป.ส. เผยความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลจากการประสานงานใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบตลาดปาล์มน้ำมัน หลังราคาพุ่ง

ช่วงนี้น้ำมันปาล์มตามท้องตลาดปรับราคาแพงขึ้น จากเดิมขวดละราว 10 บาท ทำให้ผู้บริโภคถึงกับโอดครวญ ขณะที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ระบุแม้ช่วงนี้ราคาปาล์มน้ำมันขายได้ราคาดีที่สุดในรอบหลายปี แต่เกษตรกรกลับไม่มีปาล์มขาย

ข่าวแนะนำ

เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อน

กระทรวงการต่างประเทศ เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค JTC ไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา ตามแนว MOU 2544 ยืนยันไม่ทำให้เสียเกาะกูด

เข้าสู่ฤดูหนาว

อุตุฯ ประกาศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว

กรมอุตุฯ ประกาศการเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย ปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. โดยเป็นการเข้าสู่ฤดูหนาวช้ากว่าปกติประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากมีพายุก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และยังมีฝนบางพื้นที่ ปีนี้จะหนาวกว่าปีที่แล้ว

ช้างพลายขุนเดช

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” ไปสถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” สู่สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง จบดราม่า หลังฝากเลี้ยงที่มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม จ.เชียงใหม่