พิธีบวงสรวงคันไถในงานพระราชพิธีพืชมงคลฯ 2567

กรุงเทพฯ 18 เม.ย.- กรมส่งเสริมการเกษตรจัดพิธีบวงสรวงคันไถเพื่อความเป็นสิริมงคล สำหรับใช้ในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2567


นายประยูร​ อินสกุล​ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในพิธีบวงสรวงคันไถซึ่งใช้ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญประจำปี 2567

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะคณะทำงานฝ่ายจัดเตรียมคันไถได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ทำหน้าที่จัดเก็บ ดูแล รักษาคันไถที่ใช้ในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญให้มีสภาพดี มีสง่า พร้อมใช้งาน และจัดเตรียมคันไถเข้าร่วมในวันซ้อมย่อย วันซ้อมใหญ่ และวันงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2567 โดยในช่วงเดือนเมษายนก่อนงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญของทุกปี กรมส่งเสริมการเกษตรจะซ่อมแซม ปรับปรุงคันไถให้มีสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานและจัดพิธีบวงสรวงคันไถ เพื่อความเป็นสิริมงคลและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน โดยในปีนี้กำหนดจัดพิธีบวงสรวงขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2567 เวลา 07.00 – 10.00 น. ณ บริเวณปะรำพิธีอาคารเก็บรักษาคันไถ กรมส่งเสริมการเกษตร โดยมีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนาเป็นประธานในพิธี


สำหรับคันไถที่ใช้ประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปัจจุบัน ได้รับการสร้างขึ้นเมื่อปี 2539 โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีซึ่งน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมสร้างถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีชุดองค์ประกอบได้แก่ คันไถ แอกเทียมพระโค ฐานรอง และธงสามชาย

ในอดีตคันไถเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมดินก่อนปลูกข้าว ใช้แรงงานสัตว์ เช่น โค กระบือ ในการขับเคลื่อน ซึ่งถูกนำมาใช้ประกอบพิธีไถหว่านในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญทุกปี โดยพระราชพิธีฯ มีมาแต่โบราณตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีจนกระทั่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีพิธีสงฆ์ เรียกว่า “พระราชพิธีพืชมงคล” ร่วมด้วย จึงทำให้พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีพระราชพิธีพืชมงคลรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ซึ่งพระราชพิธีฯ นี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ราษฎรในการทำนา เป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญแก่เกษตรกร 

ในปีนี้สำนักพระราชวังได้กำหนดวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 9 – 10 พฤษภาคม 2567โดยในวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2567 เป็นวันสวดมนต์เริ่มการพระราชพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์ ประกอบพระราชพิธี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ในพระบรมมหาราชวัง และวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2567 เป็นวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) อันเป็นพิธีพราหมณ์ ประกอบพระราชพิธี ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง


ผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนาคือ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยในปี พ.ศ. 2567 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่พระยาแรกนา ผู้ที่มาทำหน้าที่เป็นเทพีทั้งหาบทองและหาบเงินนั้น จะมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกเทพีในแต่ละปี ซึ่งจะดูที่ความเหมาะสมต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยที่เป็นทางการคือ พิจารณาคัดเลือกจากบรรดาข้าราชการหญิงโสดเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทขึ้นไป ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แล้ว  ส่วนที่ไม่เป็นทางการ คือ อายุพอสมควร สุขภาพดี ส่วนสูงพอเหมาะหรือสูงใกล้เคียงกัน

ในปีนี้ เทพีคู่หาบทองได้แก่ นางสาวปนัดดา เปี่ยมมอญ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนางสาวภัทรปภา มินรินทร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ นางสาวธิรดา วงษ์กุดเลาะ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร และนางสาววราภรณ์ วิลัยมาตย์ เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน กรมวิชาการเกษตร

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคลนี้ เป็น “วันเกษตรกร” ประจำปี เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรพึงระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมมือกันประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาชีพของตน ทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศชาติ จึงได้จัดงานวันเกษตรกรควบคู่ไปกับงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตลอดมา โดยในปี พ.ศ. 2567 เกษตรกรและบุคคลากรทางการเกษตรดีเด่นแห่งชาติ สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ที่ผ่านการคัดเลือกได้รับรางวัลและยกย่องประกาศเกียรติคุณ พร้อมทั้งเผยแพร่ผลงานให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จักและยึดถือเป็นแบบอย่างในแนวทางการปฏิบัติ โดยจะเข้ารับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณในประเภทต่างๆ ดังนี้

เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ 16 สาขาอาชีพ

1) อาชีพทำนา ได้แก่ นางทองเม็ด พรมพิทักษ์ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์

2) อาชีพทำสวน ได้แก่ นายประดับ ปิ่นนาค อ.เมืองอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์

3) อาชีพทำไร่ ได้แก่ นายสุริยา ห่วงถวิล อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี

4) อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ นางอัญชัน สุขจันทร์ อ.สังขะ จ.สุรินทร์

5) อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้แก่ นายพินิจ แก้วพิมาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

6) อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายสัมฤทธิ์ อินทร์เฉลียว อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี

7) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นายสุชาติ ปิยะศิรินนท์ อ.ดอนตูม จ.นครปฐม

8) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ได้แก่ นายณัฏฐชัย นาคเกษม อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช

9) อาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ ได้แก่ นายธีรุตม์ อนวัชศิริวงศ์ อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา

10) อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นายสุมิตร ศรีวิสุทธิ์ อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช

11) สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ นางอวยพร ราชเล็ก อ.กงหรา ต.พัทลุง

12) สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ นายสนิท ดำบรรณ์ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

13) สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช ได้แก่ นายแล โพธิ์วัด อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร

14) สาขาเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ เรืออากาศตรีบัญชา เพ็ชรรักษ์ อ.เมืองสิงห์บุรี จ.สิงห์บุรี

15) ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ นายนพธิไกร จอมภาปิน อ.ลอง จ.แพร่

16) สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ เด็กหญิงรัตนกานต์ นวลจันทร์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ 12 กลุ่ม

            1) กลุ่มเกษตรกรทำนา ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านตอนิมิตร อ.สูงเม่น จ.แพร่

            2) กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำสวนยางพาราบ้านคำข่า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

            3) กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรโคเนื้อไทย เขาชัยสน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

            4) กลุ่มเกษตรกรทำประมง หรือกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ กลุ่มประมงพื้นบ้านไหนหนัง อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่

            5) กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทุ่งรวงทอง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง

6) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าพุเตย อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์

            7) กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านเหล่า (รัฐราษฎร์บำรุง) อ.ลอง จ.แพร่

            8) กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสามัคคีพันธุ์ข้าว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

            9) สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี

            10) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภท ข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชน อ.เถิน จ.ลำปาง

            11) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภท ข้าวอื่น ๆ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโพธิ์เจริญ อ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท

12) วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์จังหวัดอำนาจเจริญ อ.เมืองอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ

สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ 7 สหกรณ์

                                    1) สหกรณ์การเกษตร ได้แก่ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ เชียงใหม่ – ลำพูน จำกัด อ.หางดง จ.เชียงใหม่

                                    2) สหกรณ์โคนม ได้แก่ สหกรณ์โคนมท่าหลวง จำกัด ที่ทำการสหกรณ์ อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี

                                    3) สหกรณ์ผู้ผลิตยางพารา ได้แก่ สหกรณ์กองทุนสวนยางเอราวัณพัฒนา จำกัด อ.เอราวัณ จ.เลย

                                    4) สหกรณ์ผู้ใช้น้ำ ได้แก่ สหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านท้ายวัดพญาปันแดน จำกัด อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

                                    5) สหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขลำพูน จำกัด อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน

                                    6) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ได้แก่ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคุรุสภาอำเภอเมืองเชียงใหม่ จำกัด อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

                                    7) สหกรณ์ร้านค้า ได้แก่ ร้านสหกรณ์โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จำกัด อ.เมืองนครศรีธรรมราช

                                        จ.นครศรีธรรมราช

ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน 3 สาขา

                                    1) สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ นายวินิจ ถิตย์ผาด อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์         

                                    2) สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ได้แก่ นายพิบูลย์ชัย ชวนชื่อ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร

                                    3) สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ได้แก่ นายอัษฏางค์ สีหาราช อ.​ พิชัย จ.​อุตรดิตถ์

