คึกคัก! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท ร่วม สกมช. เสริมภูมิรู้เท่าทันในงานสัปดาห์ไซเบอร์แห่งชาติ พร้อมเปิดตัว “ชัวร์ก่อนแชร์ for EDUCATION”

งานสัปดาห์ไซเบอร์แห่งชาติ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก มีประชาชนเดินทางเข้าร่วมชมงานกันอย่างคับคั่ง โดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท นำกิจกรรมและสื่อดิจิทัลร่วมมอบเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ ซึ่งเป็นการขยายผลจากโครงการนักสืบสายชัวร์ x ชัวร์ก่อนแชร์สโมสร TRICK or TRUST โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พร้อมเปิดตัว “ชัวร์ก่อนแชร์ for EDUCATION” ชุดสื่อการเรียนรู้เสริมความรู้เท่าทันภัยไซเบอร์และข้อมูลเท็จ เปิดงานอย่างยิ่งใหญ่กับกิจกรรม “นิทรรศการสัปดาห์วิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปี 2566 หรือ THAILAND NATIONAL CYBER WEEK 2023 ที่ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ เมื่อวันที่ 17 และ 18 กุมภาพันธ์ 2566 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. โดยมีหน่วยงาน องค์กร และ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับชาติ เข้าร่วมให้ความรู้และแสดงเทคโนโลยีกันอย่างคึกคัก ในงานนี้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ บมจ.อสมท ได้รับเชิญให้เข้าร่วมจัดกิจกรรมให้ความรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน ผ่านสื่อดิจิทัลและเนื้อหาหลากหลายรูปแบบ พร้อมกิจกรรมเกมให้ความรู้เกี่ยวกับภัยไซเบอร์ ซึ่งมีผู้ร่วมงานหลากหลายกลุ่มให้ความสนใจ ชมนิทรรศการ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: นักร้องเฮติเสียชีวิตกลางเวทีเพราะวัคซีนโควิด จริงหรือ?

มิกาเบน เสียชีวิตกลางเวทีคอนเสิร์ตเพราะอาการหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ไม่มีหลักฐานว่าสาเหตุมาจากวัคซีนแต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์ : “เตือนห้ามเปิดดูคลิปแผ่นดินไหว 8.5 ริกเตอร์ เพราะมันคือไวรัสเรียกค่าไถ่” จริงหรือ ?

ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตามที่มีการแชร์ “ประกาศด่วน” เตือนห้ามเปิดดูคลิปแผ่นดินไหว 8.5 ริกเตอร์ เพราะมันคือไวรัสเรียกค่าไถ่ บทสรุป : ❌ มั่วและเก่า ไม่ควรแชร์ต่อ ทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีการป้องกันภัยไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า คำเตือนดังกล่าว ไม่มีเหตุผลที่จะเป็นไปได้จริง เนื่องจากตามหลักการทางคอมพิวเตอร์แล้ว ภาพและคลิปวิดีโอดิจิทัล ที่เผยแพร่หรือส่งต่อบนโซเชียล หรือ LINE และสามารถดูได้ด้วยตาทันที โดยไม่ต้องกดคลิกลิงก์ใด ๆ หรือต้องกดติดตั้งก่อนนั้น จะไม่สามารถกลายเป็นไวรัสเรียกค่าไถ่ได้แต่อย่างใด ที่สำคัญ ยังไม่เคยมีการบันทึกว่ามีการเกิดเหตุแผ่นดินไหวระดับ 8.5 ที่กรุงเทพฯ ด้วย สำหรับสิ่งที่ส่งต่อทางออนไลน์แล้วอาจมีอันตราย มักจะส่งต่อมาในรูปแบบของ ลิงก์ หรือ ไฟล์ หรือ แอปพลิเคชัน .apk ที่คนร้ายมักจะใช้เป็นเครื่องมือล่อลวงให้ประชาชนหลงเชื่อ กดคลิก กรอกข้อมูล ตกลง ยอมรับ อนุญาต หรือ ติดตั้ง ในโทรศัพท์มือถือ ทั้งนี้ ข้อความเตือนเรื่องแผ่นดินไหวดังกล่าว ไม่ใช่ข้อความใหม่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: “คาลอส ซานตาน่า” วูบบนเวทีเพราะวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

คาลอส ซานตาน่า เป็นลมบนเวทีจากโรคลมร้อนและภาวะขาดน้ำเนื่องจากไม่ได้กินอาหารและน้ำก่อนการแสดง โรคลมร้อนและภาวะขาดน้ำไม่ใช่อาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด-19

ชัวร์ก่อนแชร์: “เคที เพอร์รี” ลืมตาไม่ขึ้นเพราะวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

สาเหตุที่ เคที เพอร์รี ลืมตาข้างหนึ่งไม่ได้ระหว่างการแสดงคอนเสิร์ต อาจจะมาจากอาการตาขี้เกียจหรือความผิดพลาดในการแต่งหน้า แต่ไม่เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 แต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์: “เซลีน ดิออน” เป็นโรค “คนแข็ง” เพราะวัคซีนโควิด จริงหรือ?

Stiff Person Syndrome เป็นโรคของระบบประสาทที่ส่งผลต่อการตึงและการกระตุกของกล้ามเนื้อ ไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนโควิด-19 คือสาเหตุของการเกิดโรค Stiff Person Syndrome

ชัวร์ก่อนแชร์ Cyber Tips : 7 ข้อต้องรู้ ใช้ QR CODE อย่างให้ไร ไม่ให้เงินหายหมดบัญชี !

