สหรัฐถูกทิ้งหลังเอเชียตั้ง RCEP
หอการค้าสหรัฐชี้สหรัฐถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง หลังจากชาติเอเชียตั้งกลุ่มการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก
หอการค้าสหรัฐชี้สหรัฐถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง หลังจากชาติเอเชียตั้งกลุ่มการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก
สุทิน” เผย ส.ส.เพื่อไทยบางกลุ่มอาจไม่รับญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญของไอลอว์ เพราะแก้ไขทั้งฉบับ หวั่นขัดรัฐธรรมนูญ แต่ขอฟังรายละเอียดก่อน
กลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเริ่มรวมตัวกันบริเวณแยกเกียกกายใกล้กับรัฐสภาแล้ว บรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
“จุรินทร์” ระบุ ปชป. รับญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาล และฝ่ายค้าน แต่ไม่ตัดทิ้งร่างไอลอร์ ขอฟังเหตุผลในสภาก่อนมีมติ ย้ำจุดยืนไม่แตะหมวด 1 – หมวด 2
รองนายกรัฐมนตรี เผยเตรียมนำการลงนาม อาร์เซ็ป ขอความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภา ให้ทันในสมัยประชุมนี้ เผยเมื่อมีผลบังคับใช้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับการค้า การลงทุนของไทย
กรุงเทพฯ 17 พ.ย. ดีอีเอส โต้ข้ออ้างไทยคมเลี่ยงความรับผิดชอบ กรณีดาวเทียมชำรุดก่อนครบสัญญา น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า กรณีดาวเทียมไทยคม 5 ซึ่งประสบปัญหาขัดข้องจนต้องปลดระวางก่อนวันครบกำหนดสัญญาสัมปทาน ที่ผ่านมากระทรวงฯ ในฐานะคู่สัญญากับ บมจ. ไทยคม ซึ่งเป็นเอกชนผู้รับสัมปทาน ได้เจรจาให้ บริษัทแสดงความรับผิดชอบเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายทั้งกับลูกค้าผู้ใช้บริการ และกับรัฐในฐานะผู้ให้สัมปทาน อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อยุติร่วมกัน และล่าสุดผู้บริหาร บมจ.ไทยคม ออกมากล่าวอ้างให้ข้อมูลเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ ในการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาสัมปทาน ดังนั้น กระทรวงฯ จำเป็นต้องออกมาให้ข้อเท็จจริงเพื่อตอบโต้ข้อกล่าวอ้างของเอกชนในประเด็นหลักๆ ดังนี้ การที่ผู้บริหารของไทยคม ระบุว่าได้ดำเนินการตามเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานครบถ้วนมาตลอดนั้น สัญญาสัมปทานนี้ทำขึ้นเมื่อปี 2534 มีข้อกำหนดชัดเจนให้บริษัทฯ มีหน้าที่จัดสร้างและจัดส่งดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ โดยมีดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองซึ่งจัดส่งขึ้นสู่วงโคจรให้ทันใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องกับการสิ้นอายุของดาวเทียมดวงก่อน อีกทั้ง เมื่อถึงวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน บริษัทฯ ต้องส่งมอบทรัพย์สินภายใต้สัญญาฯ คืนให้กระทรวงฯ โดยดาวเทียมต้องอยู่ในสภาพใช้งานได้ ณ ตำแหน่งวงโคจร รวมทั้งสถานีควบคุมดาวเทียมและอุปกรณ์ต่างๆ ต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ทั้งนี้ จากข้อสัญญาข้างต้น ชัดเจนว่าเงื่อนไขสำคัญ ไม่ได้อยู่ที่จำนวนดาวเทียมที่บริษัทฯ มีการจัดสร้างเพื่อให้บริการ และในวันสิ้นสุดอายุสัญญา ทรัพย์สินในโครงการทั้งหมดที่ต้องส่งมอบให้กับกระทรวงฯ ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานดาวเทียมไทยคมต้องยังอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี และสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของอายุดาวเทียมไทยคม 5 ซึ่งขึ้นสู่วงโคจรเพื่อให้บริการในปี 2549 นั้น กระทรวงฯ เคยได้รับแจ้งจากบริษัทฯ เมื่อปลายปี 2560 ว่า ดาวเทียมดวงนี้จะหมดอายุทางวิศวกรรมในช่วงไตรมาส 3 ปี 2563 เนื่องจากเชื้อเพลิงในระบบขับเคลื่อนจะหมด พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ยื่นข้อเสนอขอเชื่อมต่อระบบขับเคลื่อนเพิ่มเติมให้กับดาวเทียมไทยคม 5 และขอแก้อายุสัญญาสัมปทาน “สำหรับข้อเสนอครั้งนั้น กระทรวงฯ เห็นชอบหลักการให้บริษัทฯ เฉพาะในเรื่องคำขอเชื่อมต่อระบบขับเคลื่อนเพิ่มเติมให้กับดาวเทียมไทยคม 5 ซึ่งบริษัทก็ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการเมื่อเดือนสิงหาคม 2562” น.ส.อัจฉรินทร์กล่าว อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม 2562 บริษัทฯ ได้แจ้งว่าเกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคของระบบแจ้งสถานะของดาวเทียมไทยคม5 และพยายามทำการแก้ไขแต่ไม่สำเร็จ และได้แจ้งว่าจะต้องปลดระวางดาวเทียมออกจากวงโคจร ซึ่งกระทรวงฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบทางเทคนิค และพบว่าไทยคม 5 เกิดการขัดข้องจริง โดยเกิดจากระบบแจ้งเตือนสถานะบนดาวเทียม (Telemetry) ไม่ส่งสัญญาณลงมา โดยเป็นการเสียแบบเฉียบพลัน ประกอบกับเมื่อปี 2561 บริษัทฯ พบปัญหาอุปกรณ์ Telemetry ตัวที่ 1 ใช้งานไม่ได้ และตัดสินใจใช้งานตัวสำรองแทน ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยไม่เคยแจ้งให้กระทรวงฯ รับทราบ “จากข้อเท็จจริงข้างต้น จึงไม่สอดคล้องกับข้ออ้างของ บมจ.ไทยคม ที่ให้ข้อมูลกับสื่อว่า ดาวเทียมไทยคม 5 ชำรุด เพราะหมดอายุวิศวกรรมและใช้งานเกินกว่าอายุที่กำหนด” ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าว นอกจากนี้ การที่บริษัทปลดระวางดาวเทียมไทยคม 5 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นหน้าที่ของบริษัทฯ ที่จะดำเนินการตามข้อปฏิบัติสากล กระทรวงฯ รับทราบว่าต้องดำเนินการแต่ไม่ได้อนุมัติหรือเห็นชอบ และกระทรวงฯ ได้มีหนังสือแจ้งให้บริษัทฯ ดำเนินการตามข้อกำหนดของสัญญาฯ หลังการปลดระวางด้วย เช่นเดียวกับการปลดระวางดาวเทียมดวงก่อนๆหน้านี้ อีกประเด็นสำคัญเกี่ยวกับสัญญาสัมปทานไทยคม ก็คือ ข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระส่วนแบ่งรายได้ตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีการจัดทำร่วมกันตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งกำหนดผลประโยชน์ตอบแทนที่บริษัทฯ ต้องชำระให้กับกระทรวงฯเป็นร้อยละของรายรับรวมทั้งสิ้นในแต่ละปีก่อนหักค่าใช้จ่าย หรือให้ผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำ โดยเอาจำนวนผลประโยชน์ที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ ดังนั้นข้อมูลที่เอกชนกล่าวอ้าง ถึงตัวเลขที่มีการชำระค่าส่วนแบ่งรายได้ของดาวเทียมจนถึงปัจจุบัน ว่า เป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าจำนวนขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงถือเป็นข้อมูลที่อาจสร้างความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อสาธารณชน ที่ไม่ทราบถึงรายละเอียดของสัญญาในประเด็นนี้-สำนักข่าวไทย.
