กรมชลฯ แจง น้ำท่วมกทม.-ปทุมธานี จากฝนตกหนัก ไม่ใช่จากระบายน้ำเหนือ

กรุงเทพฯ 13 ก.ย.- กรมชลประทานเผยถึงสาเหตุน้ำท่วมในพื้นที่กทม. และปทุมธานีมาจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ ไม่ใช่การระบายน้ำเหนือผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ย้ำการรับน้ำเข้าระบบชลประทาน 2 ฝั่งเหนือเขื่อนเจ้าพระยาทำในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อทุ่ง 2 ฝั่งซึ่งมีฝนตกหนักเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะลุ่มน้ำท่าจีน มีน้ำที่ระบายจากทุ่งสองพี่น้องและบางปลาม้าลงสู่แม่น้ำท่าจีนเป็นปริมาณมาก ทำให้เอ่อท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรบริเวณที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ


นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า น้ำเหนือที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นทำให้ต้องระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาทเพิ่มให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำฝน-น้ำท่า ในการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมชลประทานใช้เขื่อนเจ้าพระยาเป็นเครื่องมือหลักในการหน่วงและระบายตามสถานการณ์ที่เหมาะสม ขณะที่น้ำส่วนเกินเร่งระบายออกทะเลตามที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ยืนยันว่า แม้จะมีฝนตกลงมาเพิ่มในช่วงปลายฤดูฝน รวมถึงอาจมีพายุ ตามที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) และกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย 2 ลูกในเดือนกันยายนถึงตุลาคม แต่ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยาคือ เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์ยังสามารถรับน้ำได้อีก 10,651 ล้านลูกบาศก์เมตร


ส่วนที่มีกระแสวิจารณ์ในโซเชียลมีเดียว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่ 4 เขื่อนมีไม่มาก ส่งผลให้ปริมาณน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาไม่มากเหมือนปีก่อนๆ แต่เหตุใดกรมชลประทานปล่อยน้ำลงคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ไม่แบ่งน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางฝั่งตะวันตกให้เข้าสู่แม่น้ำท่าจีน จึงทำให้มีน้ำท่วมขังในจังหวัดปทุมธานี กรมชลประทานยืนยันว่า น้ำที่ท่วมขังในจังหวัดปทุมธานีไม่ได้เกิดจากการระบายน้ำเหนือจากเขื่อนเจ้าพระยาลงมา แต่เพราะมีฝนตกหนักบริเวณลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเฉพาะในจังหวัดปทุมธานีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันและในวันที่ 8 กันยายน ฝนตกหนักในจังหวัดปทุมธานีมากที่สุดในประเทศไทย ปริมาณฝน 24 ชั่งโมงที่วัดได้ที่สถานีประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์มากถึง 157 มิลลิเมตร ปริมาณฝนที่มากกว่า 100 มิลลิเมตรถือเป็นฝนตกหนักในเกณฑ์ที่จะส่งผลต่อการระบายน้ำ หากรวมปริมาณฝน 3 วันมากกว่า 300 มิลลิเมตร ส่งผลให้ระดับน้ำในคลองรังสิตประยูรศักดิ์สูงเกินระดับวิกฤติ เช่นเดียวกับในกรุงเทพฯ ที่ฝนตกหนักจนทำให้ระดับน้ำในคลองหลายๆ สายสูงเกินระดับวิกฤติ

ทั้งนี้แม่น้ำท่าจีนรับน้ำจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านประตูระบายน้ำพลเทพ จังหวัดชัยนาท บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตรา 20 ลบ.ม./วินาที แต่ที่ลุ่มน้ำท่าจีนมีฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้ระบายออกท้ายประตูระบายน้ำโพธิ์พระยาผ่านอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 175 ลบ.ม./วินาที แล้วมีน้ำที่ระบายออกจากทุ่งสองพี่น้องและบางปลาม้าจากฝนที่ตกลงมาไหลมารวมเป็น 320 ลบ.ม./วินาที ทำให้ปัจจุบันระดับน้ำท้ายประตูระบายน้ำโพธิ์พระยาอยู่ที่ 5.18 ม.รทก. ซึ่งเกินระดับควบคุมที่ 4.50 ม.รทก. น้ำจึงเอ่อท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ

ส่วนการรับน้ำเข้าสู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา รับผ่านประตูระบายน้ำมโนรมย์เข้าสู่คลองชัยนาท-ป่าสัก รับเพียง 41 ลบ.ม./วินาที แล้วไหลต่อไปยังแม่น้ำป่าสัก จากนั้นไหลผ่านประตูระบายน้ำพระนารายณ์สู่คลองระพีพัฒน์ตามลำดับ โดยกรมชลประทานควบคุมไม่ให้น้ำไหลต่อไปยังคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ด้วยการระบายผ่านประตูระบายน้ำพระศรีศิลป์และพระศรีเสาวภาคในอัตรา 3-5 ลบ.ม./วินาทีเท่านั้น


