เปิดตัวทีมโฆษกกองทัพบก

บก.ทบ. 2 ต.ค.-เปิดตัวทีมโฆษกกองทัพบก “พล.ท.สันติพงศ์” ย้ำแนวทางการทำงานประชาสัมพันธ์ของกองทัพบก เน้นเพิ่มช่องทางสื่อสาร ย้ำทำงานเป็นทีม พล.ท.สันติพงศ์ ธรรมปิยะ รองเสนาธิการทหารบก ในฐานะโฆษกกองทัพบกคนใหม่ พร้อมด้วยทีมโฆษกกองทัพบกมาแนะนำตัวกับสื่อมวลชน ประกอบด้วย พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก , ร.อ.หญิง กัญญ์ณณัฐ พรนิพัทธ์กุล ผู้ช่วยโฆษกกองทัพบก , พ.ต.หญิง พัชรินทร์ บุศยกุล ผู้ช่วยโฆษกกองทัพบก , พ.ต.หญิง จุฑาทิพย์ วุฒิรณฤทธิ์ ผู้ช่วยโฆษกกองทัพบก , พ.ต.หญิง ปวีณา ศรีบัวชุม ผู้ช่วยโฆษกกองทัพบก และ พ.ท.หญิง นุชระวี แจ่มจำรัส ผู้ช่วยโฆษกกองทัพบก พล.ท.สันติพงศ์ กล่าวถึงแนวทางด้านการประชาสัมพันธ์ของกองทัพบกต่อจากนี้ ว่า เป็นไปตามโครงสร้างการทำงานที่ตั้งขึ้นมา เพื่อให้มีคณะที่บอกเล่าเรื่องจริงข้อมูลให้เร็วที่สุด ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของ พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ต้องการสื่อสารกับประชาชน โดยพิจารณาให้เกิดความเหมาะสม นอกจากนี้ต้องการให้เป็นช่อทางในการนำข้อมูลต่าง […]

แจง “นิพนธ์” ยังไม่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ เว้นศาลสั่ง

ทำเนียบฯ 2 ต.ค.-  นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังไม่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ หลังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด นายนิพนธ์  เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง นายกฯ อบจ.สงขลา ไม่เซ็นเบิกจ่ายค่าซ่อมบำรุงรถ 52 ล้านบาท ให้กับเอกชนที่ได้รับการประมูล  เพราะเมื่อ ป.ป.ช.ชี้มูลแล้ว เรื่องจะต้องไปศาล โดยอัยการเป็นผู้สั่งฟ้อง  และแม้ว่าศาลรับฟ้อง ก็จะไม่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่อัตโนมัติ ต้องให้ศาลเป็นคนสั่ง “รัฐธรรมนูญปี 60 เขียนไว้ในหมวดองค์กรอิสระว่า เมื่อศาลฎีกาประทับรับฟ้อง ให้ผู้ถูกกล่าวหาหยุดปฏิบัติหน้าที่ จนกว่าจะมีคำพิพากษา เว้นแต่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ซึ่งตรงนี้จะขึ้นอยู่กับศาลเป็นคนสั่งในวันประทับฟ้อง หากศาลไม่มีคำสั่งก็ไม่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ เช่นเดียวกับคดีของนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ” นายวิษณุ กล่าว  .-สำนักข่าวไทย       

ชี้รีพับลิกันยังมีเวลาเลือกผู้สมัครใหม่แทนทรัมป์

สื่ออังกฤษระบุว่า หากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เขาอาจต้องมอบอำนาจบริหารให้แก่รองประธานาธิบดีไมค์ เพนซ์

นายกฯ ไม่แย้มหนุนใครชิงผู้ว่าฯ กทม.

นายกฯ ยังไม่แย้มหนุนใครลงชิงผู้ว่าฯ กทม. แต่ชี้ต้องเป็นคนดี ที่ทำงานได้ ไม่เอื้อประโยชน์ใคร เผยอยากบ้านเมืองสงบเรียบร้อย ผ่านโควิด-19 ไปได้

เก็บฐานข้อมูลจีโนมพืชป่าชายเลนครั้งแรกในไทย

สวทช. จับมือ ทช. ด้านการวิจัยอนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่าชายเลี่ยงที่อยู่ในความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เก็บเป็นข้อมูลสำคัญสร้างฐานข้อมูลจีโนมพืชป่าชายเลนครั้งแรกในไทย

ระบุ ป.ป.ช.ชี้มูล “นิพนธ์” ต้องพิสูจน์ในศาล

ทำเนียบฯ 2 ต.ค.-  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง นายกฯ อบจ.สงขลา ไม่เซ็นเบิกจ่ายค่าซ่อมบำรุงรถ 52 ล้านบาท ให้กับเอกชนที่ได้รับการประมูล ว่าต้องให้เป็นไปตามขั้นตอนของ ป.ป.ช.  ขอให้ไปสู้คดีกันในศาล ซึ่งนายนิพนธ์ได้เข้าชี้แจงต่อศาลแล้ว และคดีที่มีลักษณะเดียวกันนี้ก็เคยมีมาแล้ว ส่วนจะมีผลกระทบต่อตำแหน่งหรือไม่ ก็ต้องว่ากันไปตามกติกาที่มีระบุไว้  ถ้ากระทำผิดก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง  เพราะทุกอย่างต้องเป็นไปตามกระบวนการพิจารณาคดีความต่างๆ   .–สำนักข่าวไทย         

นายกฯอินเดียอวยพร ‘ทรัมป์’ หายป่วยโควิด

นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดียอวยพรประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ให้หายป่วยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 โดยเร็ว

ผบ.ทบ.ห่วงกำลังพลที่บาดเจ็บจากเหตุระเบิดสงขลา

ผบ.ทบ.ห่วงกำลังพลที่ได้รับผลกระทบจากเหตุลอบวางระเบิดที่สงขลา ย้ำดูแลสิทธิและครอบครัวให้ดีที่สุด กรณี ”พลทหาร อรรถพล” ที่เสียชีวิต ได้รับการปูนบำเหน็จเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ 7 ขั้น และขอรับพระราชทานเลื่อนยศสูงขึ้นเป็น สิบเอก

เอ็ตด้าออกประกาศรับมือมัลแวร์เรียกค่าไถ่

กรุงเทพฯ 2 ต.ค. เอ็ตด้าประกาศแนวปฏิบัติการป้องกัน รับมือ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ สำหรับหน่วยงานรัฐ นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้ากล่าวว่า อาศัยอำนาจตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 ออกประกาศสำนักงานฯ เรื่อง แนวปฏิบัติในการรับมือเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์เกี่ยวกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) สำหรับหน่วยงานรัฐ เพื่อให้หน่วยงานรัฐใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการรับมือ ป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) โดยประกาศดังกล่าวจะครอบคลุมเนื้อหารายละเอียด 2 ส่วน ส่วนแรก: มาตรการพื้นฐาน 8 เรื่องสำคัญ สำหรับเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ กรณีมัลแวร์เรียกค่าไถ่ สำหรับหน่วยงานของรัฐ การจัดทำหรือทบทวนแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงาน ให้ครอบคลุมการสำรองข้อมูล การควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายและระบบสารสนเทศ และการประเมินความเสี่ยง การสำรองข้อมูลที่สำคัญ ควรจัดทำอย่างน้อย 2 เวอร์ชัน ไว้ในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ไม่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ยกเว้นเวลาสำรองข้อมูล และในการสำรองข้อมูลแต่ละเวอร์ชันให้มีการจัดเก็บลงในอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน การทดสอบการกู้คืนข้อมูลที่สำรองเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถนำมาใช้งานได้เมื่อต้องการ การควบคุมการเข้าถึงเครือข่าย และระบบสารสนเทศแยกส่วนเครือข่าย (Network segregation) ของระบบสารสนเทศตามรูปแบบการให้บริการ เพื่อลดผลกระทบจากการแพร่กระจายมัลแวร์ผ่านเครือข่าย การทบทวนการกำหนดสิทธิการเข้าถึงเครือข่าย และระบบสารสนเทศ ตามความจำเป็นและ การแบ่งแยกหน้าที่ (need to know, least privilege, separation of duties) รวมถึงควรตั้งค่าควบคุมในลักษณะการอนุญาตให้ใช้งานตามรายการสิทธิที่กำหนดไว้เท่านั้น (whitelisting) การกำหนดให้มีการยืนยันตัวตน (authentication) ตามสิทธิในการเข้าถึงเครือข่าย และระบบสารสนเทศ โดยไม่อนุญาตให้แชร์บัญชีผู้ใช้งาน สำหรับประเมินความเสี่ยงด้านระบบสารสนเทศ ให้จัดทำหรือทบทวนทะเบียนสินทรัพย์ (inventory of asset) รวมถึงข้อมูลที่สำคัญในการให้บริการ , จัดทำหรือทบทวนแผนผังการเชื่อมต่อเครือข่าย และระบบสารสนเทศที่ให้บริการ , จัดทำข้อมูลการติดต่อสำหรับผู้ดูแลหรือผู้ให้บริการสินทรัพย์ และเครือข่ายเพื่อเตรียมความพร้อมในกรณีที่ต้องการประสานการแก้ไขปัญหาหรือรับมือสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น , ระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นสำหรับการให้บริการ เพื่อพิจารณาช่องทางสำรองสำหรับให้บริการ กรณีที่ช่องทางหลักได้รับผลกระทบ , จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการให้บริการช่องทางสำรอง การจัดเก็บบันทึกกิจกรรม (log) ไปยังพื้นที่จัดเก็บในส่วนกลางที่มีการควบคุมการเข้าถึงอย่างรัดกุม เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลดังกล่าวจะไม่ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลง โดยบันทึกกิจกรรมควรครอบคลุม โดยข้อมูลการใช้งานระบบสารสนเทศ เช่นapplication log ส่วนข้อมูลการเชื่อมต่อทางเครือข่ายหรือระบบป้องกันการโจมตีทางเครือข่าย เช่น firewall log, intrusion protection system (ips) log ข้อมูลบันทึกกิจกรรมของระบบปฏิบัติการ เช่น event log, system log, security