อสมท คุมเข้มเชิงรุก พบนักจัดรายการวิทยุ บุคคลภายนอก ติดโควิด-19

อสมท 10 เม.ย.- ฝ่ายสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ออกประกาศและแจ้งว่า ตามที่ ได้รับแจ้งว่า นักจัดรายการ คลื่นวิทยุ FM 99 MHz Active Radio จำนวน 1 คน ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มาปฏิบัติงานที่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ถนนพระราม 9 ได้รับการตรวจและยืนยันจากแพทย์ว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เมื่อช่วงดึกของวันที่ 9 เมษายน 2564 ซึ่งนักจัดรายการวิทยุคนดังกล่าวได้แจ้งให้ผู้อำนวยการ ฝ่ายคลื่นวิทยุ FM 99 MHz Active Radio ทราบในทันทีที่ได้รับการยืนยันผลตรวจ และได้มีการรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชาตามขั้นตอน โดยนักจัดรายการวิทยุคนดังกล่าวได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับพนักงานที่ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับนักจัดรายการวิทยุ คนดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มนักจัดรายการ, ช่างควบคุมเสียง และเจ้าหน้าที่ ผู้ประสานงาน บมจ.อสมท ได้คัดแยกบุคคลกลุ่มดังกล่าวเพื่อดำเนินการกักตัว เป็นระยะเวลา 14 […]

ครม.ประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์-รมต.ลา 13 คน

การประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการประชุมผ่านระบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ และยกเลิกกิจกรรมประชาสัมพันธ์ที่ปกติจัดก่อนการประชุมออกไปก่อน ด้าน รมต. ลา 13 คน พร้อมทยอยฉีดวัคซีนเข็มแรก-เข็มสอง

สภาวุ่น ส.ส.-ส.ว. ลังเลเข้าประชุม

รัฐสภา วันนี้  (7 เม.ย.)  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเกิดกรณีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอก 3  และมี ส.ส. – ส.ว. เข้าข่ายเป็นกลุ่มเสี่ยง  ทำให้ที่ประชุมร่วมรัฐสภามีความล่าช้าในการเปิดประชุม  จากกำหนดการประชุมในเวลา 09.30 น.   มาเปิดประชุมได้เวลา 10.03 น.  เนื่องจาก มี ส.ส. และ ส.ว. ลังเลการเข้าประชุม โดยนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา  ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกได้หารือก่อนเปิดประชุม  นายขจิตร ชัยนิคม ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุผลที่องค์ประชุมยังไม่ครบไม่ใช่ความบังเอิญ แต่เป็นเจตนา ของพรรคการเมืองบางพรรค ที่ไม่ต้องการผ่านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ  และหวังให้องค์ประชุมไม่ครบหรือไม่  เพราะร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลต่อการจัดทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงขอให้ประธานรัฐสภา  ตรวจสอบเจตนาของสมาชิกที่ไม่เข้าร่วมประชุมเป็นรายบุคคล  มีเจตนาหลบเลี่ยงการประชุมในวันนี้หรือไม่ ด้านนายวีระกร คำประกอบ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดรัฐสภามีความล่าช้าในการฉีดวัคซีน จึงขอให้ประธานรัฐสภาเร่งรัด  อย่าเกรงใจหรือห่วงว่าประชาชนจะมองว่า  เป็นการฉีดก่อนประชาชน  เพราะ ส.ส.อยู่ในภาวะเสี่ยงสูง  ประธานรัฐสภา ยืนยันว่า หลังจากกรณีที่เกิดขึ้น  รัฐสภามีมาตรการเข้มและลดจำนวนบุคลากร […]