ทางการเกาหลีใต้จะใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมที่เข้มงวดขึ้นในกรุงโซลและพื้นที่โดยรอบอีกครั้ง หลังผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวได้เพียง 1 เดือน
นายโจ ไบเดน ผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐระบุว่า อาจมีผู้คนเสียชีวิตอีกมาก หากทรัมป์ยังไม่ให้ความร่วมมือในการวางแผนจัดการกับโรคโควิด-19
นายโจ ไบเดน ผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐระบุว่า อาจมีผู้คนเสียชีวิตอีกมาก หากทรัมป์ยังไม่ให้ความร่วมมือในการวางแผนจัดการกับโรคโควิด-19
รัฐสภา 17 พ.ย.- นาย ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เปิดเผยว่า ไม่ลำบากใจในการทำหน้าที่ในการประชุมรัฐสภา วันนี้ (17 พ.ย.) เพื อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และยืนยันว่าผู้ชุมนุมมีสิทธิ์เรียกร้อง แต่ต้องไม่ปฎิบัติหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่คุกคามการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา ส่วนเรื่องการรักษาความปลอดภัยในรัฐสภา เป็นหน้าที่ของรัฐสภาที่ต้องดูแล ส่วนพื้นที่รอบนอกเป็นหน้าที่ของตำรวจ ส่วนที่มีการประเมินว่า หากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของไอลอว์ถูกตีตกไป จะเป็นการจุดชนวนทางการเมืองให้ร้อนแรงกว่าเดิมหรือไม่ นายชวน กล่าวว่าไม่ทราบ เป็นหน้าที่ของรัฐสภา แต่ส่วนตัวเชื่อว่า การประชุมของรัฐสภาจะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น ส่วนเวลาในการอภิปรายเบื้องต้นยังไม่แน่นอน ส่วนกรณีที่กลุ่มไทยภักดีจะไปยื่นหนังสือต่ออัยการหากร่างของไอลอว์ผ่านมติของสภา นาย ชวน กล่าวว่า ขอให้เป็นเรื่องเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภายในสภา ไม่ขอพูดเรื่องนอกสภา .- สำนักข่าวไทย
รัฐสภา 17 พ.ย.- นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รายงานของคณะกรรมาธิการศึกษาร่างแก้รัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการมีประเด็นหลัก 2 ประเด็น คือ ร่างที่เสนอเข้ามาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และต้องทำประชามติก่อนหรือไม่ ซึ่งเป็นคำถามที่เกิดจากการประชุมรัฐสภาครั้งที่ผ่านมา และกรรมาธิการฯ ต้องชี้แจง คาดว่าใช้เวลาไม่มากนัก แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ ร่างของไอลอว์ ซึ่งผู้เสนอกฎหมายต้องตอบคำถาม 5 ประการ คือ 1.ไม่มีบทบัญญัติห้ามแก้ไขหมวด 1 และ 2 ซึ่งต้องชี้แจงว่ามีเจตนาอย่างไร 2.ในส่วนที่เกี่ยวกับ ส.ส.ร. และแยกประเด็นไปถึง 10 ประเด็น จะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนกันหรือไม่ 3.เรื่องการดำเนินการยกเลิกการสรรหาองค์กรอิสระต่างๆ มองว่ายังไม่ได้เสนอรูปแบบที่ดีกว่า แล้วจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าจะไม่นำไปสู่การยกเลิกองค์กรอิสระ 4.มีข้อห่วงใยในข้อบังคับข้อ 124 มีบทบัญญัติชัดเจนว่า การแก้ไขเพิ่มเติมวาระที่ 2 หากรับหลักการมาแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขให้ขัดกับขั้นรับหลักการได้ ซึ่งผู้เสนอร่างต้องตอบให้ได้ถึงหลักการนี้ และ 5.มีบางส่วนเข้าเงื่อนไขมาตรา 256 วงเล็บ 8 ที่อาจจะมีความซ้ำซ้อนกันเรื่องการทำประชามติ.- สำนักข่าวไทย
ทางการปากีสถานปิดทางหลักที่เข้าสู่กรุงอิสลามาบัดเป็นวันที่สองในวันนี้ เพื่อสกัดผู้ประท้วงต่อต้านฝรั่งเศสที่ขยายตัวมาจากเมืองราวัลปินดีที่อยู่ติดกัน