“พล.อ.ประวิตร” ห่วงชาวไทยริมน้ำโขงรับผลกระทบจากเขื่อน สปป.ลาว

ทำเนียบรัฐบาล 3 ส.ค.- “พล.อ.ประวิตร” ห่วงเขื่อนสานะ กระทบคนไทยริมโขง กำชับเข้ม วิเคราะห์ลึกทุกประเด็น ก่อนเสนอท่าทีต่อ สปป.ลาว


วันนี้ (3 ส.ค. 63) เวลา 10.00 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ครั้งที่ 2/2563 ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล

พล.อ.ประวิตร กล่าวในที่ประชุมว่า วันนี้ได้ร่วมกันหารือถึงแนวทางและท่าทีของฝ่ายไทย กรณีการก่อสร้างโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำสานะคาม ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว ที่คาดการณ์ว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในปีนี้ ซึ่งปัจจุบันโครงการฯ ได้เข้าสู่กระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าของประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ตามระเบียบปฏิบัติ เรื่อง การแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้าและข้อตกลง (PNPCA) แล้ว เมื่อวันที่ 30 ก.ค. ที่ผ่านมา เพื่อให้ประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขงได้มีการหารือ ศึกษา วิเคราะห์ และให้ข้อเสนอแนะ ประเด็นข้อห่วงกังวล มาตรการ และแนวทางร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลไทยมีความห่วงใยต่อผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องด้วยที่ตั้งของเขื่อนสานะคามอยู่ใกล้ชายแดนไทยมาก คือมีระยะห่างเพียง 2 กิโลเมตร เท่านั้น ที่ประชุมจึงมีมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์อย่างรอบด้านและให้ความสำคัญเชิงลึกกับทุกประเด็นทางเทคนิค อาทิ ด้านอุทกวิทยาและชลศาสตร์ ตะกอนและสัณฐานแม่น้ำ ประมงและสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยเขื่อน การเดินเรือ และเศรษฐกิจสังคม โดยเฉพาะเรื่องเขื่อนพิบัติ และการใช้งานเขื่อน เป็นต้น


ขณะเดียวกันยังได้เน้นย้ำถึงการดำเนินกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า และการผลักดันประเด็นข้อคิดเห็นและข้อห่วงกังวลของผู้มีส่วนได้เสียจาก 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขงนั้น ต้องได้รับการสนับสนุนในด้านนโยบายจากรัฐบาล และมีการบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินการ โดยเฉพาะกระทรวงพลังงานที่จะต้องนำประเด็นผลกระทบข้ามพรมแดนไปพิจารณาเป็นเงื่อนไขในการดำเนินการซื้อขายไฟฟ้าด้วย เพื่อให้เกิดกลไกในการป้องกัน ลด และบรรเทาผลกระทบข้ามพรมแดนอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งให้เร่งสร้างการรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ภาคประชาชน โดยเห็นชอบให้มีการจัดเวทีให้ข้อมูลในพื้นที่จังหวัดริมแม่น้ำโขงจำนวน 4 ครั้ง แบ่งเป็น ครั้งที่ 1 ประมาณกลางเดือนสิงหาคมนี้ที่ จ.เลย ครั้งที่ 2 ในเดือนตุลาคม จ.บึงกาฬ ครั้งที่ 3 เดือนธันวาคม จ.มุกดาหาร และครั้งสุดท้ายในเดือนมกราคม จ.เลย หรือจ.หนองคาย ซึ่งจะมีการพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้งเพื่อให้เกิดความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยจะมีการเชิญผู้แทน สปป.ลาว เพื่อมาให้ข้อมูลและตอบคำถามภาคประชาชนด้วย อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตามกระบวนการต่าง ๆ ตามแผนงาน (Roadmap) จะมีการยืดหยุ่นระยะเวลาเพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบันด้วย โดยต้องเอื้อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริงให้ได้มากที่สุด

พล.อ.ประวิตร กล่าววต่อว่า ที่ประชุมยังได้เห็นชอบในหลักการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการระหว่างไทยและสปป.ลาว เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านอุตุ-อุทกวิทยา การบริหารจัดการอาคารประกอบ หรือเขื่อนตอนบนในลุ่มน้ำโขงที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำตอนล่างและส่งผลถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงได้ทันเวลา ซึ่งไทยยังสามารถใช้กลไกนี้ในการให้ความช่วยเหลือ สปป.ลาว ในด้านการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคลและถ่ายทอดองค์ความรู้วิชาการด้านทรัพยากรน้ำอีกด้วย โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่าง 2 ประเทศ และยกระดับความร่วมมือจากระดับหน่วยงานเป็นระดับรัฐบาล โดยให้มีผลผูกพันตามข้อตกลง รวมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น ให้การสนับสนุนเพื่อให้ความร่วมมือดังกล่าวแล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อที่จะใช้เป็นกลไกในการบริหารจัดการน้ำและลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนริมน้ำโขงอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ

ด้าน ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช. เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมยังได้ร่วมรับทราบผลการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนในปี 2562 ซึ่ง สทนช. ได้มีการศึกษาและติดตามตรวจสอบ โดยเน้นการเผยแพร่ผลการศึกษาที่ผ่านมาแก่ภาคประชาชน และมีการอบรมเครือข่ายประชาชน 8 จังหวัด ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเก็บรวบรวมข้อมูล เรื่องการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง รูปแบบการดำรงชีวิตและความเปราะบางของประชาชน และการปรับตัวของประชาชน ทั้งนี้ ภาคประชาชนมีการเสนอโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย และโครงการอนุรักษ์พันธุ์ปลาและพันธุ์พืชในแม่น้ำโขงเพื่อบรรเทาปัญหา โดยที่ประชุมได้ให้ สทนช. ร่วมกับกรมประมงดำเนินโครงการนำร่อง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายและสนับสนุนการปรับตัวของประชาชน รวมทั้งให้ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางขับเคลื่อนแผนการรับมือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน ทั้งระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

วิเคราะห์การเมืองสนามใหญ่ หลังศึกเลือกตั้งนายก อบจ.

วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 4 สนามใหญ่ โดยเฉพาะอุดรธานี ที่สะท้อนถึงความนิยมในตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

“บิ๊กเต่า” ลั่นเตรียมมอบกุญแจมือเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนดัง ส่งนอนห้องขัง

“บิ๊กเต่า” ลั่นเตรียมมอบ “กุญแจมือ” เป็นของขวัญปีใหม่ให้อินฟลูฯ นักร้อง คนดัง ส่งนอนห้องขังวีไอพี เผยปม “ฟิล์ม รัฐภูมิ” คาดมีความชัดเจนภายในสัปดาห์นี้

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง