ลูกพ่อขุน-อาชีวะ ประกาศจุดยืนปกป้องสถาบัน

ภาคีเครือข่ายปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ประกาศจุดยืนปกป้องสถาบัน นัดรวมตัว 31 ตุลาคมนี้ที่รามคำแหง แสดงพลังจงรักภักดี

ปัดตอบข้อเรียกร้องให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ทำเนียบฯ  21ต.ค.- พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลชาสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เดินโบกมือให้นักข่าว เมื่อถามถึงข้อเรียกร้องให้ยกเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เขตท้องที่ กทม. และว่า ให้ฟังรายละเอียดจากการแถลงศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบค.)  .- สำนักข่าวไทย 

ศาลยกคำร้องดีอีเอสปิด”Voice TV”และสื่อออนไลน์

ศาลอาญายกคำร้องดีอีเอสสั่งปิดสื่อ และยกเลิกคำสั่งเดิมที่เคยระงับการเผยแพร่ ให้เหตุผลว่าสื่อควรมีเสรีภาพในช่วงสถานการณ์ประกาศ พ.ร.กฉุกเฉิน ชี้รัฐมนตรีกระทรวงดีอีเอสข้ามขั้นตอน

พายุโซเดลเคลื่อนตัวมุ่งหน้าขึ้นฝั่งเวียดนาม

ทางการฟิลิปปินส์เผยว่า พายุโซนร้อนโซเดลเคลื่อนตัวผ่านฟิลิปปินส์แล้ว ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมและประชาชนหลายพันคนต้องอพยพออกนอกพื้นที่ และกำลังเคลื่อนตัวมุ่งหน้าขึ้นฝั่งเวียดนาม

ดับบลิวเอชเอเดินหน้ามุ่งเศรษฐกิจดิจิทัล

กรุงเทพฯ 21 ต.ค. ดับบลิวเอชเอ หนุนรัฐเร่งพัฒนา ‘เศรษฐกิจ ดิจิทัล’​ ชูจุดเด่นอุตสาหกรรมไทย นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA กล่าวระหว่างการสัมมนาในหัวข้อ “รัฐ-เอกชนพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล” ภายในงานสัมมนา “เศรษฐกิจดิจิทัล พลิกฟื้นประเทศ” จัดโดย บริษัท มติชน จำกัด(มหาชน) ว่า เศรษฐกิจดิจิทัลไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในปัจจุบันได้หยิบยกขึ้นมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งทางบริษัทฯ มองว่าเรื่องของดิจิทัลกว้างมากเพราะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยปัจจุบันสมองคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเท่ากับสมองของคนทั้งโลก แต่เมื่อมองการพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีในประเทศไทย ต้องเร่งพัฒนาภาคเกษตรที่ไม่สามารถทิ้งได้  นางสาวจรีพร กล่าวต่อว่า สินค้าเกษตรของไทยถือเป็นสินค้าหลักของประเทศ แต่จะทำอย่างไรให้สามารถส่งออกสินค้าเกษตรไปได้ทั่วโลก ต้องหันกลับมาดูว่าการพัฒนาสมาร์ทฟาร์มเมอร์สามารถตอบโจทย์เรื่องนี้ได้จริงหรือไม่เพราะไทยพึ่งพาการส่งออกกว่าร้อยละ 20 ของจีดีพี ส่วนการช่วยเหลือเรื่องภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ยังไม่สามารถช่วยเหลือได้มากนัก มองว่าถึงเวลาที่ภาครัฐต้องนำดิจิทัลเข้ามาขับเคลื่อน และภาพใหญ่ที่รัฐต้องหันมาดูแลคือเรื่องสุขภาพ (เฮลแคร์) อย่าให้เป็นแค่โครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราซัคเจอร์) ซึ่งเรื่องนี้และทุกๆ เรื่องเอกชนพร้อมประสานความร่วมมือขับเคลื่อนไปพร้อมกับภาครัฐทั้งสิ้น  นางสาวจรีพร กล่าวว่า ในอนาคตไทยต้องปรับเปลี่ยนวิธีการขับเคลื่อนประเทศ โดยต้องหันกลับมามองว่าเราจะทำให้จุดแข็งเป็นจุดแข็งตลอดกาลได้อย่างไร ซึ่งในเบื้องต้นรัฐบาลได้ดำเนินการแล้ว ทั้งในเรื่องของการเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตลงพื้นที่ต่างๆ แต่ยังติดปัญหาในเรื่องของการกระตุ้นด้านการลงทุนมองว่าที่เขตพัฒพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)​ ยังไม่เกิดขึ้น เนื่องจากรัฐคิดเรื่องผลกำไรตั้งแต่ตอนแรก ซึ่งภาครัฐควรเป็นหน่วยงานแรกที่ต้องขาดทุนก่อนโปรเจ็ค​ที่ต้องการพัฒนาถึงจะเกิด  “รัฐบาลต้องปรับเปลี่ยนการทำงาน ลดการใช้เอกสารที่เป็นรูปแบบกระดาษ เปลี่ยนมาเป็นทำข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น อีกทั้งต้องพัฒนาบุคลากรให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งตอนนี้ยังมีบุคคลที่เชี่ยวชาญจำนวนน้อยอยู่ รวมถึงต้องดูแลเรื่องค่าขนส่งโลจิสติกส์​ ซึ่งบริษัทฯ ได้เตรียมทำแพลตฟอร์มช่วยเหลือช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในเรื่องนี้เพื่อลดต้นทุนค่าขนส่งให้ถูกลง”นางสาวจรีพร กล่าว-สำนักข่าวไทย.

