ยังมีอีก 9 รัฐของสหรัฐที่คะแนนยังสูสี

ผลการนับคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐยังคงดำเนินต่อไปอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในรัฐที่มีคะแนนสูสีที่ยังคงมีการนับคะแนนอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าอาจใช้เวลาอีกหลายวันกว่าจะเสร็จสิ้น

มูลนิธิชัยพัฒนานำร่องระบบฟาร์มแม่นยำช่วยพัฒนาการปลูกเห็ดหลินจือ

กรุงเทพฯ 5 พ.ย. มูลนิธิชัยพัฒนา จับบมือ เนคเทค สวทช. และดีแทค นำร่องโครงการฟาร์มสาธิตเห็ดหลินจือด้วยโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ” ชูต้นแบบพืชเศรษฐกิจที่ใช้เทคโนโลยี ช่วยเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกรไทย นายชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ  เนคเทค สวทช. ) กล่าวว่าโครงการความร่วมมือวิจัยโรงเรือนเกษตรอัจฉริยะกรณีศึกษาเห็ดหลินจือ เนคเทค สวทช. มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยมาพัฒนาต่อยอด พร้อมเผยแพร่และขยายผลให้เกษตรกรในพื้นที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ โดยเป็นความร่วมมือระหว่างสามฝ่าย ได้แก่ มูลนิธิชัยพัฒนา ดีแทค และเนคเทค สวทช. ในส่วนของเนคเทค สวทช. ได้ศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ในการใช้ระบบเซ็นเซอร์เพื่อการเกษตร และระบบควบคุมอัตโนมัติในโรงเรือนที่ชื่อ HandySense มาวิเคราะห์และควบคุมสภาวะที่เหมาะสมในการปลูกเห็ดหลินจือให้ได้ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว โดยมูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูกเห็ดหลินจือ ร่วมทดสอบและเก็บข้อมูลในพื้นที่ และดีแทคสนับสนุนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้สามารถรับส่งข้อมูลผ่าน IoT Sensor ผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปผลร่วมกัน ภายใต้โครงการความร่วมมือดังกล่าวได้มีการเริ่มติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ และระบบควบคุมอัตโนมัติในโรงเรือนตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 มีความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการฯเป็นอย่างดี อาทิ ระบบการควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนโดยระบบอัตโนมัติ ได้เลือกใช้ IR Heater เพื่อควบคุมอุณหภูมิและการกระจายของอุณหภูมิ และการออกแบบตำแหน่งในการติดตั้งระบบควบคุมอัตโนมัติภายในโรงเรือน อุณหภูมิกระจายตัวของความร้อนเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ โดยได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และทีมวิจัยฯ จะนำผลการทดลองที่ได้ไปปรับใช้กับการทดลองในฤดูหนาวนี้ และเปรียบเทียบผลการเจริญเติบโตต่อไป ซึ่งการดำเนินการศึกษาวิจัยในพื้นที่ มีการเก็บข้อมูลโดยระบบ IoT Sensor แสดงผลข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน พร้อมทั้งได้อบรมการใช้งานให้กับเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิชัยพัฒนา ณ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และมีการประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการฯ ร่วมกันทั้งสามฝ่ายในทุกรอบเดือน ทั้งนี้ ผลจากการดำเนินโครงการฯ จะนำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการปลูกเห็ดหลินจือให้กับเกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศต่อไป สำหรับระบบฟาร์มแม่นยำ และการติดตั้งอุปกรณ์ IoT และเซ็นเซอร์ในพื้นที่แปลงเกษตร หรือโรงเรือน เพื่อทำหน้าที่วัดความชื้นในน้ำ ในอากาศ ในดิน วัดค่าอุณหภูมิ ชุดอุปกรณ์ดังกล่าวจะทำหน้าที่ร่วมกับแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์มือถือ โดยส่งสัญญาณผ่านการเชื่อมต่อไร้สาย แจ้งผลเกษตรกรให้สามารถดูแลผลผลิตจากที่ใดก็ได้ในโลก เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวตัดสินใจปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่แจ้งเตือนผ่านแอปได้อย่างเหมาะสม