โรงงานยาสูบ 10 ก.ค.- โรงงานยาสูบจะแปลงสภาพเป็นนิติบุคคลเพิ่มความคล่องตัวทำธุรกิจ
นางสาวดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ ผู้อำนวยการยาสูบ โรงงานยาสูบ กล่าวว่า ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติการยาสูบแห่งประเทศไทย พ.ศ. … ซึ่งได้กำหนดให้โรงงานยาสูบมีสถานะเป็นนิติบุคคลโดยเปลี่ยนชื่อเป็น การยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท.) ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกา และเตรียมเสนอสภา สนช.พิจารณาในขั้นต่อไป คาดว่าร่างกฎหมายจะผ่านการพิจารณาของสภา สนช.ภายในสิ้นปีนี้ แต่ระหว่างการพิจารณากฎหมายขององค์กรต่างๆ โรงงานยาสูบ จึงเตรียมองค์กรรองรับภาระกิจใหม่ ซึ่งสามารถดำเนินการได้มากขึ้น
หลังจากมีสภาพเป็นนิติบุคคล เพราะจะมีความคล่องตัวในการทำธุรกิจต่าง ๆ ได้มากขึ้น โรงงานยาสูบจึงได้ปรับองค์กรรองรับการผลิตยาสูบในรูปแบบรับจ้างผลิต (OEM)ให้กับลูกค้าหลายประเทศ จึงได้เจรจาร่วมกับเอกชนจีน เตรียมตั้งบริษัทลูก โดย ยสท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ด้วยทุนเกิน 5,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการร่วมลงทุนจะใช้แนวทางแบบบ PPP ลักษณะใด เพื่อผลิตบุหรี่สำหรับการส่งออก ไม่จำหน่ายในประเทศไทย แต่ต้องใช้ใบยาสูบของไทยร้อยละ 70 โดยโรงงานยาสูบดูแลรูปแบบการผลิตเมื่อตั้งโรงงานแห่งใหม่แล้วเสร็จ
นอกจากนี้ยังต้องพึ่งพาเกษตรกรชาวสวนใบยาสูบก็ต้องให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จากความต้องการผลิตบุหรี่รองรับตลาดโลก เพื่อส่งออกใบยาเพิ่มเติม เบื้องต้นวางเป้าหมายผลิตส่งออกประมาณ รองรับความต้องการทั้ง จีน สิงคโปร์ เมียนมาร์ อินโดนิเซีย สปป.ลาว ต้องการบุหรี่แบรนด์ไทย และการรับจ้างผลิต OEM มากกว่าพันล้านมวนต่อปี
โรงงานยาสูบยังอยู่ระหว่างการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกต้นกัญชง (HEMP) ชนิดพันธุ์ที่ใช้สำหรับการผลิตกระดาษมวนบุหรี่ รวมทั้งการนำไปใช้ผลิตก้นกรอง และน้ำยาในเมล็ดของกัญชง สามารถใช้เป็นสารปรุงแต่งเพิ่มรสชาดบุหรี่ ต้นกัญชงยังใช้สำหรับการผลิตเสื้อผ้า สิ่งทอ อุตหสากรรมยายนต์ เพราะมีความคงทนอย่างมาก ด้วยคุณประโยชน์หลาย ๆ ด้าน ยังสามารถสกัดเป็นเครื่องสำอาง เพราะมีโอเมก้า 3,6,9 จำนวนมาก การนำเส้นใยมาผลิตเสื้อผ้ายังได้ราคาสูงเป็นที่ต้องการของตลาด คาดว่าจะเริ่มส่งเสริมการปลูกได้ในต้นปี 2562 ขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกสายพันธุ์ของกันชง เพื่อมาสนับสนุนเกษตรกรปลูกในพื้นที่ต่างๆ เพื่อใช้รองรับภาระกิจของโรงงานยาสูบ เป็นพันธุ์ทั้งจากออสเตรเลีย จีน แคนนาดา สหรัฐ รวมทั้งการศึกษาวิจัยการผลิตก้นกรองจากชานอ้อย ซังข้าวโพด และการใช้นวัตกรรมใหม่ผลิตเส้นยาพอง รองรับความต้องการของตลาด หากมีสภาพเป็นนิติบุคคลมีภาระกิจเพิ่มหลายด้านคาดว่ามีรายได้เพิ่มจากเดิมร้อยละ 30 เพื่อนำรายได้เข้าสู่คลังต่อไป-สำนักข่าวไทย