เกาหลีใต้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วตาย 5 คนแล้ว

ทางการเกาหลีใต้เผยว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตหลังจากฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 5 คนแล้ว จุดกระแสวิตกเรื่องความปลอดภัยของวัคซีน

สดช.เล็งเพิ่มส่วนแบ่งเทนดิจิทัลร้อยละ11

กรุงเทพฯ 21 ต.ค.สดช. ตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่ง ‘เทคโนโลยีดิจิทัล’ เป็นร้อยละ 11 หลังอันดับความสามารถแข่งขันเพิ่มขึ้น1 ระดับ นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กล่าวระหว่างการสัมมนาในหัวข้อ “รัฐ-เอกชนพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล” ภายในงานสัมมนา “เศรษฐกิจดิจิทัล พลิกฟื้นประเทศ” จัดโดย บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ว่า หน่วยงานมีภาระกิจสำคัญ ได้แก่ 1. การทำเรื่องความปลอดภัยการขับเคลื่อนดิจิทัล ผ่านโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สังคมดิจิทัล การพัฒนากำลังคน รัฐบาลด้จิทัล และการสร้างความเชื่อมั่น 2.เป็นเลขาของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมการ 5จี และ3.กองทุน ซึ่งกองทุนมีให้เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยจะเห็นว่าเรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นมานานแล้ว จึงมีหน่วยงานตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับ เพราะมองว่าไม่มีทางที่จะมีชีวิตอยู่ได้ โดยไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงเห็นการเริ่มเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน อาทิ หลายส่วนราชการพัฒนามาให้บริการผ่านระบบออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องไปรับบริการผ่านสาขาตามสถานที่ต่างๆ เท่านั้น โดยมองว่าดิจิทัลจะสร้างคุณค่าและประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับคนที่รู้เท่าทันและใช้ประโยชน์ได้ นางวรรณพร กล่าวว่า ประเทศไทยเหมาะที่จะสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นของตัวเอง มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง หรือนำมาทำให้เกิดการเชื่อมต่อกระบวนการ และทำงานได้เร็วขึ้น มองว่าการเชื่อมต่อกระบวนการเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นแต่เศรษฐกิจดิจิทัล ถือเป็นเครื่องมือที่จะทำให้เกิดรายได้มหาศาลในประเทศไทย โดยได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการ5จี ได้หารือกันในส่วนของวิธีการเดินทางของ 5จีต่อไป หลังจากมีการประมูลเรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้ให้บริการ (โอเปอร์เรเตอร์) จะต้องนำคลื่นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งความแข็งแรงของประเทศไทยอยู่ในภาคการเกษตร และเกษตรกรกว่าร้อยลั 80อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยหน่วยงานได้ร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในการประเมินกระบวนการทำงาน อาทิการทำแปลงผัก ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าพื้นที่ทั้งหมดมีแดดส่องหรือปริมาณน้ำมากในส่วนใดบ้าง จึงจะนำเทคโนโลยีเข้าไปใช้ โดยจะจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำไปพัฒนาสู่การทำปัญญาประดิษฐ์ต่อไป ซึ่งการลงทุนโครงข่าย 5จี ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องลงทุนสูง แต่รัฐก็ลงทุนและร่วมมือกับผู้ให้บริการต่อไป ซึ่งโครงการเหล่านี้แม้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำ เพราะเทคโนโลยีมีส่วนเกี่ยวข้องที่จะสามารถเพิ่มรายได้มากขี้น และลดจำนวนแรงงานคน นางวรรณพร กล่าวว่า อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย (IMD) ล่าสุดประเทศไทยมีอันดับปรับเพิ่มขึ้นมา 1 อันดับ จากอันดับที่ 40 มาอยู่ในอันดับที่ 39 ซึ่งเป็นผลจากความเร็วอินเตอร์เน็ตปรับขึ้นมาดีขึ้น เพราะมีการส่งเสริมเน็ตประชารัฐ และด้านอื่นๆ อีกจำนวนมาก ทำให้การส่งเสริมนำดิจิทัลไปใช้ในหัวเมืองต่างๆ ปรับขึ้นมาดีขึ้นกว่า8 อันดับ ทำให้เห็นว่า การทำของประเทศไทยถือว่ามาถูกทางแล้ว เพราะประเทศอื่นในสากล ให้ความยอมรับว่าประเทศไทยมีอินเตอร์เน็ตอยู่ในอันดับที่ดีขึ้น โดยในอนาคตคาดการณ์ว่า จีดีพีไทยที่แบ่งสัดส่วนมาจากเทคโนโลยีดิจิทัล ต้องเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 11 ซึ่งเป็นการประเมินในช่วงที่ยังไม่ได้เกิดการระบาดโควิด-19 แต่หลังมีการระบาดเข้ามา ก็มองว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9-10 โดยเชกเตอร์แรกที่จะนำเทคโนโลยีเข้าไปใช้มากขึ้น เป็นอุตสาหกรรมการค้า และท่องเที่ยว ตามลำดับ  “ในฐานะภาครัฐ มีการมองการพัฒนาในทุกส่วนอยู่แล้ว โดยเฉพาะรากหญ้า ซึ่งมีศูนย์ดิจิทัลชุมชนกว่า 2,200 แห่งทั้วประเทศ ในปี 2563 ได้งบประมาณมาพัฒนาศูนย์ 250 แห่ง ดูแล 3 ปี ปี 2564 อีก 250 แห่ง และปี 2565 อีก 270 แห่งเฉลี่ยจังหวัดละ 10 แห่ง โดยศูนย์ดิจิทัลชุมชนจะมีคอมพิวเตอร์ให้บริการ และมีจัดโซนสตูดิโอไว้ เพื่อให้คนในชุมชนสามารถถ่ายรูป และนำรูปประกอบการจำหน่ายสินค้าด้วย เป็นการร่วมมือกับทั้งระหว่างรัฐเองและเอกชนด้วย” นางวรรณพร กล่าว นางวรรณพร กล่าวว่า ภาครัฐพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยอุตสาหกรรมอวกาศจะต้องขยายเพิ่มเติม นอกเหนือจากดาวเทียม แต่หมายถึงดาวเทียมระพับล่าง ที่ทำเรื่องวิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดเก็บข้อมูลได้ ในส่วนของข้อมูล (เดต้า) มองว่าข้อมูลในส่วนของภาครัฐ เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญมากที่สุด โดยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา ทุกกระทรวงจะต้องจัดทำข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงจัดประเภทข้อมูลเพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะต้องถูกจัดกลุ่มว่า สามารถเปิดเผยได้ หรือเป็นข้อมูลที่เป็นความลับ ซึ่งจะต้องแยกอีกว่าเป็นความลับขั้นใด เพื่อให้จัดกลุ่มข้อมูล และใช้งานร่วมกันได้ แต่การจัดเก็บข้อมูลขะต้องมีความปลอดภัยสูงที่สุด เพื่อนำไปสู่การทำศูนย์ข้อมูล (เดต้า เซ็นเตอร์) ซึ่งขณะนี้มีต่างชาติหลายประเทศ ที่ต้องการเข้ามาทำเดต้า เซ็นเตอร์ใยประเทศไทย ซึ่งจะทำอย่างนั้นได้ จะต้องย้อนกลับไปที่คนว่าจะสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ได้หรือไม่ เพราะหากมีเทคโนโลยี มีข้อมูลแล้ว แต่ไม่สามารถใช้งานได้ ก็ไม่เกิดประโยชน์ในด้านใดบ้าง โดยปัญหาของภาครัฐคือ ในระยะเริ่มต้นจะต้องหาวิธีในการทำให้ข้อมูลที่มีทั้งหมดใช้งานร่วมกันได้ให้ได้ก่อน เพื่อไม่ให้แหล่งการเก็บข้อมูลกลายเป็นสุสานข้อมูลในอนาคต-สำนักข่าวไทย.