ทั้งนี้ เกษตรกร สถาบันเกษตรกร สหกรณ์ และปราชญ์เกษตรฯ ทั้งหมด จะเข้ารับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณในวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ณ พลับพลาที่ประทับ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง.- 512 – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ป.ป.ส. เร่งสกัดลักลอบส่งกัญชาไปอังกฤษ ฝึกเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานไทยตรวจค้นกัญชา

ป.ป.ส. เร่งสกัดลักลอบส่งกัญชาไปอังกฤษ ฝึกเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานไทยตรวจค้นกัญชา

พปชร. ขับ 20 สส.ก๊วนธรรมนัส​ ยันไม่มีข้อแลกเปลี่ยน

พปชร. ขับ 20 สส.ก๊วน​ผู้กองธรรมนัส​ พ้นพรรค​ อ้าง อุดมการณ์ไม่ตรงกัน​ ยันจากกันด้วยดี​ ไม่มีข้อแลกเปลี่ยนกับคดีคนใกล้ชิด​ “ลุงป้อม” ถูกกล่าวหา​ ภูนับดาว​ เตรียมเสนอที่ประชุมร่วม​กก.บห.-สส. ลงมติพรุ่งนี้

ผู้เสียหายร้องกองปราบฯ หวั่นไม่ปลอดภัย ถูก สส.พรรคใหญ่ ขับรถตามถึงหน้าบ้าน

ผู้เสียหายร้องกองปราบฯ หวั่นความปลอดภัย ถูก สส.ปทุมธานี พรรคใหญ่ ขับรถติดตามผู้เสียหายถึงหมู่บ้าน หลังโดนผู้เสียหายขับรถแซงเพราะคู่กรณีขับรถช้าแช่ขวา

ปิดพื้นที่เสี่ยง! หลังช้างป่าทำร้ายนักท่องเที่ยวบนภูกระดึงดับ 1

อธิบดีกรมอุทยานฯ สั่งปิดพื้นที่เสี่ยง เส้นทางน้ำตกเพ็ญพบใหม่ หลังช้างป่าทำร้ายนักท่องเที่ยว บนภูกระดึง เสียชีวิต 1 ราย พร้อมตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและช่วยเหลือครอบครัวเต็มที่

ข่าวแนะนำ

ศาลไม่ให้ประกันตัว “โกทร” กับพวก คุมทั้งหมดส่งเรือนจำนครนายก

“โกทร” ปฏิเสธสั่งฆ่า “สจ.โต้ง” ลูกบุญธรรม พร้อมต่อว่าสื่อมวลชนตั้งคำถามบ้าบอ จะฆ่าทำไมรักเหมือนลูก ที่ผ่านมาช่วยเหลือมาตลอด ก่อนถูกตำรวจนำตัวไปฝากครั้ง ด้าน สจ.จอย ยื่นคำร้องคัดค้านการประกันตัว

“แพทองธาร” เปิดสัมมนาเพื่อไทย ขอร่วมมือไม่แบ่งขั้ว-อายุ

“แพทองธาร” เปิดสัมมนาเพื่อไทย บอกเป็นนิมิตหมายที่ดีมีนายกฯ มา 3 คน ขอ สส.ร่วมมือกัน ไม่แบ่งขั้ว-อายุ ยอมรับ 3 เดือนที่ผ่านมาโฟกัสงานรัฐบาล สัญญาจะปรับปรุงแบ่งเวลาให้ สส.-สภา

“บิ๊กอ้อ” เชื่อยิงดับ “สจ.โต้ง” มีการวางแผนล็อกเป้าล่วงหน้า

“บิ๊กอ้อ” ฟันธงหลังพา 3 ผู้ต้องหา ชี้จุดบ้านเกิดเหตุยิง “สจ.โต้ง” เสียชีวิต เชื่อมีการวางแผน ล็อกเป้าล่วงหน้า สั่งเพิ่มข้อหาหนัก “ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน”

นักท่องเที่ยวเกือบ 900 ชีวิต ทยอยลงจากยอดภูกระดึง

เช้านี้นักท่องเที่ยวทยอยลงจากยอด “ภูกระดึง” หลังเหตุสลดช้างป่าทำร้ายนักท่องเที่ยวเสียชีวิต และอุทยานฯ ประกาศปิดชั่วคราว