ฟังชัด ๆ “กัน ธนวัฒน์” พร้อมเล่นทีมชาติไทย หวังเป็นคนไทยคนแรกเล่นในพรีเมียร์ลีก

กทม.-  2  เม.ย. – “กัน” ธนวัฒน์ ซึ้งจิตถาวร นักเตะสายเลือดไทยในทีมเลสเตอร์ ซิตี้ชุดใหญ่ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวไทย อสมทว่า ตั้งเป้าเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ลงสนามในพรีเมียร์ลีก และพร้อมเล่นให้กับทีมชาติไทย เพราะตัวเองมีสายเลือดไทย “กัน” ธนวัฒน์ ซึ้งจิตถาวร นักเตะสายเลือดไทยแท้ในทีมเลสเตอร์ ซิตี้ ชุดใหญ่ วัย 21 ปี ให้สัมภาษณ์พิเศษกับทีมข่าวกีฬา สำนักข่าวไทย อสมท ถึงการซ้อมร่วมทีมชุดใหญ่ของทีมเป็นเวลากว่า 2 เดือนแล้วว่า มีความสุข และประทับใจมาก ที่ได้เรียนรู้จากฝึกซ้อม ร่วมกับ เจมี่ วาร์ดี้, เจมส์ แมดดิสัน และผู้เล่นคนอื่น ๆ ที่เป็นนักเตะชั้นยอดของทีม รวมถึงได้พบกับ เบรนแดน ร็อดเจอร์ส ผู้จัดการทีมที่ให้คำแนะนำดี ๆ ในหลายด้านในการเป็นนักเตะอาชีพ ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม  สิ่งสำคัญที่ตนได้เรียนรู้คือ ต้องเล่นให้เร็วขึ้น รวมถึงต้องแสดงศักยภาพของตัวเอง และมีความตื่นตัว ความต้องการจะเล่นฟุตบอลตลอดเวลา โดยการเล่นฟุตบอลในอังกฤษ กับที่ฝรั่งเศส สมัยที่อยู่กับ […]

จ่อส่งลิงแสมอ้วน “ก๊อตซิล่า” ฟื้นฟูสุขภาพ

25 มี.ค.- กรมอุทยานฯ วางแผนเตรียม ส่งลิงแสม “ก๊อตซิล่า” ไปฟื้นฟูสุขภาพที่ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่ากระบกคู่ ตามที่คณะเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษ 1362 ประสานความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติ สำนักป้องกัน ปราบปราม และไฟป่า ชุดปฏิบัติการปราบปรามการกระทำความผิดด้านสัตว์ป่าและพืชป่า (ชุดเหยี่ยวดง) และสัตวแพทย์ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ได้เดินทางรับลิงแสมอ้วน “ก๊อตซิล่า” เพื่อมาดูแลนั้น นายนาวี ช้างภิรมย์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า ได้มอบให้ฝ่ายช่วยเหลือและสวัสดิภาพสัตว์ป่า เข้าไปรับตัวลิงแสมดังกล่าว เพื่อมาตรวจสุขภาพ พบว่า เป็นลิงแสม เพศผู้ อายุประมาณ 3 ปี สุขภาพภายนอก น้ำหนักเกินจากปกติมาก ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการส่งต่อที่ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 (กระบกคู่) ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อฟื้นฟูและดูแลสุขภาพต่อไป โดยจะเริ่มจากตรวจเลือดเพื่อดูสุขภาพโดยรวมและตรวจหาโรค หากพบว่าไม่มีโรคติดต่อใด ๆ จะทำการลดอาหารที่ไม่เหมาะสมและให้กินอาหารเพื่อสุขภาพ หลังจากนั้นจะประเมินสุขภาพ และฟื้นฟูพฤติกรรมให้ลิงแสมกลับมามีพฤติกรรมการกินตามธรรมชาติต่อไป สำหรับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาตินั้น อาจเป็นไปได้ยาก เพราะส่วนใหญ่ลิงที่พลัดหลงฝูงมาจะไม่สามารถปล่อยคืนสู่ป่าได้ […]

