เสียงสะท้อน : TCAS64 อยากเห็นการศึกษาไทยดีขึ้น?
ช่วงนี้หลายมหาวิทยาลัยได้มีการเปิด Open House จึงมีคำถามว่าในยุคนี้เด็กเขาอยากเลือกเรียนอะไรกันบ้าง
ช่วงนี้หลายมหาวิทยาลัยได้มีการเปิด Open House จึงมีคำถามว่าในยุคนี้เด็กเขาอยากเลือกเรียนอะไรกันบ้าง
กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและพันธมิตรหรือโอเปกพลัสจะเปิดประชุมออนไลน์อย่างไม่เป็นทางการในวันเสาร์นี้
นายกฯ ระบุดีใจคนไทยจะได้รับวัคซีนโควิด-19 อันดับแรกๆ ของโลก ย้ำรัฐบาลเดินหน้าส่งเสริมวิจัยและพัฒนาต่อเนื่อง
กรุงเทพฯ 27 พ.ย. รัฐเปิดศูนย์เอไอภาครัฐเล็งใช้เทคโนโลยีพัฒนาระบบและบริการให้ ช่วยขับเคลื่อนบริการประชาชน นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เปิด ศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ ภาครัฐ โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน)หรือDGA โดยนายอนุชากล่าวปาฐกถาถึงความสำคัญในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ เพื่อการใช้งานของหน่วยงานภาครัฐว่า ประเทศใดที่มีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ได้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ความสามารถการผลิตและยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ประเทศที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ให้ก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วและสามารถประยุกต์ใช้ในบริบทที่หลากหลาย ประเทศนั้นย่อมสร้างความได้เปรียบในหลากหลายมิติ เช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการทำงานของรัฐ เพื่ออำนวยความสะดวก ประชาชน ประหยัดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มศักยภาพด้านผลผลิต (productivity) ให้กับประชาชนตลอดจนยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ ผลคือ Government Artificial Intelligence Readiness Index 2019 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 56 จาก 196 ประเทศโดย เทียบจากดัชนีชี้วัดความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์ของรัฐบาลใน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ การกำกับดูแล, โครงสร้างพื้นฐานและข้อมูล, ทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ และการศึกษา รวมถึงการประเมินในส่วนของรัฐบาล และการบริการสาธารณะต่ำกว่า แม้ว่าในปี 2020 ประเทศไทยจะ อยู่ในอันดับที่ 60 เนื่องจากประเทศต่างๆเริ่มตื่นตัวในการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์มากขึ้น ในส่วนของภาครัฐไทยเองยังจำเป็นต้องมีการวางยุทธศาสตร์ชาติด้านปัญญาประดิษฐ์อย่างเป็นรูปธรรม การจัดตั้งหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์เพื่อผลักดันและประยุกต์ใช้ในหน่วยงานภาครัฐ จึงเป็นบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล “เอไอเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลที่มุ่งเน้ความโปร่งใส มีบริการรวดเร็วตอบสนองบริการทุกภาคส่วนประชาชนเข้าถึงภาครัฐและมีส่วนร่วม สามารถรองรับเชื่อมโยงกับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ” นายอนุชากล่าว ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ถือเป็นเทคโนโลยีที่ประเทศไทยยังขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญเข้ามารองรับความต้องการทั้งในภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคการศึกษา เนื่องจากการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขานี้จะใช้เวลานาน ส่งผลให้ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องลงทุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในมูลค่าที่สูง จึงเกิดแนวความคิดที่จะรวบรวมผลงานปัญญาประดิษฐ์พร้อมใช้ และ ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ มีความตั้งใจพัฒนาเพื่อประเทศไทย มาพบปะหารือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีนี้ร่วมกัน รวมถึงการสร้าง ชุมชนปัญญาประดิษฐ์ (AI Community) ผ่านศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐขึ้น ด้วยจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดความร่วมมือ จากทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคการศึกษา เพื่อให้ AI สร้างผลงานและแจ้งเกิดอย่างเป็นรูปธรรม-สำนักข่าวไทย.