ซีกรุ๊ปหนุนรัฐเข้าเศรษฐกิจดิจิทัล

กรุงเทพฯ 21 ต.ค. ซีกรุ๊ปขอเป็นส่วนช่วยเร่งให้ประเทศไทยมี ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ เกิดเร็วขึ้น นางสาวมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea Group (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการ การีน่า (Garena) แอร์เพย์ (Airpay) และช้อปปี้ (Shopee) กล่าวระหว่างการสัมมนาในหัวข้อ “รัฐ-เอกชนพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล” ภายในงานสัมมนา “เศรษฐกิจดิจิทัล พลิกฟื้นประเทศ” จัดโดย บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ว่า เศรษฐกิจจิทัล เป็นวาระการประชุมระดับโลก (global agenda) ซึ่งจะเห็นว่าหลายประเทศให้ความสำคัญ และเรื่องนี้อยู่กับเรามานานมากแล้ว แต่อาจไม่ได้มีความเข้าใจดีเท่าที่ควร จนมีการแพร่ระบาดโควิด-19 เข้ามาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ เพื่อให้เห็นความสำคัญของดิจิทัล ว่ามีความสำคัญมากเท่าใด โดยในแง่ของประเทศไทย เศรษฐกิจดิจิทัลมีการพูดถึงมานานแล้ว และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ มองว่ามีความเหมือนกันตรงที่คนไทยมีความพร้อม เรื่มมีความรู้ความเข้าใจ และเล็งเห็นความสำคัญ ในการเริ่มประเมินว่าจะนำดิจิทัลเข้ามาพัฒนาในแง่องค์กร หรือในแง่อุตสาหกรรมได้อย่างไรบ้าง ซึ่งเชื่อว่าหลายประเทศก็เห็นตรงนี้เช่นกัน แต่มีความแตกต่างกันในส่วนของความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรัคเจอร์) เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ไม่เท่ากัน รวมถึงการสนับสนุนและผลักดันของรัฐบาลก็มีความแตกต่างกัน รวมถึงจุดขายและจุดเด่นของแต่ละประเทศก็แตกต่างกัน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และประเทศท่องเที่ยว ทำให้ต้องมองว่า ต้องหาวิธีในการนำเทคโนโลยีเข้ามาผูกกับอุตสาหกรรมที่เป็นจุดเด่นของประเทศไทย เพื่อผลักดันให้เกิดประโยชน์ในแง่ของภาพรวม ซึ่งทุกประเทศจะแตกต่างกันในจุดนี้ “บริษัทฯ ได้มีการสำรวจความคิดเห็นในกลุ่มเยาวชนและกลุ่มคนรุ่นใหม่ พบว่า ผู้ที่ไม่เคยสั่งอาหารออนไลน์ก็หันมาสั่งอาหารออนไลน์ร้อยละ 35 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ไอแพด หรือแท็ปเล็ต เพิ่มขึ้นเฉลี่ยกว่าร้อยละ 40 โดยมีการสำรวจว่า พฤติกรรมดังกล่าวจะเกิดขึ้นในระยะสั้นหรือไม่ ซึ่งพบว่าจากผลสำรวจกว่าร้อยละ 86 ของผู้ตอบแบบสอบถาม บอกว่าแม้จะผ่านช่วงล็อกดาวน์ หรือพ้นการระบาดโควิด-19 แล้ว แต่พฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ หรือการอยู่ในโลกออนไลน์ จะยังคงดำเนินการและใช้งานอยู่ตามปกติ สะท้อนให้เห็นว่าคนบางส่วนมีความพร้อมในการขยับเข้าไปสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งจะเห็นว่าเทคโนโลยีดิจิทัลที่พูดถึงกันตอนนี้ เป็นเรื่องที่ต้องมี และทุกคนต้องทำ ไม่ใช่เป็นเรื่องความสวยงามหรือหรูหราอีกต่อไป” นางสาวมณีรัตน์ กล่าว นางสาวมณีรัตน์ กล่าวว่า การจะไปให้ถึงดิจิทัลเนชั่นได้ มีความท้าทายอยู่ 2 เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่ 1.