ผลประชุมองค์กรสื่อ กับ ผบช.น. หารือการทำงานสื่อมวลชนในพื้นที่ชุมนุม

กทม. 25 มี.ค.- ตัวแทน 6 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติสภาวิชาชีพนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทยเข้าพบและประชุมร่วมกับ พล.ต.ท. ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) และคณะเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก บช.น. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ห้องปารุสกวัน 2 กองบัญชาการตำรวจนครบาล  ประเด็นหารือเรื่องแนวทางการทำงานของสื่อในสถานการณ์การชุมนุม หลังเหตุการณ์การชุมนุมเมื่อวันที่ 20 มีค.2564 ที่มีนักข่าวได้รับบาดเจ็บจากกระสุนยางของตำรวจ และสถานการณ์อื่น ๆ ก่อนหน้านี้ที่มีผลกระทบกับสื่อมวลชนในพื้นที่ชุมนุม  โดยในที่ประชุมองค์กรวิชาชีพนำเสียงสะท้อนจากสื่อมวลชนภาคสนาม บรรณาธิการสื่อหลายสำนักที่ได้เปิดรับฟังข้อเสนอก่อนหน้านี้ สรุปเป็นปัญหาในการทำงานในพื้นที่ชุมนุม  โดยองค์กรวิชาชีพ ยืนยันความมีเสรีภาพของสื่อมวลชน เมื่อเกิดเหตุการณ์ควรจะให้มีสื่อมี”พื้นที่ที่ปลอดภัย” ในการรายงานข่าวได้ ไม่ใช่กันให้ออกจากพื้นที่ เพราะไม่เป็นผลดีต่อทุกฝ่ายในการรายงานข้อเท็จจริง และได้สะท้อนปัญหาการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ที่บางครั้งใช้ความรุนแรงต่อสื่อมวลชน พร้อมกับปฏิเสธการใช้ปลอกแขนสื่อมวลชนที่จะมีการดำเนินการจัดทำและลงทะเบียนโดยฝ่ายตำรวจ ยืนยันที่จะใช้ปลอกแขนสื่อมวลชนที่ออกโดยองค์กรวิชาชีพเท่านั้น ซึ่งจะมีการออกแบบใหม่ให้เห็นเด่นชัด มีความคงทนถาวร และลงทะเบียนป้องกันการแฝงตัวการเป็นสื่อมวลชน พร้อมกับยืนยันว่าปลอกแขนสื่อมวลชนเป็นเพียงสัญลักษณ์ในการแสดงตัว ไม่ใช่ใช้เป็นเครื่องมือในการอ้างเพื่อละเมิดกฎหมาย  นอกจากนี้จะมีการรับฟังความคิดเห็นเพื่อจัดทำสัญลักษณ์อื่นที่ไม่ใช่ปลอกแขน อาทิ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ที่มีสื่อมวลชนต่างประเทศใช้ในพื้นที่ชุมนุม  องค์กรวิชาชีพสื่อ เสนอให้ตำรวจแจ้งประชาสัมพันธ์ตำรวจที่สลับสับเปลี่ยนมาปฏิบัติภารกิจควบคุมฝูงชนว่า สื่อมวลชนใช้สัญลักษณ์ใดแสดงตน  พร้อมกับสะท้อนปัญหาที่รับแจ้งจากสื่อมวลชนภาคสนามว่ามีตำรวจบางคนใช้ปลอกแขนที่อาจจะคล้ายของสื่อมวลชน ที่อาจจะสร้างความเข้าใจผิดได้ ซึ่ง ผบช.น. รับปากและยืนยันจะสั่งการการผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติเช่นนั้น อย่างไรก็ตามเมื่อมีการชุมนุมองค์กรวิชาชีพสื่อจะจัดให้มี “ผู้ประสานงาน” ของสื่อในภาคสนามโดยอาจเป็นสื่อที่มีอาวุโสหรือเป็นที่รู้จักของคนในภาคสนามเป็นตัวแทน  สำหรับประสานงานกับทางตำรวจที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ประสาน รวมถึงทำหน้าที่ประสานกับแกนนำผู้ชุมนุมเมื่อเกิดเหตุเฉพาะหน้าที่จะมีสัญลักษณ์ ปลอกแขนสีขาว ขลิบสีส้ม  ขณะเดียวกัน องค์กรวิชาชีพสื่อ สะท้อนว่าเนื่องจากมีสื่อมวลชนหน้าใหม่ อายุงานยังน้อยจำนวนมาก ไม่เคยผ่านประสบการณ์ทำข่าวการชุมนุม และไม่เคยผ่านการอบรมโครงการอบรมการรายการข่าวในสถานการณ์ขัดแย้งฯ หรือ safety training ขององค์กรวิชาชีพ จึงเสนอจัดอบรมหลักสูตรเร่งรัด พร้อมกับจะจัดทำคู่มือการทำข่าวในสถานการณ์ขัดแย้ง เน้นการชุมนุมทางการเมือง ข้อมูลจากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย https://www.tja.or.th/view/activities/media-movements/947233

มหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ "วิถีถิ่น วิถีไทย"

เปิดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ “วิถีถิ่น วิถีไทย” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วันที่ 23 มีนาคม 2564 เวลา 19.30 น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ “วิถีถิ่น วิถีไทย” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมเยี่ยมชมบูธการสาธิต จัดแสดง และจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายกฤษฏา คงคะจันทร์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นางโชติกา อัครกิจโสภากุล ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายทางวัฒนธรรมและเครือข่ายศิลปินพื้นบ้าน เข้าร่วม ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ลานโอเปร่า สวนเมืองทอง และสนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้ โครงการมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ “วิถีถิ่น วิถีไทย” จัดขึ้นเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ส่งเสริมให้ศิลปินพื้นบ้าน ผู้ประกอบการด้านศิลปวัฒนธรรม ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและเครือข่ายทางวัฒนธรรมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้มีพื้นที่ในการแสดงและจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม […]

6 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนออกแถลงการณ์ร่วมกรณีเหตุชุมนุม

แถลงการณ์ร่วมองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน เรื่อง การปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่และกลุ่มผู้ชุมนุม จนทุกฝ่ายได้รับบาดเจ็บทั้งเจ้าหน้าที่ ผู้ชุมนุม และสื่อมวลชนที่รายงานข่าว จากกรณีที่มีการชุมนุมของกลุ่ม REDEM ที่บริเวณท้องสนามหลวงเมื่อวันเสาร์ที่ 20 มีนาคม 2564 และมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจนนำไปสู่การสลายการชุมนุมโดยการฉีดน้ำ ยิงแก๊สน้ำตาและใช้กระสุนยาง จนเป็นเหตุให้มีนักข่าวและช่างภาพที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวการชุมนุมได้รับบาดเจ็บหลายรายตามที่ทราบแล้วนั้น องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน อันประกอบด้วย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยขอให้ทุกฝ่ายใช้ความอดทนอดกลั้น และไม่เห็นด้วยกับการก่อความรุนแรงในทุกรูปแบบ พร้อมทั้งมีข้อเรียกร้องและข้อเสนอแนะถึงฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ การชุมนุมของประชาชนกลุ่มต่างๆ หากเป็นการการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากการยั่วยุ อาวุธและการใช้ความรุนแรง ย่อมเป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้ตามระบอบประชาธิปไตย การปฏิบัติการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจควรดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนโดยก่อนการปฏิบัติการต่างๆ ต้องแจ้งให้ผู้ชุมนุมรวมทั้งสื่อมวลชนได้รับทราบอย่างชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ผู้สื่อข่าวและช่างภาพที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ชุมนุมต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในการรายงานข่าวในสถานการณ์วิกฤตโดยเคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียอันอาจเกิดแก่ร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สิน องค์กรสื่อมวลชนต้นสังกัดต้องร่วมประเมินสถานการณ์เพื่อให้การสั่งการต่อผู้สื่อข่าวและช่างภาพในพื้นที่ได้รับความปลอดภัย รวมทั้งสนับสนุนและเน้นย้ำให้บุคคลากรในสังกัดได้รับและใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวอยู่ตลอดเวลา องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ขอเน้นย้ำว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สื่อข่าวและช่างภาพในพื้นที่ชุมนุมควรใส่ปลอกแขนแสดงสัญลักษณ์ที่ทางองค์กรวิชาชีพสื่อออกให้ทุกครั้ง แต่ต้องเข้าใจว่า ปลอกแขนดังกล่าวไม่ได้เป็นเครื่องมือในการป้องกันกรณีที่มีการใช้ความรุนแรงไม่ว่าจากฝ่ายใด โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องประเมินสถานการณ์และปฏิบัติตามแนวทางการรายงานข่าวในสถานการณ์วิกฤตด้วย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย21 มีนาคม 2564

