ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : ROMANCE SCAM ? — ภัยร้ายลวงใจ ในยุคดิจิทัล

7 มกราคม 2567  สิ่งนี้… เป็นภัยการหลอกลวงที่ใช้ความรัก เป็นเครื่องมือและสิ่งนี้… เคยเป็นคดีที่สร้างความเสียหายกว่า 190 ล้านบาทมาแล้ว คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ Romance Scam คือ การหลอกให้หลงรัก ใช้ความรักความเชื่อใจหรือความหวังของเหยื่อเพื่อแสวงหาประโยชน์ กลวิธีของมิจฉาชีพแก๊งโรแมนซ์สแกม มีดังนี้ Romance Scam หรือการหลอกให้รักออนไลน์ ใช้ความรัก ความเชื่อใจ หรือความอ่อนไหวของเป้าหมาย หลอกลวงเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ ดังนั้นเมื่อเริ่มต้นความสัมพันธ์กับใคร โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ อย่าลืมฉุกคิดว่าเราอาจไม่ได้กำลังเป็นที่รัก แต่อาจตกอยู่ในกับดักของมิจฉาชีพก็เป็นได้ สัมภาษณ์เมื่อ : 28 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยงเรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ใบมะละกอ กับ การรักษามะเร็ง

7 มกราคม 2567 – จริง ๆ แล้ว ใบมะละกอ มีสรรพคุณในการรักษามะเร็งหรือไม่ มีข้อเท็จจริงใดอีกบ้าง ที่ผู้ป่วยมีสิทธิรับรู้ก่อนตัดสินใจลอง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร  และ ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใบมะละกอ กับ การรักษามะเร็ง จากข้อมูลในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุแน่ชัดว่า น้ำต้มใบมะละกอนั้น รักษามะเร็งระยะสุดท้ายได้จริงหรือไม่ บางรายงานก็พบว่า น้ำต้มใบมะละกอ อาจมีฤทธิ์การต้านมะเร็ง แต่เวลานี้ก็ยังไม่มีการศึกษาในคน ภญ.ดร.ผกากรอง กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นโรคที่มีความซับซ้อน หากไปดูข้อมูลผู้ป่วยที่ใช้ใบมะละกอ มีการกินปริมาณไม่เข้มข้นมาก ในตัวมะละกอก็จะมีสรรพคุณความเป็นอาหารอยู่ แต่ก็ยังมีข้อห้ามใช้ หรือข้อควรระวังในคนบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องตับ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็ก เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม กินไปแล้วก็ต้องติดตาม ที่สำคัญคือไม่ควรไปปักใจเชื่อวิธีการใดวิธีการหนึ่งมันจะดี เพราะเรายังไม่มีข้อมูลมาก ส่วนคนที่ออกมาให้ข้อมูลในคลิปที่มีการแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียว่าใช้จริง และหายจริงนั้น มีการให้ข้อมูลว่าตัวเขาใช้ หลังจากแพทย์ไม่ได้ทำการรักษาโรคแล้ว จึงมากินใบมะละกอ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปัญหาโรคตาในเด็ก

4 มกราคม 2567 – ปัญหาโรคตา หรือภาวะดวงตาผิดปกติที่เกิดขึ้นในเด็กมีอะไรบ้าง และเราจะป้องกันหรือรักษาได้อย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ปัญหาโรคตาในเด็ก มีอะไรบ้าง ? โรคตาในเด็ก ช่วงวัยที่ 1 (วัยแรกเกิด – ก่อนเริ่มเดินได้) -โรคตาที่ผิดปกติแต่กำเนิด ส่วนมากผิดปกติจากกล้ามเนื้อตา ดังนั้นผู้ปกครองต้องคอยสังเกตว่ามีภาวะขอบล่างของเปลือกตาบน อยู่ต่ำกว่าตำแหน่งปกติ หรือลงมาปิดตาดำมากกว่าปกติหรือไม่ -จอประสาทตาผิดปกติ สาเหตุหนึ่งมาจากภาวะผิดปกติจากการคลอดก่อนกำหนด โรคตาในเด็ก ช่วงวัยที่ 2 (อายุประมาณ 3-12 ปี) -ตาเข ตาเหล่ มีสาเหตุเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น ผลกระทบจากภาวะสายตาผิดปกติ ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เด็กที่มีภาวะสายตายาว จะเกิดการเพ่งเมื่อใช้สายตา จะมีภาวะตาเขเข้าในตามมา ส่วนเด็กภาวะสายตาสั้นหรือเอียงนั้น จะมีภาวะตาเขออกนอก นอกจากนี้ อีกสาเหตุที่อาจทำให้เกิดภาวะตาเข ตาเหล่ ส่วนหนึ่งเกิดจากการไม่สมดุลของกล้ามเนื้อควบคุมดวงตาทั้งสองข้างด้วย -สายตาผิดปกติ  ปัจจุบันพบเด็กช่วงปฐมวัยมีภาวะสายตาผิดปกเพิ่มมากขึ้น สาเหตุเกิดจากกรรมพันธุ์ และพฤติกรรมการใช้สายตาของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไป […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : ตอนพิเศษ รวมเรื่องฮิต ที่สุดแห่งปี 2566 ชัวร์ก่อนแชร์ LINE

