ตึกช้าง 24 ส.ค.- หลายหน่วยงานด้านพลังงานแจงความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่ม ขณะที่มูลนิธิพลังงานแนะให้ทบทวนพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า เพื่อวางแผนสร้างโรงไฟฟ้าและผลิตพลังงานอื่นได้แม่นยำ กกพ.แนะเร่งออกมาตรการบังคับทำอย่างจริงจัง
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดเสวนา เรื่อง “ไฟฟ้าไทย อย่างไรจะลงตัว” นายวีระพล จิระประดิษฐกุล กรรมการกิจการพลังงาน กล่าวว่า การพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าเร่ิมซับซ้อนมากขึ้น อุตสาหกรรมขนาดใหญ่เร่ิมปรับการใช้ไฟฟ้าลดลง เร่ิมผลิตไฟฟ้าใช้เอง จึงนำตัวเลขนอกระบบดังกล่าวเหล่านี้มาคำนวณเพิ่มเติม แม้แต่รายเล็กยังเร่ิมผลิตไฟฟ้าใช้เองเช่นกัน ยอมรับการพยากรณ์ความต้องการใช้พลังงานจึงต้องปรับปรุง และต้องหันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น จึงต้องหลักดันให้การผลิตไฟฟ้าจากแหล่งอื่น มีสเถียรภาพเหมือนกับการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า กฟผ. เพื่อเป็นแหล่งส่งให้ กฟผ.ได้ต่อเนื่องตลอดเวลา ทั้งพลังงงานจากชีวมวลและแห่งอื่น และมีความเป็นแห่งการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ซึ่งเร่ิมใช้พลังงานไฟฟ้าสูงขึ้น
ยอมรับว่า เป็นห่วง เรื่องการประหยัดพลังงานอย่างจริงจัง ด้วยการออกมาตรการบังคับกับหน่วยงานรัฐและเอกชน เพราะมาตรการประหยัดเบอร์ 5 ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องจากการใช้ไฟ้ฟ้าจะสอดคล้องกับจีดีพี โดยช่วง 10 ปีท่ีผ่านมา หากจีดีพีขยายตัวร้อยละ 10 ความต้องการใช้ไฟ้าจะขยายตัวร้อยละ 11-13 แต่ปีที่ผ่านมาการใช้ไฟฟ้ากลับเติบโตถึงร้อยละ 32 นับว่าสูงมาก อาจเนื่องจากค่าไฟ้ฟ้าถูกหรือปัจจัยอื่น จึงต้องนำมาตรการบังคับออกมาใช้อย่างจริงจัง ต้องเดินหน้าให้ได้ตามแผน PDP เห็นว่าคืบหน้าไปมากน่าพอใจ โดยยังเป็นห่วงการพัฒนาระบบสายส่งเพื่อคลอบคลุมทั่วประเทศ และต้องส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าส่งให้ กฟผ.แบบคอนเฟิร์มเพื่อส่งให้อย่างต่อเนื่อง การคิดค่าไฟฟ้าต้องให้สะท้อนต้นทุนการผลิต ปัจจุบันราคา 3.20 บาทต่อหน่วย อีกทั้งต้องสื่อให้ประชาชนรับทราบว่า การใช้พลังงานทดแทนทั้งแอลพีจีและเอ็นจีวี ช่วงแรกเมื่อรัฐบาลอุดหนุน รถยนต์เชื้องเพลิงดังกล่าวจะเติบโต ขณะนี้ได้ลดการอุดหนุนแล้ว
อุตสาหกรรมดังกล่าวจึงเร่ิมนิ่ง จึงต้องการให้การใช้รถยนต์ไฟฟ้าซึ่งกำลังส่งเสริมได้ดูบทเรียนดังกล่าวด้วยเช่นกัน
นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการกิจการสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ยอมรับว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาได้ใช้มาตรการประหยัดไฟเบอร์ 5 ได้ส่งเสริมการลดใช้ไฟฟ้า 4,500 เมกกะวัตต์ เป็นเงิน 137,000 ล้านบาท ขณะที่ผ่าน PDP ได้มีมาตรการประหยัดพลังงานผ่าน 6 มาตรการ ต้องลดการใช้ไฟฟ้าให้ได้ 10,000 เมกกะวัตต์ จึงเป็นการบ้านที่หนักพอสมควรและต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมกัน
โดย กฟผ.มีแผนลงทุนทั้งการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ การสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนโรงเดิมที่หมดอายุ และการวางระบบสายส่งกระจายทั่วประเทศ ต้องใช้เงินลงทุน 2 ล้านล้านบาทในช่วง 10 ปีข้างหน้า ภายในปี 2567 จะมีระบบสายส่งขนาด 500 KW กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ รองรับการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั้งโซล่าเซลล์ กังหันลม พลังงานหมุนเวียน เกิดขึ้นมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และขยายสายส่งรองรับการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน รองรับนโยบายรัฐในการกระจายพลังงานไปยังแหล่งอื่นเพิ่มเติม
แผนกระจายพลังงานไปยังพลังานอื่น โดยเพิ่มการผลิตพลังงานถ่านหินจากร้อยละ 18 เพิ่มเป็นร้อยละ 20-25 หากเกิดขึ้นไม่ได้ ต้องนำเข้า LNG อาจทำให้ค่าไฟฟ้าแพงเพราะต้นทุนแพงขึ้น ขณะที่พลังงานถ่านหินมีราคาถูกว่าและยังมีสตอกการผลิตไฟฟ้าได้นานนับร้อยปี ขณะที่การเพิ่มสัดส่วนพลังงานนิวเคลียร์ร้อยละ 5 ต้องเร่ิมสร้างความทเข้าใจกับประชาชนเร่ิมตั้งแต่ในปัจจุบัน เพื่อชี้แจงเหตุผลในการสร้างโรงไฟฟ้า และหากรับซื้อกระแสไฟฟ้าจากมาเลเซียมีภาระต้นทุนซื้อ 3.8,5,8 บาทต่อหน่วย นับว่าสูงกว่าการผลิตในประเทศที่ราคา 3 บาทต่อหน่วย ยอมรับว่าความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าในภาคใต้ขยายตัวร้อยละ 5-6 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในระดับร้อยละ 3 ภายในปี 2577 ต้องมีโรงไฟฟ้าขนาด 1,000 เมกกะวัตต์ และหากโรงไฟฟ้าเทพา จ.สงขลา เกิดขึ้นไม่ได้ รัฐบาลต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น นำมาชดเชยภาระดังกล่าว
นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า จากแผนพลังงาน
PDP 2015 ได้สอบถามประชาชนมาแล้ว 6 รอบ ต่างเห็นชอบให้กระจายการใช้พลังงานไปยังประเภทต่างๆมากขึ้นจากเดิมเน้นการพึ่งพาเอ็นจีวีมากสุด จึงต้องการกระจายไปยังพลังงานอื่นเพิ่มขึ้น ด้วยการเพิ่มแหล่งพลังงานจากถ่านหินจากร้อยละ 20 เพิ่มเป็นร้อยละ 25 ในปี 69 นับว่าไม่สูงมากนัก การเพิ่มพลังงานหมุนเวียนจากขยะร้อยละ 8 เพิ่มเป็นร้อย
ละ 10-20 ในปี 69 การรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านจากร้อยละ 7 เพิ่มเป็นร้อยละ 10-15 ด้วยการลดพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากร้อยละ 64 ลดเหลือร้อยละ 45-50 ยอมรับว่าหากต้องปรับการพยากรณ์ความต้องการใช้พลังงาน ต้องปรับเป็นรายภาคให้มากขึ้น เนื่องจากภาคใต้มีความต้องการใช้ไฟ้ฟ้าสูง จึงต้องกระจายให้การผลิตไฟฟ้ามีความหลากหลาย เนื่องจากเป็นพื้นที่มีความเป็นห่วงมาก เพราะความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคใต้ขยายตัวร้อยละ 5-6 การใช้พลังงานที่ลงตัวมากที่สุด ต้องเป็นส่ิงประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับได้ และรัฐบาลทำตามเงื่อนไขเวทีสากล และต้องสร้างความั่นคงในราคาสังคมยอมรับได้
นายสุวัฒน์ กมลพนัส รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสหากรรมมีสัดส่วนร้อยละ 44 ของการใช้ไฟฟ้าทั้งระบบ และขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมเร่ิมปรับตัวลดต้นทุน เพราะอุตสหากรรมบางแห่งเปิดทำงานในช่วงกลางคืน จึงทำให้การพีคเปลี่ยนไปอยู่ในช่วงกลางคืน อีกทั้งตัวเลขการใช้ไฟฟ้าของ กฟน.ขยายตัวร้อยละ 6.3 นับว่าเป็นระดับปกติ ขณะที่ กฟภ.กลับเติบโตขยายตัวร้อละ 6.8 เนื่องจากเศรษฐกิจหัวเมืองใหญ่ขยายตัวมากขึ้น โดยภาคอุตสาหกรรมจะใช้ไฟฟ้าสอดคล้องกับจีดีพีของประเทศ
นางสุวพร ศิริคุณ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิพลังงานเพื่อส่ิงแวดล้อม กล่าวว่า เสนอแนะให้กระทรวงพลังงานทบทวนการพยากรณ์ความต้องการใช้พลังงานจากแผน PDP 2015 เพราะขณะนี้มีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นจากหลายแหล่ง เช่น การใช้รถยนต์ไฟฟ้า และการพัฒนาระบบสายส่งยังมีปัญหาจากการต่อต้านของชาวบ้านเจ้าของพื้นที่ เนื่องจากระบบสายส่งทำให้ที่ดินมีราคาลดลงไม่เหมือนกับการตัดถนน เพราะในหลายประเทศได้ทบทวนการพยากรณ์ความต้องการใช้พลังงานหลายครั้ง และมองว่าค่าไฟ้ฟ้าถูกแพงไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่รัฐบาลต้องบริหารจัดการให้ไฟฟ้ามีใช้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ และคำนวณค่าไฟฟ้าให้เหมาะสม และอยากเห็นมาตรการประหยัดพลังงานซึ่งทำแล้วได้ผลเห็นด้วยกับมาตรการบังคับกับการใช้พลังงาน.-สำนักข่าวไทย