รูปหมู่สัมมนาสื่อกับการรู้เท่าทันข่าวปลอม

เปิดเวทีสัมมนา “สื่อกับการรู้เท่าทันข่าวปลอม”

โครงการอบรมหลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูงด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ บยสส.รุ่นที่ 1 จัดการสัมมนากลุ่มย่อย เรื่อง “สื่อกับการรู้เท่าทันข่าวปลอม” เปิดเวทีร่วมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กลั่นกรองข้อมูล-ข่าวสารก่อนเผยแพร่

ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อเพิ่มความสุขของสังคม

บทความเนื่องในวันความสุขสากล 20 มีนาคม 2564 โดย ผศ.ดร. เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์ เครือข่ายงานวิจัยนานาชาติเพื่อสังคมอยู่เย็นเป็นสุข (ไอร่าห์) ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อเพิ่มความสุขของสังคม : ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยมีการพูดถึงมาอย่างยาวนาน มีการวิเคราะห์สาเหตุทางวิชาการกันมามากมาย   แต่การแก้ไขในระดับโครงสร้างอย่างจริงจังยังไม่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิผล เราจึงเห็นปัญหานี้ยังคงอยู่แบบไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นได้ในเร็ววัน ตรงกันข้ามดูเหมือนจะปัญหานี้จะมากขึ้น โดยความเหลื่อมล้ำในสังคมจะรุนแรงขึ้นรื่อยๆ โดยเฉพาะท่ามกลางสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี่อย่างรวดเร็ว หรือมี technological disruption และยิ่งซ้ำเติมด้วยการระบาดของของโควิด 19 ที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก โดยเฉพาะต่อแรงงานไร้ฝีมือและคนด้อยโอกาสที่ไม่มีทางเลือกในการทำงานมากนัก ซ้ำเติมโอกาสทางเศรษฐกิจและรายได้ที่น้อยอยู่แล้ว ปัญหาในสถานการณ์เช่นนี้ ที่มีช่องว่างทางเทคโนโลยี รวมทั้งช่องว่างทางรายได้และโอกาสในการทำมาหาเลี้ยงชีพ ยิ่งจะทำให้ความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ  อย่างไรก็ตามบทความนี้ไม่ได้มาวิเคราะห์สาเหตุของความเหลื่อมล้ำที่มีการพูดกันมากในวงวิชาการและวิจัยอย่างมากมาย แต่จะพูดถึงประเด็นนี้ในอีกมุมหนึ่งคือ ความเหลื่อมล้ำสัมพันธ์กับความสุขอย่างไรในทางวิชาการและทำไมเราจึงควรลดการเหลื่อมล้ำในสังคม เพื่อเพิ่มความสุขในสังคมอย่างจริงจัง มีการศึกษาวิจัยโดยนักวิชาการด้านความสุขจากนานาประเทศรวมทั้งจากงานของผู้เขียนเอง พบว่า ในประด็นเรื่องรายได้ บทบาทของรายได้โดยเปรียบเทียบหรือรายได้สัมพัทธ์ (relative income) มีความสัมพันธ์ต่อความสุขอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่ารายได้สัมบรูณ์ (absolute income) อาจจะไม่มีผลมากนักต่อความสุขก็ตาม จากการทดสอบเชิงประจักษ์จากงานศึกษาวิจัยต่างๆพอจะสรุปได้ว่า ในสังคมที่มีช่องว่างของรายได้แตกต่างกันน้อย ระดับความสุขของคนในสังคมจะสูงกว่า เมื่อเทียบกับสังคมที่มีช่องว่างของรายได้แตกต่างกันมาก ในขณะที่ระดับรายได้โดยตัวมันเองหรือรายได้สัมบูรณ์อาจจะไม่มีผลต่อความสุขเลย หมายความว่า ถึงแม้บุคคลหรือประเทศมีระดับรายได้ที่เป็นตัวเงินหรือ GDP สูงขึ้นเรื่อยๆ […]

