กรงเทพฯ 15 ม.ค. – ธปท. ชี้เศรษฐกิจฟื้นตัว แต่ยังไม่ทั่วถึง-ไม่สมดุล คาดเงินเฟ้อติดลบถึง ก.พ.67 ก่อนเริ่มขยับขึ้น ประเมินปีนี้อยู่ในกรอบเป้าหมาย 1-2 % ยันไม่มีประขุม กนง.นัดพิเศษ พร้อมแก้หนี้ครัวเรือนเข้มข้น
นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเลขาคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวถึงนโยบายการเงินของ ธปท . แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างยั่งยืน ให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายอย่างยั่งยืน และเสถียรภาพความมั่นคงทางการเงิน
ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแล้วในหลายมิติ แต่ยังไม่ทั่วถึงและไม่สมดุล ขาดแรงส่งจากภาคส่งออกและภาคการผลิต ปัจจัยเชิงโครงสร้างเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัว การส่งออกไทยขยายตัวต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง ดัชนีความซับซ้อนของสินค้าส่งออกไทยเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ขณะที่หลายประเทศปรับเพิ่มสูงขึ้น สำหรับปีนี้มองว่าเศรษฐกิจขยายตัวแบบครบครันมากขึ้นโดยเฉพาะการขยายตัวด้าน วัฏจักรอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โลกจะกลับมา แต่ความเสี่ยงเชิงโครงสร้างจะทำให้การฟื้นตัวทางอุปสงค์ไม่ขยายตัวเท่าที่ควร
ด้านอัตราเงินเฟ้อของไทยปรับลดลงเร็ว ช่วยจำกัดค่าของชีพไม่ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงและเนื้อสัตว์ที่ก่อนหน้านี้ปรับเพิ่มสูงขึ้น ก็ปรับลดลง เป็นผลของมาตรการภาครัฐที่มาอุดหนุนด้านพลังงาน โดยราคาสินค้าไม่ได้ลดลงเป็นวงกว้าง เงินเฟ้อที่ติดลบไม่ได้สะท้อนกำลังซื้อที่แผ่วลง ขณะที่เงินเฟ้อคาดการณ์ยังอยู่ในกรอบ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเงินเฟ้อติดลบแล้วแบงก์ชาติไม่ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งนี้ คาดว่าเงินเฟ้อจะติดลบไปจนถึงอย่างน้อยเดือน ก.พ.2567 และจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งปีนี้คาดว่าเงินเฟ้อจะอยู่ในกรอบ 1-2 % ซึ่งยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย
ด้าน เสถียรภาพทางการเงิน มองว่าระดับหนี้ที่สูงเป็นจุดเปราะบางสำคัญของเศรษฐกิจไทย หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีลดลงแต่ยังอยู่ในระดับสูง ที่ 90.9% หนี้ภาคธุรกิจ 87.4% หนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่คือหนี้เพื่อการบริโภคและบัตรเครดิต ขณะที่ อัตราดอกเบี้ยไทยอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับโลก
ทั้วนี้ ภาพรวมเศรษฐกิจยังเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่ง
ธปท. คำนึงถึงผู้ประกอบการที่เดือดร้อนและมีลูกหนี้ที่ลำบาก ธปท. ได้มีการดำเนินการตามมาตรการเพื่อให้เป็นไปตามกรอบดอกเบี้ยนโยบายต่อไป
นายปิติ ย้ำว่า ธปท. รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะรัฐบาล และกระทรวงการคลัง ก็มีการพูดคุยกันตลอด และนำมาทบทวนเสมอว่าได้ดำเนินนโยบายถูกต้องแล้วหรือเปล่า ซึ่งก็ยืนยันว่าตอนนี้แบงก์ชาติดำเนินนโยบายไม่ผิดทางแน่นอน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ พร้อมปรับจุดยืนนโยบายให้เหมาะสม หากแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเปลี่ยนไปจากที่ประเมินไว้ ยืนยันว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องประชุม กนง. นัดพิเศษ
ด้านนางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่าการส่งผ่าน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ไปอย่างระมัดระวังโดยเฉพาะ MRR เพื่อดูแลลูกหนี้รายย่อย รวมถึงมีการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เปราะบางอย่างต่อเนื่อง โดยสัดส่วนการส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ MRR อยู่ที่ 49% จากอดีตที่ 58% ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ธปท. ปรับลดดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 2- 4%
สำหรับความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือของสถาบันการเงิน ยอดภาระหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ ณ เดือน ต.คง. 2566 จำนวน 3.46 ล้านล้านบาท หรือ 6.10 ล้านบัญชี สินเชื่อฟื้นฟูที่อนุมัติแล้ว ( 2 ม.ค.2567 ) จำนวน 2.5 9 แสนล้านบาท หรือ 65,931 ราย สัดส่วนสินเชื่อภายใต้มาตรการช่วยเหลือของ ธปท. สูงกว่าประเทศอื่นอยู่ที่ 11.5% เมื่อเทียบกับออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ที่น้อยกว่า 1% ขณะที่อินโดนีเซียมาเลเซีย จีน อินเดียอยู่ที่ 1-5%
ธปท. ให้ความสำคัญกับการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ซึ่งล่าสุดเมื่อ 1 ม.ค. 2567 ออกหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ซึ่งกำหนดบทบาทให้เจ้าหนี้รับผิดชอบลูกค้า ตลอดวงจรการเป็นหนี้อย่างเหมาะสม และหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกำหนดหลักเกณฑ์ให้เจ้าหนี้ต้องให้ความช่วยเหลือหนี้ที่มีปัญหาเรื้อรัง (Persistent Debt) ที่เป็นมาตรฐาน เป็นสิทธิชองลูกหนี้ที่เข้าข่ายให้
สามารถปิดจบหนี้ใต้ภายใน 5 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
สำหรับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่มีเสียงวิพากษ์วิจารย์จากปนะชาชนส่วนหนึ่งว่า ธนาคารให้ดอกเบี้ยเงินฝากน้อย แต่เก็บดอกเบี้ยเงินกู้สูง หลายคนผ่อนไม่ไหว นางสาวสุวรรณี บอกว่า ประเด็นนี้ ธปท.ต้องพูดคุยหารือกับธนาคารพาณิชย์ใกล้ชิดขึ้น
ขณะที่ นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่า การชะลอตัวของสินเชื่อในช่วงที่ผ่านมาเป็นผลจากการชำระคืนในช่วงหลังโควิดที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี เห็นแนวโน้มการกลับมาให้สินเชื่อที่เพิ่มขึ้น
สำหรับตราสารหนี้ภาคเอกชนยังเติบโตได้ต่อเนื่อง แม้ต้นทุนการระดมทุนจะเพิ่มขึ้นบ้าง มียอดคงค้าง และอัตราเติบโตตราสารหนี้ภาคเอกชน เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 9% ในปี 2566 ด้านความเสี่ยงตราสารหนี้ภาคเอกชน ความเสี่ยง roll over อย่างจำกัดเฉพาะกลุ่มผู้ออกที่มีปัญหาเฉพาะตัว.-516-สำนักข่าวไทย