ธปท. 21 ก.พ.-นักวิชาการ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ระบุ ร้านสะดวกซื้อทำหน้าที่ Banking Agent ต้องมีบริการแตกต่างจากตู้เอทีเอ็ม
จึงเกิดประโยชน์สูงสุด
แต่สามารถช่วยชุมชนเมืองในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงบริการการเงินเพิ่มร้อยละ 34
ขณะที่ชี้สถานีบริการน้ำมันเหมาะเป็น Banking Agent สำหรับชนบทห่างไกล
นางโสมรัศมิ์ จันทรัตน์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยด้านระบบการเงิน
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
เปิดเผยผลการศึกษาเรื่อง
“บริการทางการเงินของประเทศไทย:มุมมองเชิงพื้นที่จากข้อมูลจุดพิกัดกว่า
300,000 จุดทั่วประเทศ”พบว่า ประเทศไทยมีแหล่งบริการทางการเงินเป็นจำนวนมากแต่ยังกระจายตัวไม่ทั่วถึงโดยมีจำนวนหมู่บ้านถึงร้อยละ
55 ที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน หรือห่างไกลจากบริการทางการเงินในระบบในระยะทาง
5 กิโลเมตร
อย่างไรก็ตามสถาบันการเงินอื่นในระบบและสถาบันการเงินนอกระบบรวมถึงกิจการ
ที่มีศักยภาพในการเป็นตัวแทนธนาคารพาณิชย์หรือมีศักยภาพในการเป็น Banking Agent สามารถเข้ามาเติมเต็มหรือทำให้กลุ่มนี้เข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้นกว่าร้อยละ
34 โดยกลุ่มที่มีศักยภาพในการเป็น Banking
Agent มีทั้งสถานีบริการน้ำมัน ร้านค้าสะดวกซื้อไปรษณีย์ ตู้เติมเงิน
ผู้บริการด้านสื่อสารโทรคมนาคม
รวมถึงร้านค้าร้านโชห่วยหรือผู้ประกอบการที่ติดตั้งเครื่องรูดบัตรหรือเครื่องอีดีซี
ส่วนประเด็นให้ร้านค้าสะดวกซื้อประกอบธุรกิจ Banking Agent ผลศึกษานัยยะต่อนโยบายที่เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการเงินไทยแสดงให้เห็นว่าความซ้ำซ้อนกับของบริการทางการเงินของร้านสะดวกซื้อ
ที่มักอยู่ใกล้กับตู้เอทีเอ็ม และมีบริการการเงินประเภทเดียวกัน คือฝาก ถอน
และชำระเงินเป็นหลัก
ซึ่งอาจนำไปสู่คำถามถึงความจำเป็นและภาพในการใช้ร้านสะดวกซื้อมาเป็น Banking
Agent
นอกจากนี้ผลศึกษาระบุว่าปั๊มน้ำมันมีสภาพสูงสุดในการเติมเต็ม
บริการทางการเงินในที่ชนบทห่างไกล ในขณะที่ร้านสะดวกซื้อและไปรษณีย์อาจช่วยทำหน้าที่เพิ่มความสะดวกและการเข้าถึงในชุมชนเมืองอย่างไรก็ตามนอกจากเรื่องพื้นที่แล้วยังมีปัจจัยอื่นที่ต้องพิจารณาประกอบเช่นการบริหารเงินสดการบริหารสภาพคล่องและความเสี่ยงของจุดบริการ–สำนักข่าวไทย