3 มกราคม 2567 – เริ่มต้นปี 2567 ชัวร์ก่อนแชร์จึงขอรวบรวม 5 อันดับ ประเด็นฮิต ที่มีคนถามเข้ามามากที่สุดใน แพลตฟอร์ม Line ของชัวร์ก่อนแชร์เมื่อปีที่แล้วมาฝากกัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม หลักสูตรพิษวิทยาฯ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ผศ.ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.ครรชิต จุดประสงค์ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สาเหตุที่ทำให้น้ำมันเครื่องหาย จริงหรือ ?

2 มกราคม 2567 – ตามที่มีการแชร์ สาเหตุที่ทำให้น้ำมันเครื่องหายไปจากเครื่องยนต์ เช่น ซีลหน้าและหลังเครื่องรั่ว เสื่อมสภาพ และ เครื่องยนต์เกิดอาการหลวมนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ น้ำมันเครื่องหาย อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น 1.ซีลหน้าและหลังเครื่องรั่ว ✅ ซีลยางต่าง ๆ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันน้ำมันเครื่องไม่ให้รั่วและน้ำมันเครื่องหยด ใต้ท้องรถ แต่หากเกิดการเสื่อมสภาพหรือชำรุด ก็อาจจะมีน้ำมันเครื่องหยดลงที่พื้นตรงจุดที่จอดรถเป็นประจำ 2.ประเก็นอ่างน้ำมันเครื่อง และประเก็นฝาครอบวาล์วรั่ว ✅ ประเก็นใช้เพื่อป้องกันการรั่วไหลของของเหลว อากาศ แก๊ส ที่อยู่ภายในชิ้นส่วนเหล่านี้จะมีชีลที่เป็นยาง เมื่อใช้ไปจะมีการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน ปริ แตก ร้าว และรั่วซึมออกมา 3.เครื่องยนต์หลวม แหวนลูกสูบ เสื้อสูบสึกหรอ ✅ หากแหวนลูกสูบ เสื้อสูบ ลูกสูบ เสื่อมสภาพ หรือหลวม ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างลูกสูบ กับกระบอกสูบ แหวนกวาดน้ำมันไม่สามารถกวาดน้ำมันกลับไปที่อ่างน้ำมันเครื่องได้ทั้งหมด ทำให้มีน้ำมันเครื่องหลุดลอดเข้าไปในห้องเผาไหม้ได้ 4.ใช้น้ำมันเครื่องที่ไม่มีคุณภาพ ✅ ทำให้ความสามารถในการหล่อลื่น การทนความร้อน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ แห่งปี 2566

31 ธันวาคม 2566 – ร่วมย้อนทบทวน 2566 ปีที่ภัยไซเบอร์เติบโตแพร่กระจาย ปีที่ “ข่าวปลอม” ยังไม่สูญหาย แต่วนเวียนและเกิดใหม่ ปีที่ยืนยันได้ว่า คนไทย ยังจำเป็นต้องเสริมภูมิป้องกันภัย นี่คือ ชัวร์ก่อนแชร์ แห่งปี 2566 ผู้ให้สัมภาษณ์ : Sam Gregory Executive Director, WITNESS.ORG สัมภาษณ์เมื่อ : 3 ธันวาคม 2566 เรียบเรียงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ อัปสกิล-สกัด-สแกม : 7 ทักษะ “ต้องสงสัย”