Tips โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, เสาวภาคย์ รัตนพงศ์ ช่วงนี้มีข่าวทำให้หลายคนต้องตกใจกันอีกแล้ว เพราะมีการแชร์ข้อมูลว่า ‘ ซื้อของออนไลน์ สแกน QR CODE จ่ายเงิน ถูกดูดเงินหมดบัญชี’ แล้วแบบนี้ผู้ใช้งานอย่างเราควรทำอย่างไร เพราะหันไปทางไหน ก็เจอให้สแกน QR CODE แทบทุกร้าน วันนี้ Cyber Tips เลยนำเทคนิคดี ๆ ในการใช้ QR CODE ให้ปลอดภัย ไม่ต้องปวดหัว คอยกังวลว่าเงินจะหายออกจากกระเป๋ามาฝากกัน แต่ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จัก ‘QR CODE’ ให้มากขึ้นกันสักนิด QR CODE คืออะไร ?  QR CODE  ย่อมาจาก Quick Response Code เป็นรูปแบบของรหัสรูปภาพที่สามารถบรรจุข้อความลงไปได้ รวมไปถึงบรรจุลิงก์ URL เว็บไซต์ เพียงแค่ยกสมาร์ทโฟนขึ้นสแกน ก็สามารถเข้าสู่เว็บไซต์นั้น ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งความง่ายดายนี้ […]

รวม 4 ข่าวปลอม โศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวตุรกี-ซีเรีย

ท่ามกลางความสูญเสีย ได้เกิดการเผยแพร่ข่าวปลอมข้อมูลเท็จเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในหลายรูปแบบ สร้างความเข้าใจผิดและความตื่นตระหนกให้กับผู้คนในหลายประเทศ

ชัวร์ก่อนแชร์ Cyber Tips : แฉ 6 กลอุบายที่มิจฉาชีพใช้หลอกแจกสติกเกอร์ไลน์ฟรี !

บทความโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์และเสาวภาคย์ รัตนพงศ์ การดาวน์โหลดสติกเกอร์ไลน์ ถือเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนใช้แอปพลิเคชันไลน์เป็นอย่างมาก เพราะสามารถสร้างสีสันในการพูดคุย ใช้รูปภาพตัวละครต่าง ๆ แทนคำพูดและอารมณ์ความรู้สึกได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทำให้เหล่ามิจฉาชีพเห็นช่องว่าง เข้ามาหลอกลวงและตักตวงผลประโยชน์ ด้วยกลอุบายการหลอกแจกสติกเกอร์ฟรี  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ได้รวบรวมกลอุบายที่คนร้ายมักใช้หลอกลวงหาผลประโยชน์จากเหยื่อให้ ทุกคนได้รู้ทันกัน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับสติกเกอร์ไลน์กันก่อน สติกเกอร์ไลน์มีทั้งแบบเสียเงินและแบบฟรี ไม่ว่าเป็นสติกเกอร์แบบไหน ก็จะมีวิธีการดาวน์โหลดที่เจาะจง คือ ต้องดาวน์โหลดผ่านแอปพลิเคชันไลน์เท่านั้น ไม่สามารถโหลดผ่านทางข่องทางอื่น ๆ นอกแอปพลิเคชันไลน์ได้ ดังนั้นหากพบเจอวิธีการดาวน์โหลดที่ไม่ใช่แบบที่ว่าให้สงสัยไว้ก่อนว่าคุณอาจถูกหลอกได้ สติกเกอร์ฟรีในแอปพลิเคชันไลน์ มี 4 รูปแบบ ได้แก่  หลังจากที่เราได้รู้จักกับสติกเกอร์ไลน์ฟรีแบบต่าง ๆ ไปแล้ว ต่อไปนี้ คือ กลอุบายที่มิจฉาชีพชอบใช้หลอกให้เราหลงเชื่อด้วยสติกเกอร์ไลน์ สติกเกอร์ไลน์มีทั้งแบบเสียเงินและแบบฟรี แต่ไม่ว่าแบบไหน  เราต้องดาวน์โหลดผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์เท่านั้น หากใครต้องการดาวน์โหลดสติกเกอร์ไลน์แบบไม่เสียเงิน เพียงแค่มองหาเมนู ‘Sticker Shop’ จากนั้นเลือกแถบ ‘Free’  และกดดาวน์โหลดสติกเกอร์ไลน์ที่ชื่นชอบได้เลย เพียงแค่นี้เราก็จะได้สติกเกอร์มาใช้แบบฟรี ๆ และปลอดภัย  หากมีใครมาบอกว่า มีสติกเกอร์ไลน์ฟรีมาแจก แต่ต้องดาวน์โหลดจากแอปพลิเคชันอื่น ๆ แบบนี้ระวังไว้เลย […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ดอกชบารักษาโควิด-19 และมะเร็งได้ จริงหรือ?

แม้ดอกชบาจะมีสรรพคุณที่หลากหลาย แต่ WHO ยืนยันว่า ไม่พบหลักฐานว่าดอกชบาสามารถรักษาผู้ป่วยโควิด 19 หรือผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากแต่อย่างใด

1 4 5 6 7 8 46