มติที่ประชุมรัฐสภา “ไม่เห็นชอบ” ร่างแก้ รธน.วาระ 3

รัฐสภา 17 มี.ค. – ที่ประชุมรัฐสภามีมติไม่เห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 โดยเสียงเห็นชอบมี 208 เสียง ซึ่งน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา โดยเวลา 23.15 น.  นายพรเพชร วิชิตชลชัย ที่ทำหน้าที่ประธานการประชุม แจ้งผลการลงมติว่า ในการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่…พ.ศ… ผลการนับคะแนน-เห็นชอบ (ส.ส. 206, ส.ว.2) คะแนนรวม 208-ไม่เห็นชอบ (ส.ส. 0, ส.ว. 4) คะแนนรวม 4-งดออกเสียง (ส.ส. 10 ,ส.ว. 84) คะแนนรวม 94-ไม่ประสงค์ลงคะแนน (ส.ส. 9 ,ส.ว. 127) คะแนนรวม 136 ดังนั้นที่ประชุมร่วมรัฐสภา เห็นชอบไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภา หรือ 369 เสียง ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติไม่เห็นชอบ ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่.. พ.ศ… มาตรา256 เพิ่มเติมมาตรา 15/1 ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญ […]

กรมคุมประพฤติแจงผู้ต้องหาถูกจับกุมคดียาเสพติดที่เพชรบูรณ์ไม่ได้ติด EM

14 มี.ค.- กรมคุมประพฤติชี้แจงผู้ต้องหาถูกจับกุมคดียาเสพติดที่จังหวัดเพชรบูรณ์จากข่าวออนไลน์ไม่ได้ติด EM จากกรณี ปรากฏข่าวสื่อออนไลน์ ในวันเสาร์ที่ 13 มีนาคม 2564 เกี่ยวกับการจับกุมเครือข่ายยาเสพติดของ กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด(บช.ปส.) ได้ผู้ต้องหาชื่อนายวีรศักดิ์ ทองปิก อายุ 33 ปี ชาว ต.ระวิง อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ โดยเนื้อข่าวระบุว่าผู้ต้องหารายดังกล่าวอยู่ระหว่างถูกติดอุปกรณ์ EM เพื่อคุมความประพฤติ กรมคุมประพฤติขอชี้แจงว่าผู้ต้องหารายดังกล่าวปัจจุบันไม่ได้เป็นผู้ถูกคุมความประพฤติและไม่ได้ติด EM ซึ่งอุปกรณ์ EM เป็นเครื่องมือในการติดตามเฝ้าระวังผู้กระทำผิดว่า ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือไม่ และข้อมูลการเคลื่อนไหวของผู้ติด EM เป็นประโยชน์แก่ทางราชการตำรวจ ซึ่งสามารถประสานความร่วมมือมายังกรมคุมประพฤติได้ ทั้งนี้ หากผู้ที่ติด EM มีการฝ่าฝืนก็จะมีมาตรการลงโทษทันทีคือการถูกควบคุมตัวให้รับโทษจำคุกที่เหลืออยู่ ในกรณีที่ได้รับการพักการลงโทษจำคุก และอาจได้รับโทษเพิ่มขึ้น EM จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการติดตาม ไม่ใช่เครื่องมือที่จะไปปรับความคิดโดยตรง แต่ถ้ากระทำผิดอีกจะตามตัวได้

1 56 57 58 59 60 62