การหาวิธีทำให้การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล มีความเท่าเทียมกันในทุกบุคคล ไม่ใช่เพียงคนกลุ่มเมืองเท่านั้น แต่สำหรับกลุ่มคนที่อยู่อาศัยในต่างจังหวัด หรือในพื้นที่ห่างไกล ต้องหาวิธีทำให้กลุ่มคนเหล่านี้เข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น ถือเป็นเกมที่มีความท้าทายมาก และ 2.การหาวิธีทำให้คนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านั้น สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด มองว่ากลุ่มคนต้องการเห็นความท้ายทายเหล่านี้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงระบบการศึกษา และตัวบุคคล ที่จะต้องร่วมมือกันในการหาวิธี ทำให้ความท้าทายเหล่านี้กลายเป็นจริงให้ได้ ในฐานะที่บริษัทฯ เป็นแพลตฟอร์มให้บริการสินค้าอินเตอร์เน็ต ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นส่วนช่วยผลักดันหรือเป็นหนึ่งในตัวเร่งได้ อาทิช้อปปี้ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ จะหาวิธีทำให้คนค้าขายสินค้าออฟไลน์ ปรับมาขายสินค้าออนไลน์ได้เพิ่มเติม โดยที่ผ่านมาได้ร่วมงานกับไปรษณีย์ไทย และกระทรวงดีอีเอส ในการจัดทำแคมเปญเพื่อกระตุ้น และช่วยเหลือผู้ขายสินค้า ให้สามารถขายสินค้าได้ในต้นทุนที่ถูกลง ส่วนผู้ที่ยังไม่เคยขายสินค้าออนไลน์ ก็จะเข้าไปให้องค์ความรู้ และฝึกฝนให้สามารถขายสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มที่มีได้ นางสาวมณีรัตน์ กล่าวว่า นอกจากนี้ สนับสนุนกลุ่มเกษตรกร และผู้ขายในต่างจังหวัดต่างๆ จะหาวิธีในการนำกลุ่มคนเหล่านี้ เข้ามาขายสินค้าในโลกออนไลน์เพิ่มเติม สิ่งที่เร็วที่สุดและทำได้ในวงกว้างมากที่สุดคือ การร่วมมือกับภาครัฐอาทิ การร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้นำสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ปลูกหรือผลิตเอง มาขายผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ตั้งเป้าหมายในปี 2563 จะฝึกทักษะเกษตรกรให้ได้ 1,000 ราย และสามารถนำสินค้าต่างๆ มาขายบนช้อปปี้ได้ โดยหากเทียบประเทศไทยกับต่างชาติ อาทิ อินโดนีเซีย ถือเป็นประเทศที่ต้องยกเป็นกรณีศึกษา เพราะมีประชากรในประเทศกว่า 250 ล้านคน ถือเป็นตลาดที่ใหญ่ จึงมีความน่าสนใจอยู่แล้ว แต่หากเทียบกับประเทศที่แข่งขันกับไทยอย่างชัดเจน คือ เวียดนาม แม้จะมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น แต่ยังมีบางด้านที่ล่าช้ากว่าไทย ประเทศไทยจึงยังมีความน่าสนใจอยู่มาก ประกอบกับคนไทยก็มีลักษณะพร้อมเรียนรู้ มีการตอบรับรวดเร็ว ชอบก็คือชอบ ไม่ชอบก็คือไม่ชอบ องคก์กรส่วนใหญ่จึงอยากเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย “เมื่อสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีแล้ว จะทำอย่างให้สามารถใช้งานเป็น เรื่องการพัฒนาทักษะดิจิทัล และการสร้างความคุ้นชิน เป็นเรื่องที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญมาก เพราะต้องการเป็นส่วนช่วยผลักดันให้มีการสร้างบุคคลที่มีทักษะดิจิทัลเกิดขี้นกว่า 10 ล้านคนภายใน 10 ปี ซึ่งในแง่ของการสร้างทักษะดิจิทัล เพื่อสร้างอาชีพ บริษัทฯ ก็ทำงานร่วมงานกับสถาบันการศึกษา 7 แห่งในประเทศไทย เพื่อเพิ่มความรู้ให้กับนักศึกษาที่จะจบมา สามารถได้เรียนรู้งานจริงตั้งแต่การเรียน เพื่อให้จบมาแล้วมีความพร้อมในการทำงานทันที ซึ่งมองว่าเป็นหลักที่จะช่วยสร้างบุคลากร เพื่อสนับสนุนแรงงานในโลกธุรกิจ” นางสาวมณีรัตน์ กล่าว-สำนักข่าวไทย.

