เอกชนไม่หวั่นเงินบาทแข็ง ขอใช้สิทธิ FTA ส่งออก ต่อเนื่อง 

นนทบุรี 3 พ.ค.-กรมการค้าต่างประเทศ เผยเอกชนใช้สิทธิประโยชน์ส่งออก FTA ต่อเนื่อง ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2566 โดยมีมูลค่ารวม 11,819.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับตลาดอาเซียนยังครองแชมป์อันดับ 1


นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2566 จำนวน 12 ฉบับ มีมูลค่ารวม 11,819.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยคิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิฯ สูงถึง 74.52% แม้การใช้สิทธิฯ ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี2566 จะได้รับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงและเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แต่ผู้ประกอบการไทยยังคงสามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการค้าด้วยการใช้สิทธิ FTA ส่งออกสินค้าต่างๆ เพื่อลดต้นทุนการส่งออกได้เป็นอย่างดีประกอบกับความต้องการซื้อสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะจีนที่เริ่มเปิดประเทศหลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย ทั้งนี้สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูงจากหลายกรอบความตกลงฯ ได้แก่ยานยนต์สำหรับขนส่งของที่น้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน และน้ำตาล (กรอบอาเซียน) ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ มันสำปะหลัง และทุเรียนสด (กรอบอาเซียน-จีน) รถยนต์และยานยนต์อื่นๆ (ที่มีเครื่องดีเซล หรือกึ่งดีเซล) และรถยนต์ขนส่งบุคคลขนาด 2,500 cc ขึ้นไป (กรอบไทย-ออสเตรเลีย) เป็นต้น 

ทั้งนี้ กรอบความตกลง FTA ที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่  อันดับ 1 ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (มูลค่า 4,685.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 72.86% โดยเป็นการใช้สิทธิส่งออกไปอินโดนีเซียสูงสุด มูลค่า 1,338.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มาเลเซีย มูลค่า 1,163.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เวียดนาม มูลค่า999.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และฟิลิปปินส์ มูลค่า 735.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับสินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และมีการขยายตัวของการใช้สิทธิฯ อาทิ ยานยนต์สำหรับขนส่งของ (น้ำหนักไม่เกิน 5 ตัน) น้ำตาล รถยนต์เพื่อขนส่งบุคคล (1,500 – 3,000 cc) และน้ำมันปิโตรเลียมและน้ำมันจากแร่บิทูมินัสอื่นๆ เป็นต้น


อันดับ 2 ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) (มูลค่า 2,860.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 86.53% โดยสินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และมีการขยายตัวของการใช้สิทธิฯ อาทิ ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ มันสำปะหลัง ทุเรียนสด สตาร์ชทำจากมันสำปะหลัง ผลไม้สด (ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ฯลฯ) เป็นต้น อันดับ 3 ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) (มูลค่า 1,070 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 79.21% โดยสินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และมีการขยายตัวของการใช้สิทธิฯ อาทิ เนื้อไก่และเครื่องในไก่ปรุงแต่ง เนื้อไก่แช่เย็นจนแข็ง เดกซ์ทรินและโมดิไฟด์สตาร์ช กุ้งปรุงแต่ง กระสอบและถุงทำด้วยโพลิเมอร์ของเอทิลีน เป็นต้น

อันดับ 4 ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) (มูลค่า 941.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 67.60% โดยสินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และมีการขยายตัวของการใช้สิทธิฯ อาทิ รถยนต์และยานยนต์อื่นๆ (ที่มีเครื่องดีเซล หรือกึ่งดีเซล) รถยนต์ขนส่งบุคคลขนาด 2,500 cc ขึ้นไปและขนาด 1,000 – 1,500 cc ปลาทูน่าปรุงแต่ง และส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

อันดับ 5 ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (AIFTA) (มูลค่า 821.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) มีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ66.61% โดยสินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และมีการขยายตัวของการใช้สิทธิฯ อาทิ ลวดทองแดง สารประกอบออร์แกโน-อินออร์แกนิก โพลิเมอร์ของไวนิลคลอไรด์หรือของฮาโลเจเนเต็ดโอลีฟิน ในลักษณะขั้นปฐมอื่นๆ และฟอยล์อะลูมิเนียมมีความหนาไม่เกิน 0.2 มิลลิเมตร เป็นต้น 