พร้อมกันนี้ยังย้ำถึงการผันน้ำเหนือเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำ 11 ทุ่งตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนของกอนช. ว่า เมื่อเกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว จะเตรียมพื้นที่ให้พร้อม แต่จะดำเนินการเป็นมาตรการสุดท้าย เนื่องจากการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้วยการใช้เขื่อนเจ้าพระยาเป็นเครื่องมือหน่วงและระบายน้ำเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ส่วนการระบายผ่านลำน้ำหลักเป็นเส้นทางที่สามารถระบายน้ำออกทะเลได้เร็วที่สุด แต่ขอให้ประชาชนในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างยังไม่ต้องเป็นกังวลเพราะกรมชลประทานจะควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาไม่เกิน 3,500 ลบ.ม./วินาทีซึ่งปัจจุบันอยู่ที่  2,374 ลบ.ม./วินาที โดยปริมาณน้ำที่ไม่เกินเกณฑ์ 3,500 ลบ.ม./วินาทีจะไม่เกิดผลกระทบต่อกทม. และปริมณฑล

ส่วนที่กอนช. และกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์การเกิดพายุว่า ได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ โดยสั่งการให้โครงการชลประทานในพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่อยู่ตามเแนวร่องฝนและที่มีแนวโน้มว่า จะได้รับอิทธิพลจากพายุ โดยต้องบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำแบบพลวัต (Dinamic Operation Curve) ซึ่งต้องสอดคล้องกับการคาดการณ์ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเนื่องจากต้องคำนึงการการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งด้วย

นายประพิศย้ำว่า การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำต่างๆ ทั่วประเทศ ต้องเป็นไปตามแนวทาง “ต้นเก็บ-กลางหน่วง-ปลายระบาย” คือ ต้นน้ำต้องเก็บน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำ กลางน้ำต้องหน่วงน้ำเพื่อไม่ให้น้ำเหนือไหลลงสู่ตอนล่างอย่างรวดเร็วเกินไปจนทำให้เกิดน้ำท่วม และปลายน้ำต้องเร่งระบายน้ำและพร่องน้ำในลำน้ำเพื่อรองรับน้ำจากพื้นที่ตอนบน

ดังนั้นในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เขื่อนหลัก 4 เขื่อนซึ่งอยู่ต้นน้ำทำหน้าที่เก็บกักน้ำ กลางน้ำมีเขื่อนเจ้าพระยาทำหน้าที่หน่วงน้ำ ขณะเดียวกันดำเนินทุกมาตรการเร่งระบายน้ำช่วงปลายน้ำออกสู่ทะเลได้แก่ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มที่สถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำต่างๆ ที่มีจุดเชื่อมต่อกับพื้นที่กทม. และปริมณฑลเสริมเพื่อเสริมศักยภาพ ที่คลองประเวศบุรีรมย์ บริเวณทางน้ำเข้า ด้านหน้าสถานีท่าถั่วจะขุดขยายเพื่อช่วยชักน้ำด้านเหนือน้ำให้เข้าสถานีสูบน้ำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นซึ่งจะทำให้น้ำที่ระบายจากกทม. ลงสู่คลองประเวศน์บุรีรมย์ระบายออกสู่แม่น้ำบางปะกงได้เร็ว ส่วนคลองชายทะเลพร่องน้ำให้ต่ำกว่าเกณฑ์ควบคุมเพื่อรอรับน้ำที่ระบายลงมา แล้วใช้สถานีสูบน้ำบริเวณแนวคลองชายทะเล  9 แห่งที่มีศักยภาพการระบายน้ำรวมกันประมาณ 22.18 ล้านลบ.ม./วันเร่งระบายน้ำออก พร้อมให้เปิด-ปิดประตูระบายน้ำตามจังหวะการขึ้น-ลงของน้ำทะเล โดยอาศัยจังหวะที่น้ำทะเลลง เปิดบานระบายให้น้ำไหลได้สะดวก

นอกจากนี้ยังสนับสนุนเครื่องจักร-เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ และเครื่องผลักดันน้ำเข้าช่วยเหลือทุกพื้นที่เพื่อลดกระทบของประชาชน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ “ธัญพร มุ่งเจริญพร” เข้าป้าย

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ ลุ้นกันจนนาทีสุดท้าย “ธัญพร มุ่งเจริญพร” พลิกชนะ “พรชัย มุ่งเจริญพร” แชมป์เก่าแบบขาดลอย คว้าเก้าอี้มาครอง นั่งนายก อบจ.หญิงคนแรกของจังหวัด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าคึกคัก

ภาพรวมการใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าค่อนข้างคึกคัก มีประชาชนทยอยใช้สิทธิต่อเนื่อง ยังไม่มีรายงานการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ปชช.ตื่นตัวใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ท่ามกลางสายฝน

ชาวนครศรีธรรมราช ตื่นตัวออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ. ท่ามกลางสายฝน กกต.เผยภาพรวมครึ่งวันเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่มีรายงานการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ช้างป่ายกโขลงประชิดหมู่บ้าน ไล่ระทึกทั้งคืน

ไล่ระทึกกันทั้งคืน ช้างป่ายกโขลงบุกประชิดหมู่บ้านตลิ่งชัน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ออกหากินผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้าน