1 มกราคม 2567 – รอดพ้น แคล้วคลาด ภัยไซเบอร์ และสแกมเมอร์ทั้งหลาย ต่อไปนี้คือ 7 สกิล “ต้องสงสัย” ที่ควรมีไว้ในปี 2567 UPSKILL หมายถึง การยกระดับทักษะที่มีอยู่ ให้ทันกับความจำเป็นในปัจจุบันและอนาคต “อัปสกิล-สกัด-สแกม (UPSKILL KILL SCAM)” ซีรีส์พิเศษจาก ชัวร์ก่อนแชร์ เพื่อร่วมยกระดับทักษะคนไทย ให้เท่าทันกลอุบายใหม่ ๆ ของมิจฉาชีพและภัยไซเบอร์ในปัจจุบันและอนาคต รวบรวม-เรียบเรียงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : คำเตือนโควิด (2567) จาก “นายแพทย์ประสิทธิ์” (ของแท้)

“นพ.ประสิทธิ์” ตอบทุกข้อสงสัย รับปีใหม่ 2567 อัปเดตสถานการณ์โควิด – รู้จัก JN.1 สายพันธุ์ใหม่ ต้องกังวลแค่ไหน – ยังต้องฉีดวัคซีนกันหรือไม่ – หากติดโควิดต้องทำอย่างไร ? 29 ธันวาคม 2566 – “ยาเขียวรักษาโควิด” นายแพทย์ประสิทธิ์ ไม่ได้กล่าวไว้ หรือที่เตือนว่า “ด่วน ด่วน ด่วน ให้ประชาชนล็อกดาวน์” ก็เป็นข้อมูลสุดเก่าตั้งแต่ไม่กี่เดือนแรกของการระบาดเมื่อปี 2564 แถมยังพ่วงด้วยสารพัดข้อมูลที่แนะนำผิด ๆ แต่ ! สิ่งที่ท่านกำลังจะได้ฟังต่อไปนี้ โปรดฟังให้ดี นี่คือ คำเตือนโควิด ฉบับต้นปี 2567 โดย นายแพทย์ประสิทธิ์ ของแท้! ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ “โควิด-19” รับปีใหม่ 2567 ธรรมชาติของโคโรน่าไวรัส (โควิด-19) จะอยู่กับโลกนี้ไปอีกนาน เพราะไวรัสตัวนี้กลายพันธุ์ตลอดเวลา […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : หุ่นยนต์ช่วยฝึกเดิน

28 ธันวาคม 2566 – เมื่อมีเหตุที่ทำให้ต้องฝึกเดินอีกครั้ง การฟื้นฟูร่างกายโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยฝึกเดิน เหมาะกับผู้ป่วยลักษณะใดบ้าง และคาดหวังผลการรักษาได้มากเพียงใด ศูนย​์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.มณฑลี สุทธิธรรม แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลธนบุรี หมายเหตุ: เนื้อหานี้นำเสนอข้อเท็จจริงตามกรอบมาตรฐานของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์โดยได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลธนบุรี สัมภาษณ์เมื่อ : 20 ธันวาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : ตอนพิเศษ รวมเรื่องฮิต ที่สุดแห่งปี 2566 ชัวร์ก่อนแชร์ YouTube

27 ธันวาคม 2566 – เข้าสู่เทศกาลส่งท้ายปี 2566 ชัวร์ก่อนแชร์จึงขอรวมคลิปที่สุดแห่งปี ที่มียอดผู้รับชมสูงสุดบนแพลตฟอร์ม YouTube ของเรามาฝากกัน …จะมีเรื่องใดบ้าง เชิญรับชม

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 6 เทคนิคเตรียมรถ EV เดินทางไกล จริงหรือ ?

26 ธันวาคม 2566 – บนสังคมออนไลน์แชร์ 6 ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพื่อเดินทางไกลในช่วงเทศกาล เช่น ตรวจสภาพอุปกรณ์ต่าง ๆ และ วางแผนจุดชาร์จ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 18 ธันวาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

เจาะลึก ประโยชน์ของ Generative AI| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

 24 ธันวาคม 2566 Generative Ai มีประโยชน์กับเราอย่างไร และจะพัฒนาการใช้ชีวิตของมนุษย์ให้สะดวกมากขึ้นแค่ไหน ติดตามได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

1 15 16 17 18 19 46