log, audit log และการจัดเก็บข้อมูล log ควรมีระยะเวลาในการจัดเก็บที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการนำมาใช้งานภายหลัง ทั้งนี้ อาจพิจารณากำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บตามหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการโดยอนุโลม การทบทวน และยกเลิกบริการที่ไม่จำเป็นบนเครื่องให้บริการ การกำหนดเจ้าหน้าที่ประสานงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับบริหารกับระดับปฏิบัติการ เพื่อประสานงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ไปยังสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ การให้ความรู้กับผู้ใช้งานในหน่วยงานเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากการติดมัลแวร์เรียกค่าไถ่ โดยอาจใช้สื่อประชาสัมพันธ์จากเว็บไซต์ไทยเซิร์ต  นายชัยชนะ กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการเพิ่มเติมสำหรับการดูแลบริการที่สำคัญ โดยการสำรองข้อมูลในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ควรมีการเข้ารหัสลับเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์กรณีที่อุปกรณ์นั้นสูญหาย รวมถึงควรพิจารณานำอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่สำรองข้อมูลแล้วไปเก็บยังนอกพื้นที่หน่วยงาน การป้องกันการติดมัลแวร์ ให้ติดตั้งโปรแกรมตรวจจับมัลแวร์บนเครื่องให้บริการ และเครื่องผู้ใช้งาน ทำการอัปเดตซอฟต์แวร์ที่ใช้ให้บริการเป็นเวอร์ชันล่าสุด ทั้งนี้ให้ใช้ระบบป้องกันการโจมตีทางเครือข่าย เช่น intrusion protection system (ips) และตรวจจับพฤติกรรมของมัลแวร์ด้วยระบบหรือกลไกที่เหมาะสม เช่น การตรวจสอบการเชื่อมต่อทางเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังไอพีแอดเดรสหรือโดเมนของเครื่องควบคุมมัลแวร์ (command and control server) การตรวจสอบค่าแฮชของไฟล์มัลแวร์ ควรตรวจสอบความผิดปกติของรายการบัญชีผู้ใช้งาน และข้อมูลบันทึกกิจกรรม (log) อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงตรวจสอบช่องโหว่ (vulnerability assessment) ของระบบสารสนเทศ หรือซอฟต์แวร์ที่ให้บริการ อย่างสม่ำเสมอ และให้รีบแก้ไขช่องโหว่ทันทีหากพบว่าเป็นความเสี่ยงที่รุนแรง การลงทะเบียนเพื่อขอรับการสนับสนุนเกี่ยวกับข้อมูลแจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์และการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและตรวจจับภัยคุกคาม ทางอีเมล thaicert-gms@thaicert.or.th แนวทางส่วนที่สอง: แนวทางการดำเนินการรับมือสถานการณ์ กรณีหน่วยงานของรัฐพบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ตัดการเชื่อมต่อทางเครือข่าย สำหรับ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ เพื่อป้องกันการกระจายของมัลแวร์ไปยังระบบสารสนเทศอื่น ระบบสำรองข้อมูล รวมถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก เพื่อป้องกันข้อมูลสำรองถูกเข้ารหัสลับระบบสารสนเทศที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เพื่อป้องกันการกระจายของมัลแวร์ไประบบดังกล่าว การสำรองข้อมูลที่ยังใช้งานได้อยู่จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ ไปยังอุปกรณ์บันทึกข้อมูลภายนอก ซึ่งไม่ควรเป็นอุปกรณ์เดียวกับที่ใช้สำรองข้อมูลตามปกติ  นอกจากนี้หน่วยงานของรัฐควรมีการดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้ แจ้งเหตุไปยังสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และไทยเซิร์ต (ทางอีเมล report@thaicert.or.th) เปลี่ยนรหัสผ่านที่เกี่ยวข้องกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ รวมถึงรหัสผ่านที่ใช้งานผ่านระบบควบคุมบัญชีผู้ใช้งานทั้งหมด ตรวจสอบสายพันธุ์ของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ โดยอาศัยข้อมูลที่ปรากฏในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ เช่น นามสกุลของไฟล์ที่เปลี่ยนไป ข้อความที่ปรากฏบนหน้าจอในการเรียกค่าไถ่ เพื่อประเมินวิธีการแก้ไขปัญหา เช่น การกู้คืนข้อมูล ทั้งนี้หากมีความประสงค์ในการใช้เครื่องมือถอดรหัสลับข้อมูล ควรทำในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีการเชื่อมต่อทางเครือข่าย เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว-สำนักข่าวไทย.

1 202 203 204 205 206 440