กรุงเทพ 15 ก.ย.-ผู้ว่าฯ ธปท. เตรียมเพิ่มศักยภาพผู้ใช้บริการ-ปรับปรุงเกณฑ์รองรับการเงินดิจิทัล มุ่งพัฒนาระบบนิเวศการเงินดิจิทัลและนวัตกรรมการเงิน
ภายในงาน BOT Digital Finance Conference 2023 ภายใต้แนวคิด Building Ecosystem for Responsible Innovation ซึ่งจัดขึ้นโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระหว่างวันที่ 14-15 ก.ย.2566 ณ ศูนย์การ เรียนรู้ ธปท. โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญ 85 รายจาก 15 ประเทศ มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิดในการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเงินดิจิทัล การปรับใช้นวัตกรรมต่าง ๆ ในภาคการเงิน โดยเฉพาะ Artificial Intelligence (AI) การใช้ประโยชน์จาก Open Data และการสนับสนุนนวัตกรรมที่ดูแลความเสี่ยงบนพื้นฐาน ของความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม (responsible innovation) ทั้งนี้ การเสวนาเวทีหลักในวันที่ 14 ก.ย.2566 มีประเด็นสําคัญ ดังนี้
การพัฒนาระบบนิเวศเพื่อสนับสนุน responsible innovation โดยนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. ได้กล่าวเปิดงาน หยิบยกหลักการ 3 O’s (Open Competition, Open Infrastructure และ Open Data) ว่า ยังคงเป็นพื้นฐานสําคัญของการพัฒนาระบบ นิเวศที่ส่งเสริมให้เกิด responsible innovation ทั้งนี้ ในอนาคต ธปท. จะให้ความสําคัญกับ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
(1) การพัฒนา common utility ที่เป็นเสมือนบริการสาธารณะของภาคการเงินดิจิทัล โดยเริ่ม จากการเพิ่มศักยภาพของผู้ใช้บริการทางการเงินด้วยการส่งเสริมสิทธิของผู้ใช้บริการในการส่งข้อมูลของตน ที่อยู่กับผู้ให้บริการทางการเงินแต่ละราย ไปให้ผู้ให้บริการรายอื่นได้ (data portability) เพื่อให้ผู้ใช้บริการ ดังกล่าวสามารถเข้าถึงบริการหรือแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมกับความต้องการยิ่งขึ้น ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม ทั้งนี้ ธปท. จะปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมการสร้างมาตรฐานในการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการต่าง ๆ ภายใต้การกํากับดูแลของ ธปท. เพื่อลดภาระต้นทุนและสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับส่ง ข้อมูลตามความยินยอมของผู้ใช้บริการ รวมทั้งจะสนับสนุนให้เกิดการรับส่งข้อมูลจากภาคส่วนอื่น ๆ นอกจาก ภาคการเงิน และพัฒนา use cases ที่สามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานทางการเงินร่วมกันได้ เพื่อลดต้นทุนและ เพิ่มประสิทธิภาพในภาพรวม
(2) การพัฒนาระบบนิเวศด้านการชําระเงินดิจิทัลที่เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานสําคัญ โดยผู้เล่นที่หลากหลายและสนับสนุนให้ไทยก้าวสู่ less-cash society ด้วยการปรับปรุงกฎเกณฑ์และทบทวน โครงสร้างค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง
(3) การพัฒนานวัตกรรมทางการเงินร่วมกับภาคธุรกิจภายใต้กรอบการดูแลความเสี่ยงที่ เหมาะสม โดยมี New Sandbox ที่ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น เปิดโอกาสให้ทดสอบ unregulated activities ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เช่น tokenization ที่ช่วยให้ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดีขึ้น และ programmability ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการชําระเงิน นอกจากนี้ ธปท. จะทํางานร่วมกับ stakeholders ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาการใช้ AI ในภาคการเงิน เช่น การตรวจจับและป้องกัน fraud รวมทั้งการส่งเสริม การเข้าถึงบริการทางการเงิน ทั้งนี้ ความร่วมมือจาก stakeholders ทุกภาคส่วนมีความสําคัญยิ่งต่อความสําเร็จในการ ผลักดัน priorities ข้างต้น ซึ่ง ธปท. หวังว่าจะได้ร่วมผลักดันประเด็นสําคัญเหล่านี้กับผู้เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด
นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. และผู้ร่วมเสวนาใน หัวข้อ “Digital Infrastructure and Ecosystem for the Future of Financial Innovation” ได้เน้นย้ํา ประเด็นข้างต้น โดยเห็นร่วมกันว่าการจะผลักดันโครงสร้างพื้นฐานและสร้างระบบนิเวศ ที่สนับสนุนนวัตกรรมได้อย่างประสบความสําเร็จนั้น ต้องเริ่มจากการปรับ mindset ของทุกฝ่ายให้เปิดรับการ ใช้เทคโนโลยีขณะที่stakeholdersต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกันและสามารถประสานประโยชน์ระหว่างกันได้อยา่ง เหมาะสม รวมทั้งต้องเสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้ทางการเงินและความเข้าใจเกี่ยวกับบริการทางการเงิน ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นพื้นฐาน ตลอดจนสามารถจัดการกับภัยการเงินซง่ึ เป็นความเสี่ยงที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีได้
ขณะที่ ผู้ร่วมเสวนาหัวข้อ “PromptBiz: Bringing Business and Financing up to the Next Level” เห็นว่า ระบบ PromptBiz หรือ โครงสร้างพื้นฐานการชําระเงินกลางสําหรับภาคธุรกิจ จะช่วยให้ทําธุรกิจแบบดิจิทัลได้อย่างครบวงจร สามารถเชื่อมโยงข้อมูลการค้า การชําระเงิน และต่อยอดไปยังบริการอื่น เช่น การให้สินเชื่อ ช่วยลดค่าใช้จ่ายดําเนินงาน โดยเฉพาะ ที่เกี่ยวกับการออกและจัดส่งเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทําธุรกิจ เนื่องจาก สามารถสอบเช็คข้อมูลระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การมี digital footprint ที่เชื่อถือได้ในระบบ ดังกล่าวยังจะช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ด้วย ส่วนหน่วยงานภาครัฐ ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและปรับกระบวนการต่าง ๆ ให้เป็นดิจิทัลได้ เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง
ยังมีการเสวนาหัวข้อ “How Payment Innovation is Thriving in AI Era?” ที่ผู้ร่วมเสวนาเห็นว่า ผู้ให้บริการสามารถนํา AI มาปรับใช้ในด้าน payment ได้ตั้งแต่พื้นฐานของการให้บริการ กล่าวคือ ทําให้ ประชาชนสามารถใช้บริการได้ง่าย ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และลดข้อกังวลจาก fraud รวมทั้งสามารถต่อยอด โดยใช้ AI วิเคราะห์ payment data เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมลูกค้าและสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ / บริการที่ ตรงความต้องการยิ่งขึ้นได้ ทั้งนี้ ต้องคํานึงถึงประเด็นจริยธรรมและธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ซึ่งเป็นความ ท้าทายสําคัญด้วย
สําหรับ Fireside chat เรื่อง “From Visions into Action: What’s Next for Open Data?” ผู้ร่วมเสวนาได้เน้นย้ําความสําคัญของสิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยปราศจากอุปสรรค (friction) ทั้งนี้ ต้องปรับปรุงกฎเกณฑ์การกํากับดูแลให้เหมาะสม รวมทั้งสร้างแรงจูงใจให้ทั้งผู้ประกอบธุรกิจ และประชาชนยอมรับแนวคิดเรื่อง open data โดยไม่จําเป็นต้องจํากัดไว้เฉพาะข้อมูลภาคการเงินเท่านั้น เนื่องจากยิ่งมีข้อมูลที่หลากหลายให้ต่อยอด จะยิ่งเป็นประโยชน์ ภาคการเงินจึงควรร่วมมือกับภาคธุรกิจอื่น ๆ เพื่อพัฒนา usecaseที่เหมาะสมกับแนวคิด OpenData อย่างแท้จริง
ขณะที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้แบ่งปันประสบการณ์ของการพัฒนา ให้กรุงเทพฯ เป็น “smart enough city” โดยใช้เทคโนโลยีเท่าที่เหมาะสม ตอบโจทย์ประชาชนได้ เน้นการเปิดเผยข้อมูลอย่างเต็มที่และการติดต่อราชการผ่านช่องทางดิจิทัล เพื่อเพิ่มความโปร่งใส สร้างความเชื่อมั่น และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร (Bangkok Metropolitan Administration หรือ BMA) ได้เปิดเผยข้อมูลจากหน่วยงานในกรุงเทพฯ กว่า 1,050 ชุดข้อมูล เช่น งบประมาณประจําปี การจัดซื้อจัดจ้าง ข้อมูลชุมชนและประชากร ข้อมูลการจราจร พื้นที่สีเขียว เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสามารถนําไปต่อยอดพัฒนาโครงการ และนวัตกรรมต่าง ๆ ตลอดจนตรวจสอบความโปร่งใสในการดําเนินงานของ BMA ได้อย่างเต็มทรี.-สำนักข่าวไทย