ปณท.เดินทำแพลตฟอร์มตู้แดง

กรุงเทพฯ 21 ต.ค. ไปรษณีย์ไทยลั่นเชื่อมโลกการสื่อสาร ลุยแพลตฟอร์มตู้แดงแรงฤทธิ์ยกระดับการจัดส่งดูแลประชาชน นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) กล่าวระหว่างการสัมมนาในหัวข้อ“รัฐ-เอกชนพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล” ภายในงานสัมมนา “เศรษฐกิจดิจิทัล พลิกฟื้นประเทศ” จัดโดย บริษัท มติชน จำกัด(มหาชน) ว่า คนไทยยังไม่มีการเข้าถึงเทคโนโลยีมากนัก วัดได้จากการส่งอีเมล์มีเพียงร้อยละ 15เท่านั้น  ในเรื่องนี้ ปณท จึงได้เข้าเป็นตัวเชื่อมระหว่างโลกเก่า หรือการสื่อสารที่จับต้องได้ และโลกใหม่ หรืออิเล็กทรอนิกส์เมลล์ที่มีการยืนยันการส่งที่ชัดเจน ปัจจุบันหลายฝ่ายอาจมองว่า ปณท หันมาส่งวัสดุที่เป็นกล่องเยอะ เพราะไม่อยากให้ค่าแสตมป์ 3 บาทแพง แต่เนื้อแท้ ปณท อยู่ทั่วประเทศ จึงมียุทธสาตร์ที่รู้ว่าประชาชนอยู่ตรงไหนบ้าง ซึ่งถือเป็นทักษะพิเศษที่ ปณท มีและสามารถปรับเปลี่ยนเข้าสู่โลกดิจิทัลได้ นายก่อกิจ กล่าวว่า ปณท เชื่อมต่อการขนส่งทั่วประเทศ การดำเนินงานในช่วงโควิด-19 ปณท ได้ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรให้ส่งของถึงหน้าบ้าน ถึงแม้จะไม่มีกำไรแต่ก็ต้องช่วยกันในภาวะเช่นนี้ แต่สิ่งที่คนอาจลืมไป ปณท ยังขายแสตมป์ ที่สามารถยืนยันการส่งจดหมายได้ในกรณีมีการฟ้องร้องสามารถใช้ยืนยันได้ในชั้นศาล เพราะปณท อยู่ในสหภาพไปรษณีย์ระหว่างประเทศ หรือยูพียู เป็นบุคคลที่ 3 ที่สามารถยืนยันข้อมูลให้ได้ ซึ่งเนื้อแท้ของไปรษณีย์ไทยเป็นคนกลางที่เชื่อมการสื่อสารทั้งแบบที่จับต้องได้ และการสื่อสารผ่านเทคโนโลยี โดยปัจจุบัน ปณท ได้ทำระบบจัดการเอกสารดิจิทัล (ทีดีเอช) ผ่านแพลตฟอร์ม ตู้แดงแรงฤทธิ์ ที่นำเทคโนโลยีมาพัฒนาการให้บริการทดแทนการจัดส่งแบบเดิม เพื่อบริการที่มีคุณภาพและมีความยั่งยืนในอนาคต ซึ่งขณะนี้ ได้จ้างที่ปรึกษาเข้ามาดำเนินการแล้ว  นายก่อกิจ กล่าวต่อว่า จากข้อมูลของ คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) แสดงให้เห็นว่ามีประชน กว่าร้อยละ 85 ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงการส่งเมลแบบอิเล็กทรอนิกส์เมลไม่ได้ ดังนั้น ปณท ยังต้องเป็นตัวเชื่อมในเรื่องของการสื่อสารของทั้งระบบออนไลน์ และออฟไลน์อยู่ เพื่อให้แน่ใจว่าการสื่อสารไม่ขาดตอน ถือเป็นนิยามใหม่ของไปรษณีย์ไทย หากเอกชนอยากจะเข้าต้องจ่ายเงินเข้ามาไม่สามารถเข้ามาดึงข้อมูลแบบฟรีๆ ได้ ทั้งนี้ หากในกรณีคนรับอีเมล ไม่อ่านเกิน 3 วัน ไปรษณีย์ไทยจะปริ้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลไปส่งถึงบ้าน และยืนยันว่าไม่มีการเปิดอ่านก่อนผู้รับ ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับการส่งจดหมายตามปกติ นายก่อกิจ กล่าวว่า การขับเคลื่อนหลังจากนี้ ปณท มีบริษัทลูก คือ บริษัท ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด ที่มีลักษณะการทำงานแบบจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง จึงได้จัดทำแพลตฟอร์มระวางว่าง ที่เปรียบเหมือนตลาดกลางในการขนส่งสินค้าโดยให้ใช้ฟรี แต่ถ้าต้องการให้ไปรษณีย์ไทยดูแลเพิ่มเติม จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หรือเรียกว่ารูปแบบพรีเมียม ซึ่งหัวใจหลักของระวางว่างคือช่วยกลุ่มคนตัวเล็กให้มีรายได้เพิ่มเติมจากการขนส่งสินค้าข้ามจังหวัด โดยเพิ่มรายได้ในส่วนขากลลับที่ปกติจะตีรถเปล่ากลับให้สามารถขนส่งสินค้ากลับมาด้วยได้ และช่วยให้คนซื้อมีโอกาสได้เลือกการขนส่งที่มีราคาที่ถูกลงอีกด้วย ซึ่งโครงการดังกล่าวจัดทำหลักการเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หากผ่านการอนุมัติจะเสนอขอเงินกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(กองทุนดีอี) ต่อไป-สำนักข่าวไทย.

อินเดียเตรียมออกกระดาษตรวจโควิดรู้ผลเร็วและราคาถูก

อินเดียกำลังจะมีกระดาษตรวจโควิด-19 ที่รู้ผลเร็วและราคาถูก พร้อมให้บริการทั่วประเทศเร็ว ๆ นี้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะช่วยพลิกสถานการณ์การระบาดในประเทศได้

นายกฯ ร่วมน้อมรำลึก สมเด็จย่า

นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานศาลฏีกา ครม.และคู่สมรส ร่วมกิจกรรมน้อมรำลึกสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 120 ปี คล้ายวันพระราชสมภพ

1 138 139 140 141 142 440