นักเศรษฐศาสตร์แนะรัฐทบทวนแจกเงินดิจิทัล

กรุงเทพฯ 5 ต.ค.-นักเศรษฐศาสตร์เตรียมทำหนังสือถึงรัฐบาล ขอให้ทบทวนนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท งบ 5.6 แสนล้านบาท มองได้ไม่คุ้มเสีย ในขณะที่บอร์ดดิจิทัลวอลเล็ตเริ่มประชุมนัดแรกวันนี้


วันนี้ (5 ต.ค.66) คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จะประชุมนัดแรก โดยทุกฝ่ายต่างจับตาถึงที่มาของวงเงินที่จะนำมาใช้ราว 5.6 แสนล้านบาท จะนำมาจากที่ใด จะก่อให้เกิดปัญหาวินัยการเงินการคลังหรือไม่ 

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนกรณีที่จะดำเนินนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท แก่ผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ เนื่องจากนโยบายดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ได้น้อยกว่าต้นทุนที่เสียไป อีกทั้งเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้มีการแจกเงินเพื่อกระตุ้นการบริโภคในระยะสั้นๆ โดยไม่คำนึงถึงวินัยและเสถียรภาพการคลังในระยะยาว


“นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นสอดคล้องกันที่จะขอให้รัฐบาลทบทวนนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ด้วยความรอบคอบอีกครั้ง เพราะเป็นนโยบายที่ได้ไม่คุ้มเสีย” แถลงการณ์ ระบุ

ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยกำลังค่อยๆ ฟื้นตัวตามศักยภาพ คาดว่าปีนี้จะขยายตัวประมาณ 3.6% และ 3.8% ในปีหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญที่ค่อยๆ ฟื้นตัวจากวิกฤติโรคระบาดและเงินเฟ้อรุนแรงในช่วงปี 2562-2565 จึงไม่มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ เพราะที่ผ่านมาการบริโภคภายในประเทศยังคงขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับการส่งออก

นอกจากนี้ การกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศยังอาจจะสร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อให้สูงขึ้นมาอีก หลังจากเงินเฟ้อลดลงจาก 6.1% มาอยู่ที่ประมาณ 2.9% ในปีนี้ ท่ามกลางราคาพลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะหลัง การกระตุ้นการบริโภคจะทำให้เงินเฟ้อคาดการณ์ (inflation expectation) สูงขึ้น และอาจนำไปสู่การขึ้นดอกเบี้ยในที่สุด


การใช้เงินงบประมาณจำนวน 5.6 แสนล้านบาท ในนโยบายดังกล่าว ทำให้เสียโอกาสที่จะนำไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล หรือการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ซึ่งล้วนแต่สร้างศักยภาพให้เกิดการเจริญเติบโตในระยะยาวแทนการกระตุ้นการบริโภคในระยะสั้นๆ ซึ่งไม่สมเหตุผลต่อการสร้างภาระหนี้สาธารณะให้แก่คนรุ่นหลัง

การกระตุ้นเศรษฐกิจให้ GDP ขยายตัวด้วยการแจกเงินจำนวนดังกล่าวเข้าไปในระบบ อาจจะเป็นการคาดหวังที่เกินจริง เพราะมีข้อมูลเชิงประจักษ์ว่า ตัวทวีคูณทางการคลัง (fiscal multiplier) มีค่าลดลงมาก โดยเฉพาะการแจกเงินของรัฐ เมื่อเทียบกับตัวทวีคูณทางการคลังของการใช้จ่ายประเภทโอนเงินมีค่าน้อยกว่า 1 ด้วยซ้ำ

“การที่รัฐบอกว่านโยบายนี้จะทำให้เงินหมุนหลายรอบ จะเป็นการเปลี่ยนมือจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งนั้น หมายถึงอัตราหมุนเวียนของเงิน (velocity of money) แต่ผลกระทบของการใช้จ่ายภาครัฐที่มีต่อ GDP ต้องดูจากตัวทวีคูณทางการคลังที่ปัจจุบันมีค่าต่ำมาก” แถลงการณ์ ระบุ

ประเทศไทยอยู่ในวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2565 เพราะเงินเฟ้อสูงมาก การก่อหนี้จำนวนมาก ไม่ว่ารัฐบาลจะออกพันธบัตรหรือกู้เงินจากรัฐวิสาหกิจ หรือกู้เงินสถาบันการเงินของภาครัฐ ก็ล้วนแต่จะเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเมื่อมีการ rollover ซึ่งจะมีผลต่อเงินงบประมาณในแต่ละปี โดยที่ยังไม่ได้นับค่าดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท

ในช่วงที่โลกเผชิญกับวิกฤติโรคระบาดและภาวะเศรษฐกิจถดถอย รัฐบาลแทบทุกประเทศก็จำเป็นต้องขาดดุลการคลังและสร้างหนี้จำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ และรายจ่ายด้านสาธารณสุข แต่หลังจากวิกฤติโรคระบาดและภาวะเศรษฐกิจถดถอยคลี่คลาย หลายประเทศได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะลดการขาดดุลภาครัฐและหนี้สาธารณะลง (fiscal consolidation) เพื่อสร้างที่ว่างทางการคลัง (fiscal space) ไว้รองรับวิกฤติเศรษฐกิจในอนาคต นโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตจึงดูจะสวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น ขณะที่ประเทศไทยมีอัตราส่วนรายรับจากภาษีต่อ GDP เพียง 13.7% ซึ่งถือว่าต่ำกว่าประเทศอื่นๆ

นอกจากนี้ ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย การเตรียมตัวทางด้านการคลังจึงเป็นสิ่งจำเป็น ขณะที่จำนวนคนในวัยทำงานลดลง และภาวะการใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการและสาธารณสุขเพิ่มขึ้น รัฐจึงควรใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า รักษาวินัยและเสถียรภาพทางด้านการคลังอย่างเคร่งครัด.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ คาดโซน C พบผู้เสียชีวิตมากสุด

เข้าสู่วันที่ 10 ค้นหาผู้ประสบภัยในซากตึก สตง.ถล่ม “ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” คาดโซน C น่าจะพบผู้เสียชีวิตมากที่สุด เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิตบริเวณนี้ประมาณ 10-20 ร่าง ด้าน “ช่างเบิร์ด” ที่ทำงานวางระบบไฟฟ้า เผยเจรจากับบริษัทผู้จ้างมาแล้ว 3 ครั้ง แต่จนถึงวันนี้ยังไม่ได้รับเงินที่ค้างอยู่

สิ้น “ผ่องศรี วรนุช” ศิลปินแห่งชาติ วัย 85 ปี

วงการบันเทิงเศร้า “ผ่องศรี วรนุช” ศิลปินแห่งชาติ ราชินีลูกทุ่งคนแรกของไทย จากไปอย่างสงบ ในวัย 85 ปี หลังป่วยมะเร็งปอดและเข้ารับการรักษามาระยะหนึ่ง

Trump signs order on new tariffs

สหรัฐเริ่มแล้วเก็บภาษี 10% สินค้านำเข้าจากทั่วโลก

วอชิงตัน 6 เม.ย.- ศุลกากรสหรัฐเริ่มมาตรการเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 10 กับสินค้านำเข้าทั้งหมดจากทั่วโลกแล้วตั้งแต่วันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ ก่อนที่จะเก็บภาษีเพิ่มกับแต่ละประเทศในสัปดาห์หน้า อัตราภาษีพื้นฐานร้อยละ 10 มีผลกับสินค้าทั้งหมดที่นำเข้าสหรัฐผ่านด่านทางทะเล ทางอากาศ และโกดังของศุลกากรตั้งแต่เวลา 00.01 น.วันที่ 5 เมษายน 2568 ตามเขตเวลาตะวันออก ตรงกับเวลา 11.01 น.วันเดียวกันตามเวลาไทย อย่างไรก็ดี สินค้าที่ถูกลำเลียงแล้วหรืออยู่ระหว่างขนส่งเข้าสหรัฐก่อนเวลาดังกล่าวจะได้รับการผ่อนผันไม่ถูกเก็บภาษีร้อยละ 10 โดยต้องมาถึงสหรัฐภายในวันที่ 27 พฤษภาคมหรือภายใน 51 วัน ส่วนภาษีที่สหรัฐจะเรียกเก็บเพิ่มจากแต่ละประเทศในอัตราที่แตกต่างกัน มีตั้งแต่ร้อยละ 11 ไปจนถึงร้อยละ 50 จะเริ่มมีผลตั้งแต่เวลา 00.01 น.วันที่ 9 เมษายน 2568 ตามเขตเวลาตะวันออก ซึ่งขณะนี้ช้ากว่าไทย 11 ชั่วโมงเนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูร้อน โดยไทยจะถูกเรียกเก็บเพิ่มในอัตราร้อยละ 36 สำหรับสินค้าประมาณ 1,000 ประเภทที่ได้รับการยกเว้นจากมาตรการภาษีใหม่ของสหรัฐ เช่น ยา ยูเรเนียม เซมิคอนดักเตอร์ รัฐบาลสหรัฐกำลังพิจารณาเรื่องอัตราภาษีใหม่ที่จะใช้กับสินค้าเหล่านี้ ประธานาธิบดีโดนัลด์ […]

ทีมกู้ภัยนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้เพิ่ม

วันที่ 9 ของภารกิจค้นหาผู้ติดค้างใต้ซากตึก สตง. เจ้าหน้าที่กู้ภัยและเจ้าหน้าที่ส่วนอื่นๆ นำกำลังเข้าพื้นที่ค้นหา ล่าสุดสามารถนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้เพิ่ม