ทันท่วงที หากเกษตกรใช้งานโซลูชั่นดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จะสามารถช่วยลดต้นทุนภาคการผลิตไปในตัว และมีข้อมูลสถิติที่จัดเก็บและเรียกใช้ได้อย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและพื้นที่การเกษตรได้ ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตผลทางการเกษตร ยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ด้านนายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทคกล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวสืบเนื่องจากดีแทคมีความตั้งใจจริง และความมุ่งมั่นทุ่มเท ที่จะนำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรม องค์ความรู้ ทรัพยากรต่างๆ เพื่อช่วยยกระดับสังคมไทยในมิติต่างๆ โดยเฉพาะการลดความเหลื่อมล้ำ และการยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจของประเทศไทย ในภาคการเกษตรเป็นอีกมิติหนึ่งที่ดีแทคให้ความสำคัญมาโดยตลอด ผ่านโครงการเพื่อสังคม dtac Smart Farmer ซึ่งทำงานร่วมกับมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิดเริ่มตั้งแต่การส่งข้อมูลที่จำเป็นให้แก่เกษตรกร เช่น พยากรณ์อากาศ ราคาพืชผล ผ่านทาง SMS จนพัฒนามาถึงการทำแอปพลิเคชั่น Farmer Info ต่อยอดพัฒนามาเรื่อย ๆ มาถึง “ดีแทค ฟาร์มแม่นยำ” ให้เป็นฟาร์มต้นแบบโดยใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และควบคุมคุณภาพการเพาะปลูก ซึ่งได้มีการทดลองใช้กับ30 ฟาร์ม ใน 23 จังหวัด เห็ดหลินจือ พืชเศรษฐกิจมูลค่าสูง กับ โซลูชั่นฟาร์มแม่นยำมูลนิธิฯ ดีแทค และเนคเทค ได้ร่วมกันจัดทำโครงการวิจัยโรงเรือนเกษตรอัจฉริยะ กรณีศึกษา เห็ดหลินจือ ซึ่งเป็นแปลงฟาร์มวิจัยและสาธิต โดยเริ่มลงพื้นที่ศึกษาและวิจัยสำรวจสถานที่มาตั้งแต่ 1 พ.ค. 2562 จากนั้นได้นำเอาเทคโนโลยีไอโอที เซ็นเซอร์ และเครื่องมือตรวจวัดค่าที่จำเป็นเข้ามาประยุกต์ และศึกษาวิจัยโดยแบ่งเป็น 3 โรงเรือน คือ โรงเรือนควบคุม โรงเรือนที่ไม่ควบคุม และโรงเรือนแบบธรรมดา ว่าได้ผลลัพธ์ออกมาแตกต่างกันอย่างไร เนื่องจากมูลนิธิชัยพัฒนาเห็นว่า เห็ดหลินจือเป็นพืชเศรษฐกิจสำหรับส่งออกที่มีมูลค่าสูง ราคารับซื้อต่อกิโลกรัมอยู่ที่หลายหมื่นบาท ผลผลิตต่อโรงเรือนมากกว่า 100,000 บาท ดังนั้น ควรดึงเทคโนโลยีให้มาช่วยในการสร้างผลผลิต และที่ผ่านมาเห็ดหลินจือก็มีข้อจำกัดในการเพาะปลูก เนื่องจาก เห็ดหลินจือสามารถปลูกได้เพียงแค่ 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน แต่ในฤดูหนาวไม่สามารถทำได้ เพราะอุณหภูมิเฉลี่ยที่โรงเรือนจะต่ำลงเหลือเพียง 7-10 องศา ทำให้ดอกเห็ดไม่แตกออก และสปอร์เห็ดไม่ทำงาน ในขณะที่อุณหภูมิเหมาะสมในการเพาะปลูกอยู่ที่เฉลี่ย 15-28 องศา และเนื่องจากตัวโรงเรือนที่ไม่สามารถเข้า-ออกได้ตลอดเวลาอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการปนเปื้อน จึงได้ติดกล้อง CCTV เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของผลผลิตและดูว่ามีศัตรูพืชเข้ามากัดกินผลผลิตหรือไม่ และแม้การทำงานในพื้นที่นั้นทั้งเกษตรกรเองหรือผู้เชี่ยวชาญมีความรู้ความเข้าใจอย่างมากในผลผลิต มูลนิธิชัยพัฒนา จะเป็นผู้สนับสนุนดูแลและควบคุมกระบวนการผลิตเห็ดหลินจือในโรงเรือน ตลอดระยะเวลาการผลิต 2 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 31ตุลาคม พ.ศ. 2564 โดยจะเก็บข้อมูลปริมาณผลผลิตเห็ดหลินจือ และข้อมูลความเข้มข้นของสารสำคัญของเห็ดหลินจือในการปลูกแต่ละพื้นที่การปลูก ศึกษาต้นทุนและรายได้ ในการผลิตเห็ดหลินจือ โดยการใช้ระบบการควบคุมโรงเรือนอัตโนมัติ เปรียบเทียบกับกระบวนการปลูกแบบเดิม ประกอบด้วยการศึกษาปริมาณผลผลิตทุกช่วงการปลูกตลอดทั้งปี รายได้จากการปลูก ปริมาณสารสำคัญ ต้นทุนการผลิต ต้นทุนอุปกรณ์ ต้นทุนค่าแรง ต้นทุนสาธารณูปโภค และต้นทุนค่าบำรุงรักษา ร่วมกับนักวิจัยเนคเทค-สำนักข่าวไทย.

