เปิดปฏิบัติการฝนหลวงปี 67

นครสวรรค์ 29 ก.พ. – รมว. ธรรมนัสและรมช. ไชยาเปิดปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปี 2567 ย้ำนโยบายแก้ภัยแล้ง ลดฝุ่น PM2.5 ไฟป่าหมอกควัน รวมทั้งยับยั้ง พายุลูกเห็บ


ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในพิธีเปิดปฏิบัติการฝนหลวงประจำปี 2567 ณ บริเวณโรงเก็บเครื่องบิน 7 สนามบินนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์โดยมีนายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมในพิธี ทั้งนี้ได้มีปล่อยคาราวานเครื่องบินฝนหลวงออกปฏิบัติการไปประจำการแต่ละหน่วยทั่วประเทศ ซึ่งแสดงถึงความพร้อมของหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงทุกหน่วยที่จะออกปฏิบัติการฝนหลวงประจำปีนี้แล้ว

ร้อยเอกธรรมนัสกล่าวว่า จากสถานการณ์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยต่อภาคการเกษตรในปัจจุบัน รวมทั้งปัญหาหมอกควันและไฟป่า ปัญหาการเกิดพายุลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ปัญหาการขาดแคลนน้ำในการอุปโภค บริโภคและการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้มอบหมายให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จัดทำแผนปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปี 2567 จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 10 หน่วยปฏิบัติการทั่วประเทศ โดยได้น้อมนำศาสตร์ตำราฝนหลวงพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินการป้องกันและบรรเทาช่วยเหลือความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยพิบัติดังกล่าว 


นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2567 นี้ มีแผนปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้ง และสร้างความชุ่มชื้นให้กับป่าไม้ การเติมน้ำต้นทุนให้กับอ่างเก็บน้ำและเขื่อนต่างๆ ของประเทศ ป้องกันการเกิดไฟป่าและบรรเทาปัญหาหมอกควัน ยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ รวมทั้งสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน กรมฝนหลวงฯ มีแผนในการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศทั้ง 77 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 16 หน่วย 

โดยตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงประจำ 5 ภูมิภาค 7 ศูนย์และปรับแผนในการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงในเดือนมีนาคม และเมษายน 2567 จำนวน 7 หน่วย 

ส่วนกาศยานที่ใช้ในการปฏิบัติการรวม 30 ลำได้แก่ อากาศยานของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร 24 ลำ อากาศยานที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอากาศ 6 ลำ 


พื้นที่หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงมีดังนี้

1. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนบน

   – หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่ 

2. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง 

   – หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดแพร่ 

3. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง 

   – หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดกาญจนบุรี 

4. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

   – หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดอุดรธานี

5. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง  

   – หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครราชสีมา

6. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก

   – หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดจันทบุรี 

7. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้

   – หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

นอกจากนี้จัดตั้งฐานเติมสารฝนหลวง 4 แห่งที่จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดระยอง 

ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา กรมฝนหลวงฯ ได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดระยอง และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ช่วยเหลือพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้เพื่อบรรเทาป้องกันการเกิดไฟป่า ปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองนาดเล็ก PM2.5 และเติมน้ำต้นทุนให้กับอ่างเก็บน้ำ ในส่วนพื้นที่ภาคเหนือ ได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่ 

ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2567 ช่วยเหลือบรรเทาปัญหาหมอกควัน ไฟป่า และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 บริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ภายใต้การบูรณาการร่วมกันระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ และยังคงติดตามสถานการณ์สภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปวางแผนในการปฏิบัติการฝนหลวง

แผนการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง อาจมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของสภาพภูมิอากาศและพื้นที่ที่มีความต้องการน้ำของประเทศไทย เพื่อให้การปฏิบัติการฝนหลวงเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของ

กรมฝนหลวงฯ และขอรับบริการฝนหลวง ได้ตามช่องทางดังนี้ หมายเลขโทรศัพท์ 02-109-5100 ต่อ 410 หรือช่องทางเพจ Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร, Instagram, Tiktok, Twitter : @drraa_pr และศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงทั้ง 7 ศูนย์ทั่วประเทศ.-512-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ยอดตายแผ่นดินไหวเมียนมา

แผ่นดินไหวเมียนมา ตายเพิ่มเป็นกว่า 2 พันราย

ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 7.7 ทางภาคกลางของเมียนมาเมื่อวันศุกร์พุ่งทะลุ 2 พันราย ขณะที่ชาวบ้านในเมืองมัณฑะเลย์ ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว