กรุงเทพ 23 ส.ค.- นักวิชาการ ย้ำ การเปิดบริการทางเลือกคนข้ามเพศ คลินิกแทนเจอรีน ช่วยลดปัญหาการรับฮอร์โมนในคนข้ามเพศ ป้องกันโรคและการติดเชื้อไม่พึงประสงค์
ศ.กิตติคุณนพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผอ. ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ Mr.Aaron Schubert Director of Office of Public Health, RDMA เปิดการประชุมเสวนาระหว่างผู้ให้บริการทางด้านสุขภาพแก่คนข้ามเพศกับผู้นำชุมชนคนข้ามเพศ
โดยพบว่า ปัญหาการเหยียดเพศ ทำให้เกิดปัญหาการละเลยการดูแล สุขภาพ เกิดการเลือกปฏิบัติ ซึ่งในปัจจุบันต้องยอมรับ ขณะนี้มีเพศทางเลือกมากถึง 7 เพศด้วย และที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ คือกลุ่ม LGBT เลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กส์ชัวร์ และทรานส์ ข้ามเพศ ซึ่งพบว่าคนกลุ่มนี้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีมากถึง 49 เท่า ในคนปกติ หลังจากที่คลินิแทนเจอรีนได้เปิดให้บริการกับคนข้ามเพศนานกว่า 9 เดือน ทำให้ช่วยป้องกัน และทำให้คนข้ามเพศได้รับบริการมากขึ้น
พญ.นิตยา ภานะภาค พึ่งพาพงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานป้องกัน ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวว่าการให้บริการคลินิกแทนเจอรีนมีความแตกต่างกับการให้บริการคลินิกคนข้ามเพศทั่วไป โดยจะมีการให้บริการการฉีดฮอร์โมนกับคนข้ามเพศด้วย เพื่อเป็นการป้องกันการรับบริการฮอร์โมนที่เกิดขนาด และยังป้องกันการมั่วเข็มเสี่ยงการติดเชื้อ โดยพบว่า โรคที่จะมีการติดในคนข้ามเพศจากเข็มมีทั้ง เอชไอวี ตับอักเสบบีและซี และยังป้องกันผลข้างเคียงจากการรับฮอร์โมน ที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันได้
พญ.นิตยา กล่าวด้วยว่า ในกลุ่มข้ามเพศหญิง เป็นชาย มักพบปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์ติดเชื้อในช่องคลอด มีหนองติดเชื้อ ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มคนเหล่านี้จะไม่กล้าเดินเข้าไปรับบริการที่หน่วยสูตินรี เช่นเดียวกันกับกลุ่มชาย ข้ามเพศเป็นหญิง ก็จะมีปัญหาเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก มีหูด และเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง และจากข้อมูลการให้บริการในคลินิกแทนเจอรีนพบว่า ร้อยละ 15 เป็นหญิงข้ามเพศเป็นชาย และร้อยละ 5-7 มีคนต่างชาติมาขอรับบริการด้วย –สำนักข่าวไทย