“วิษณุ” ไม่ห่วงกรณีนายกฯ อาศัยบ้านพักทหาร

ทำเนียบฯ  5 พ.ค.- นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัย กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อาศัยบ้านพักทหาร หลังเกษียณอายุราชการแล้ว ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ว่า  ไม่ขอแสดงความเห็น เพราะจะถือว่าไม่มีมารยาท และหากแสดงความเห็นไป อาจจะเป็นการชี้นำ เพราะศาลจะตัดสินในวันที่ 2 ธันวาคม นี้ แล้ว “นายกรัฐมนตรีไม่ได้หารืออะไรกับผม ทุกอย่างเป็นเรื่องกฎระเบียบของทางทหาร  ต้องว่ากันไปตามขั้นตอน แต่เท่าที่ทราบกองทัพบกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงไปยังศาล ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา  ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง ทุกอย่างต้องรอให้ศาลตัดสิน” นายวิษณุ กล่าว   .- สำนักข่าวไทย   

สหรัฐถอนตัวจากข้อตกลงปารีส -ไบเดนจะกลับเข้าเป็นสมาชิกใหม่

สหรัฐถอนตัวจากข้อตกลงปารีสอย่างเป็นทางการในวันนี้ โดยถือเป็นประเทศแรกที่ถอนตัวจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

สหรัฐทำลายสถิติป่วยโควิดรายวันสูงสุดหลังเลือกตั้ง

สหรัฐมียอดผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 รายใหม่อย่างน้อย 102,591 คน นับเป็นสถิติผู้ป่วยติดเชื้อรายวันสูงสุด

ดีอีเอสกำหนดภารกิจหลัก บ.เอ็นที มุ่งขับเคลื่อน 5G เพื่อประโยชน์กับคนทุกกลุ่ม

กรุงเทพฯ 5 พ.ย. ดีอีเอส หนุนผุดบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) ขับเคลื่อนการใช้ 5G ให้เกิดประโยชน์กับคนทุกกลุ่ม นายพุทธิพงษ์  ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวใน งาน “CAT Network Showcase 2020” (ครั้งที่ 11) ว่า โลกเปลี่ยนไปแล้ว เราต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลง คำถามที่ท้ายคือท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง เราจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไรด้วยเครื่องมืออะไร กระทรวงดีอีเอส พร้อมให้การสนับสนุนรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลมีโครงการที่เกี่ยวกับดิจิทัลของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อมูลกลางของภาครัฐ ที่นำไปสู่การใช้บิ๊กดาต้าเพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน  รวมถึงนโยบายของภาครัฐที่พัฒนา การสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนในพื้นฐานระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC เป็นความตั้งใจพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัยเพื่อการปรับตัวของตัวเองเตรียมพร้อมสำหรับการแข็งแข่ง หน่วยราชการเอกก็เตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขัน รวมไปถึงการควบรวมของบริษัท กสท โทรคมนาคมจำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (เอ็นที) ที่จะเพิ่มศักยภาพในการแข็งขัน การควบรวมในครั้งนี้จะทำให้เกิดหน่วยงานใหม่ที่จะพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของ 5G ไปสู่ประชาชน เพราะ 5G จะต้องเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกกลุ่ม  ทุกจังหวัด ทุกเป้าหมาย ทุกอุตสาหกรรม เราจะเห็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดอย่างแน่นอน กระทรวงดีอีเอสยืนยันจะพัฒนาเพื่อให้ประชาชนสามารถเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้เป็นประโยชน์มากำที่สุด การสัมมนาในครั้งนี้จะเป็นประโยน์กับประชาชนอย่างมากที่สุด -สำนักข่าวไทย.