กทม. 27 พ.ย. 63 – กสว. เห็นชอบหลักการ TBIR เสริมศักยภาพผู้ประกอบการนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ กสว. เห็นชอบในหลักการมาตรการสนับสนุนทุนสำหรับผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมตามโจทย์ความต้องการของภาครัฐ หรือ ความต้องการจากภาคเอกชนที่มีตลาดใหญ่ (Thailand Business Innovation Research: TBIR / Thailand Technology Transfer Research: TTTR) ที่จะเสริมขีดความสามารถในการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ครั้งที่ 11/2563 ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ พิจารณาและให้ความเห็นการดำเนินการขับเคลื่อนกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม โดยมีการพิจารณา เรื่องการขออนุมัติหลักการมาตรการสนับสนุนทุนสำหรับผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมตามโจทย์ความต้องการของภาครัฐ หรือ ความต้องการจากภาคเอกชนที่ตลาดขนาดใหญ่ ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธาน กสว. กล่าวว่า กสว. เห็นชอบในหลักการมาตรการ TBIR ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่เข้าไปหนุนเสริมขีดความสามารถในการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งมีใช้ในหลายประเทศที่เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามการนำมาปรับใช้ในบริบทของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทยนั้น กสว. มีข้อสังเกตถึงหลักการระบบ รวมถึงแนวทางการจัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนาด้านนวัตกรรมอย่างชัดเจน โดยมอบหมายให้คณะทำงานศึกษาต่อถึงแนวทางการวางกรอบการทำงาน การสร้างกลไกต่าง ๆ การทำงานในเชิงนโยบายและประสานระบบต่างๆ เข้าด้วยกันให้สามารถดำเนินงานได้ โดยเน้นย้ำว่า บทบาทของ กสว. และ สกสว. เป็นผู้ช่วยผลักดันให้เกิดขึ้น ส่วนการให้ทุนสนับสนุนประเด็นนี้ยังคงเป็นบทบาทของหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม ที่รับผิดชอบงานด้านนวัตกรรม ซึ่งรายละเอียดการดำเนินงานนั้นยังเป็นประเด็นที่จะต้องศึกษากันต่อไป ด้าน รศ.ดร. พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจพัฒนาระบบและเครือข่าย ววน. สกสว. กล่าวว่า ที่ผ่านมา สกสว. ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ยกร่างมาตรการสนับสนุนทุนสำหรับผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมตามโจทย์ความต้องการของภาครัฐ หรือ ความต้องการจากภาคเอกชนที่มีตลาดใหญ่ (TBIR / TTTR) ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการด้านการพัฒนาระบบนวัตกรรม มีแนวคิดว่าวิสาหกิจ SMEs คือหนึ่งในผู้สร้างนวัตกรรม จึงส่งเสริมให้ทำโครงการวิจัยที่ตรงกับความต้องการของภาครัฐและสังคม จากนั้นจึงพัฒนาแนวคิดนี้ให้สอดคล้องตามบริบทของประเทศไทย ทำให้เกิดมาตรการTBIR/TTTR ที่เป็นกลไกการให้ทุนสนับสนุนโดยอาศัยหลักการของการแข่งขัน เพื่อให้ได้ข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพและมีศักยภาพสูง ภายใต้โจทย์ความต้องการจากภาครัฐ หรือ ความต้องการจากภาคเอกชนที่มีตลาดขนาดใหญ่ โดยเป็นการสนับสนุนทุนให้แก่ผู้ประกอบการทั้งวิสาหกิจขนาดใหญ่ระดับต้น ขนาดกลางหรือขนาดเล็ก ที่อยู่ในช่วงที่มีศักยภาพหรือกำลังพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยและพัฒนาด้าน ววน. เพื่อสร้างขีดความสามารถในการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยมีแผนการขับเคลื่อนมาตรการ TBIR นำร่องในปีงบประมาณ 2564 โดยคาดหวังว่าในปีงบประมาณ 2565 จะสามารถขับเคลื่อนได้อย่างเต็มรูปแบบ .-สำนักข่าวไทย
ระบุ เป็นการเตรียมความพร้องรองรับในอนาคต
รัฐบาลฮังการีจะตัดสินใจเรื่องการออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในช่วงวันหยุดเทศกาลคริสต์มาสในอีกราว 8-10 วัน
ส.ส.ก้าวไกล ไล่ “ไพบูลย์” ลาออก ส.ส.ไปนั่ง ส.ส.ร.-รับกังวล กมธ.แก้รัฐธรรมนูญจะทำให้ ส.ส.ร.ทำงานยาก ย้ำกล่าวหา ตั้ง ส.ส.ร.เป็นการตีเช็ค เปล่าเท่ากับดูถูกประชาชน
ทำเนียบฯ 27 พ.ย.- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การขยายโครงการคนละครึ่งเฟส 2 จะรวมถึงกลุ่มนักเรียนมัธยมด้วยหรือไม่ว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกำลังหารือกันอยู่ แม้ว่าจะต้องการให้ทุกคน แต่คงให้ทั้ง 70 ล้านคนไม่ไหว จึงจำเป็นต้องพิจารณาให้กับผู้มีรายได้น้อย ให้สามารถมีอาหารการกิน หรือ ซื้อของได้ถูกลงเป็น 2 เท่า ซึ่งรัฐบาลก็จะเดินหน้าต่อไปในเดือนมกราคม และจะเดินหน้าต่อไปอย่างน้อยอีก 3 เดือน เพื่อให้งบประมาณเพียงพอ .- สำนักข่าวไทย
ตำรวจสอบปากคำมือยิงในม็อบ SCB หลังเข้ามอบตัว เบื้องต้นรับสารภาพ มีปัญหาส่วนตัวกับคนเจ็บ ยอมรับไปร่วมชุมนุมฐานะประชาชน และ ดูแลความปลอดภัยให้มวลชน แต่ไม่ได้สวมปอกแขน
นายกรัฐมนตรี เป็นประธานลงนามจอง-ซื้อวัคซีนโควิด-19 คาด คนไทยได้ใช้วัคซีนในปี 2564 ระบุ ประเทศไทยต้องมีวัคซีนเพียงพอ และพึ่งตนเองให้ได้
รัฐบาลญี่ปุ่นแถลงวันนี้ว่า การทดสอบแอนติบอดีสำหรับไวรัสโคโรนารอบใหม่ต่อประชาชนจำนวน 15,000 คนจะเสร็จสิ้นในปีนี้ ขณะที่รัฐบาลกำลังพยายามหาแนวทางเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อในประเทศ