นอกจากการใช้สิทธิฯ จากความตกลงข้างต้นแล้ว ยังมีการใช้สิทธิฯ ตามกรอบความตกลงอื่นๆ อีก ได้แก่ ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี (AKFTA) (มูลค่า 547.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 61.44% และความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) ส่งออกไปออสเตรเลีย (มูลค่า 465.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 33.38% 

ส่วนความตกลง RCEP ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 มีการส่งออกไปยัง 10 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีออสเตรเลีย สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และเมียนมา มีมูลค่าการใช้สิทธิฯรวม 195.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 452.24% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญภายใต้ความตกลง RCEP อาทิ น้ำมันหล่อลื่น ปลาทูน่ากระป๋อง มันสำปะหลังเส้น หัวเทียน ฟล็อก ผงสิ่งทอ และมิลเน็ป หากผู้ประกอบการมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th หรือโทรสายด่วน 1385 รวมถึงไลน์แอปพลิเคชันชื่อบัญชี“@gsp_helper” .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นศ.ซิ่งเก๋งชนเสาไฟล้ม 12 ต้น ทับรถ 3 คัน โค้งถนนกาญจนาภิเษก

นักศึกษาซิ่งเก๋งชนเสาไฟฟ้าล้ม 12 ต้น ทับรถที่วิ่งผ่านไปมาเสียหาย 3 คัน บริเวณโค้งถนนกาญจนาภิเษก ตัดเพชรเกษม ประชาชน 150 ครัวเรือนเดือดร้อนไฟดับ การไฟฟ้านครหลวงเร่งซ่อมแซม คาดเย็นนี้กลับมาใช้การได้ตามปกติ

นายหน้าลอยแพ 250 แรงงานไทย ไร้ตั๋วบินทำงานต่างประเทศ

ฝันสลาย แรงงานไทย 250 ชีวิต เหมารถมาสนามบินเก้อ หวังได้ไปทำงานในต่างประเทศ สุดท้ายไม่มีตั๋วบิน รวมตัวแจ้งความตำรวจ หวั่นถูกหลอกสูญเงินกว่า 12 ล้านบาท

สั่งปิดกิจการโรงงานลอบขนขยะอิเล็กทรอนิกส์

“เอกนัฏ” ลุยจับโรงงานลักลอบขนย้ายขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกยึดอายัดจากปราจีนบุรี มามหาชัย จ.สมุทรสาคร พบเป็นเครือข่ายเดียวกับ 2 โรงงานที่ถูกสั่งปิดก่อนหน้านี้ ขยายผลตามจับจนเจอขยะอิเล็กทรอนิกส์ลอตใหม่อีกกว่า 1,200 ตัน สั่งปิดกิจการทันที

ข่าวแนะนำ

อธิการบดี ม.สยาม ยันไม่เกี่ยวข้องคอร์สอบรมอาสาตำรวจ

อธิการบดี ม.สยาม แถลงโต้ หลังตกเป็นข่าวมีคอร์สอบรมอาสาตำรวจคนจีนในมหาวิทยาลัย ลั่นมหาวิทยาลัยไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เตรียมดำเนินคดีกับทุกบุคคลที่เกี่ยวข้อง

ประธาน Google Cloud ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก พบนายกฯ

ประธาน Google Cloud ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เข้าพบนายกรัฐมนตรี ยืนยันความร่วมมือด้านความมั่นคงทางไซเบอร์และการป้องกันภัยจาก online scams

“เม้งการยาง” ยันไม่ทราบขวดที่ให้ “แบงค์ เลสเตอร์” กิน เป็นเจลหล่อลื่น

“เม้งการยาง” พบตำรวจไซเบอร์ เผยไม่ทราบว่าขวดที่ให้ “แบงค์ เลสเตอร์” กิน เป็นเจลหล่อลื่น หลังถ่ายรายการยังให้เงินน้องไป 2,000 บาท ด้าน “เมลาย รัชดา” เผยจะเลิกคอนเทนต์ขยะ และเลิกจัดทริปน้ำไม่อาบ

“ภูมิธรรม” ขอไม่ลงรายละเอียด ช่วย 4 ลูกเรือประมงไทย

“ภูมิธรรม” รมว.กลาโหม เผยปล่อยตัว 4 ลูกเรือประมงไทย ต้องรอจบกระบวนการ ย้ำรัฐบาล-กต.ประสานอยู่ตลอด แต่ขอไม่ลงรายละเอียด เพราะอาจกระทบการเจรจา