“ชวน” ระบุ กก.สมานฉันท์ยังไม่เกิด

รัฐสภา 5 พ.ย.-“ชวน” เผยกรรมการสมานฉันท์ยังไม่เกิด เพียงคุยอดีตนายกฯ รับฟังความเห็นและยังไม่ได้คุย “สมชาย วงศ์สวัสดิ์” ย้ำการเข้าร่วมต้องอาศัยความสมัครใจ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวถึงท่าทีของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ประกาศไม่เข้าร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์ ว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวยังไม่ได้มีการตั้งขึ้นมา โดยขณะนี้เป็นการติดต่อกับผู้ใหญ่ในบ้านเมือง เพื่อขอรับฟังความคิดเห็นในฐานะผู้มีประสบการณ์และผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ หลายคนให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์ และที่มาของคณะกรรมการปรองดองนั้น เป็นการเสนอมาจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หากปฏิเสธไม่รับมา ก็เหมือนกับการมองข้ามความสำคัญของการแก้ไขปัญหา แต่สิ่งสำคัญ คือ จะต้องมองปัญหาจากสภาพความเป็นจริงว่าจะทำอย่างไรให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีความมั่นคง ไม่วุ่นวายมากเกินไป ลดความขัดแย้งแตกแยกในหมู่ประชาชน ซึ่งยอมรับว่าไม่มีอะไรที่แก้ได้ทั้งหมด 100% เพราะการเมืองย่อมมีความเห็นแตกต่าง แต่เราไม่ต้องการเห็น ความขัดแย้งรุนแรง มีการประทุษร้าย ซึ่งเชื่อว่าคนรุ่นก่อน ๆ มีประสบการณ์ “ไม่มีอะไรแก้ได้ร้อยทั้งร้อย แต่ถ้าเราลดลงมาได้ ก็เป็นประโยชน์ คนรุ่นก่อนก็มีความขัดแย้ง เช่น มาจากการเลือกปฏิบัติ การแบ่งพรรคแบ่งพวก การใช้สื่อวิทยุชุมชนให้ร้ายไปถึงสถาบัน หรือบุคคล หรือขัดแย้งกันถึงที่เข้าจังหวัดไม่ได้ เป็นสิ่งที่เราต้องทบทวนและแก้ไข เพื่อรองรับอนาคตที่เปลี่ยนแปลง” […]

แคนาดาพบไข้หวัดใหญ่ในสุกรสายพันธุ์หายากในมนุษย์

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแคนาดารายงานว่า มีผู้ติดเชื้อไวรัส H1N2 หรือไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ในสุกรรายแรกของประเทศ

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน

ชัยภูมิ 5 พ.ย.63 – มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และ สสน. เปิดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน จ.ชัยภูมิ แหล่งเรียนรู้การจัดการน้ำและบริหารพื้นที่เกษตรวิถีใหม่ ให้ชุมชนมีน้ำใช้เพาะปลูกได้ทั้งปี และพัฒนาพื้นที่รับน้ำหลากในฤดูฝนแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน เกษตรกรบ้านโนนแต้ ต.หนองขาม อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเพาะปลูกทางการเกษตรใหม่ จากพื้นที่ที่เคยปลูกทำนาทั้งหมด เปลี่ยนเป็นผสมผสานหยิบป่ามาไว้ในที่นา เป็นวิถีเกษตรใหม่ที่สร้างผลผลิตสร้างรายได้เกิดขึ้นตลอดทั้งปี นายสายยันต์ เหล็กพรม เกษตรกรบ้านโนนแต้ บอกว่า มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน) ได้น้อมน้ำแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มาเป็นหลักคิดประยุกต์ใช้ในพื้นที่ ทำให้ตนเองเกิดความคิดนำแนวพระราชดำริ ลองมาปรับใช้กับพื้นที่เกษตร แบ่งส่วนของพื้นที่ทำกินใหม่ลดที่ทำนาเหลือ 4 ไร่ สร้างสระน้ำหัวใจของการเพาะปลูก 1 ไร่ พื้นที่เกษตรผสมผสาน 1.5 ไร่ พื้นที่ปศุสัตว์ 0.5 ไร่ และป่าน้อย 1 ไร่  ซึ่งป่าน้อยนี้ใช้การเพาะปลูกเลียนแบบธรรมชาติ ลงไม้ยืนยันไม้ใหญ่พืชท้องถิ่น เช่นยางนา ประดู่ พะยูงและไม้สัก ผสมกับพืชป่า เช่น หวาย ไผ่ และผักหวานป่า ไม่กี่ปีพืชเจริญเติบโตไม้ใหญ่โตให้ร่มเงา เริ่มมีผลผลิตคล้ายป่า สามารถเก็บเห็ดป่าที่จะขึ้นเฉพาะพื้นที่สมบูรณ์ และมียางนามนพื้นที่ ขายราคากิโลกรัมละ 200-300 บาท ส่วนผักหวานป่าเก็บได้ทุกปี กิโลกรัมละ 200 บาท เน้นกินอะไรก็ปลูกอย่างนั้น แถบไม่ต้องซื้อวัตถุดิบมาปรุงอาหารในแต่ละวัน ลดรายจ่ายของครอบครัวได้จำนวนมาก ที่สำคัญครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมด้วยการเก็บพืชป่าในที่ของตัวเองกว่า 20,000 – 30,000 บาทต่อปี โดยพื้นที่นี้ตลอด 10 ปี ที่เริ่มปลูกเปลี่ยนเป็นหนึ่งหัวนาป่าไร่น้อย ไม่เคยประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอีกเลย ด้วยมีบ่อน้ำเตรียมไว้สำหรับเก็บน้ำในฤดูฝน น้ำเต็มบ่อสามารถนำไว้ใช้ได้ในช่วงแล้งของทุกปี รวมทั้งการเตรียมบ่อน้ำบาดาลไว้เพิ่มเติม ซึ่งได้จากการเรียนรู้แนะนำจากทั้ง 2 หน่วยงาน จึงมีน้ำใช้อย่างพอเพียงเป็นตัวอย่างให้กับเพื่อนบ้านเริ่มปรับพื้นที่สู่เกษตรวิถีใหม่มากขึ้น ซึ่งมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน) ได้ชูให้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน บ้านโนนแต้ ดร.รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ กล่าวว่า น้ำเป็นหัวใจสำคัญของทุกๆด้าน มีน้ำการเกษตรก็เจริญงอกงาม มีน้ำชุมชนก็ชุ่มชื้นไม่แล้งแค้น ซึ่งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน บ้านโนนแต้จ.ชัยภูมิ เป็นอีกพื้นที่สามารถเป็นตัวอย่าง เป็นพี่เลี้ยงให้ชุมชนแห่งอื่นนำกระบวนการจัดการน้ำไปประบใช้อย่างเหมาะสม ทั้งด้านเกษตรวิถีใหม่ การบริหารจัดการด้วยแก้มลิง การสร้างเครือข่ายน้ำชุมชน ได้พื้นที่เก็บกักน้ำกว่า 13 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังช่วยฟื้นลำน้ำที่เคยตายไปแล้วกลับมามีชีวิตอีกครั้ง ชาวบ้านได้ประโยชน์ในระยะยาว ปัญหาที่เคยมีจากน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก แต่กลับขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งก็หายไปชุมชนไม่ต้องหลีกหนีจากพื้นที่ไปหางานทำในที่ไกลบ้าน มีอู่ข้าวอู่น้ำเป็นทรัพยากรที่ชุมชนนำมาใช้ประโยชน์เกิดการพัฒนาตัวเอง และสร้างมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน สำหรับพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน บ้านโนนแต้ จ.ชัยภูมิ มีจุดเรียนรู้ด้านการจัดการ 4 แห่ง แบ่งเป็นจุดที่1.หนึ่งหัวนาหนึ่งป่าน้อย 2.เชื่อมน้ำชี สร้างแก้มลิง เปลี่ยนชีวิต 3.สระน้ำเพื่อชีวิต สำรองน้ำ พึ่งพาตนเองและ 4. ติดตามสถานการณ์น้ำ มองใหญ่ทำเล็ก โดยเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ด้านการจัดการน้ำและแนวทางตามแนวพระราชดำริ ได้ตลอดทั้งปี และขยายโครงการสู่ชุมชนอื่นทั่วประเทศ

1 95 96 97 98 99 440