ศาลปกครองสั่ง รฟท.ชดใช้ ประภัสร์ จงสงวน

ศาลปกครอง 5 ก.ย.- ศาลปกครองสั่ง รฟท.ชดใช้  “ประภัสร์ ” กรณีเลิกจ้างก่อนครบสัญญา 3.1 ล้าน ชี้คำสั่ง คสช.ให้พ้นจากตำแหน่งชอบด้วยกฎหมาย 


ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)  จ่ายเงินชดใช้กรณีเลิกจ้างก่อนครบสัญญาให้นายประภัสร์  จงสงวน อดีตผู้ว่าการ รฟท.  จำนวน 3,139,452.05 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินต้น 2,800,000  นับจากวันที่ 11 เม.ย. 59 ซึ่งเป็นวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น โดยให้ชำระให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด

คดีดังกล่าวเนื่องมาจาก รฟท.ได้ว่าจ้างนายประภัสร์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ รฟท.ตามสัญญาลงวันที่ 14 พ.ย. 55 แต่ต่อมา คสช.ได้มีคำสั่ง 89/2557 ลงวันที่ 10 ก.ค. 57 ให้พ้นจากตำแหน่ง นายประภัสร์ เห็นว่าทำให้เกิดความเสียหาย จึงได้ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ส่วนเหตุที่ศาลสั่งให้ รฟท.ชดใช้เนื่องจากเห็นว่า การที่หัวหน้า คสช.มีคำสั่ง 89/2557 ลงวันที่ 10 ก.ค. 57 ให้นายประภัสร์พ้นจากตำแหน่ง แม้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า รฟท.เป็นผู้เสนอ ครม.ให้เห็นชอบตามมาตรา 31 วรรค 3  พ.ร.บ.การรถไฟ 2494 แต่เมื่อ คสช.เข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ หัวหน้าคสช.จึงเป็นผู้มีอำนาจในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 10/2557 เรื่องให้อำนาจหน้าที่ของนายกฯ เป็นอำนาจหน้าที่ คสช.ลงวันที่ 22 พ.ค.2557 ดังนั้น การที่หัวหน้าคสช.มีคำสั่ง 89/2557 ให้นายประภัสร์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการ รฟท. จึงเป็นการใช้อำนาจในฐานะผู้กำกับดูแลเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เพื่อให้การปฏิบัติงานของ รฟท.เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสมยิ่งขึ้น 


ซึ่งมีผลทำให้นายประภัสร์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการ รฟท.ตามคำสั่งที่ประธานกรรมการ รฟท.ได้แต่งตั้ง ตามคำสั่งคณะกรรมการ รฟท.ที่ 22/2555 ลงวันที่ 14 พ.ย.2555  เรื่องแต่งตั้งผู้ว่าการ รฟท. ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจในฐานะคู่สัญญาในการเลิกสัญญา อันจะมีผลให้สัญญาจ้างผู้ว่าการ รฟท.ลงวันที่ 14 พ.ย. 2555 สิ้นสุดลง และการที่นายประภัสร์ ต้องพ้นจากตำแหน่ง ตามคำสั่ง คสช.ดังกล่าว ก็ไม่ใช่กรณีที่มีผลให้สัญญาสิ้นสุดลงตามที่ได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งในข้อ 5.2 ของสัญญาจ้าง

คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ให้นายประภัสร์ พ้นจากตำแหน่ง จึงไม่มีผลให้สัญญาจ้างนายประภัสร์ เป็นผู้ว่าการ รฟท.ฉบับลงวันที่14 พ.ย.2555 สิ้นสุดลงแต่อย่างใด รฟท.จึงยังคงมีสิทธิตามสัญญญา เช่นคู่สัญญาพึงมีซึ่งสิทธิที่ว่านั้น รวมถึงสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาดังกล่าว เนื่องจากเป็นสิทธิของคู่สัญญาโดยแท้ แต่ รฟท.ก็ไม่บอกเลิกสัญญา ทั้่งที่ทราบดีอยู่แล้วว่าคำสั่ง คสช.ที่ให้นายประภัสร์ พ้นจากตำแหน่งชอบด้วยกฎหมาย ด้วยรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุดตามมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) 2557 ซึ่ง รฟท.ในฐานะผู้ว่าจ้างและผู้อยู่ใต้อำนาจการกำกับดูแลของ คสช. จึงไม่อาจดำเนินการเป็นอย่างอื่นนอกจากบอกเลิกสัญญาเท่านั้น   

แม้ว่าไม่ปรากฏว่า รฟท.บอกเลิกจ้างสัญญาโดยแจ้ง แต่เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงในคดีเห็นว่า รฟท.มีเจตนาเลิกสัญญากับนายประภัสร์ โดยปริยายแล้ว จึงมีผลให้สัญญาจ้างระหว่าง รฟท.กับนายประภัสร์ สิ้นสุดลง หรือเลิกกันไปโดยปริยายตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค. โดยที่นายประภัสร์ ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา รฟท.จึงต้องรับผิดต่อนายประภัสร์ ตามสัญญาข้อ 5.4 ที่กำหนดว่าหากผู้ว่าจ้างต้องการบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลา โดยที่ผู้รับจ้างไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ว่าจ้างจะมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้รับจ้างไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินค่าตอบแทนเท่ากับค่าจ้างเดือนสุดท้ายของผู้รับจ้าง คูณด้วยระยะเวลาที่เหลืออยู่ แต่ไม่เกิน 6 เดือน 


ซึ่งข้อเท็จจริงฟังได้ว่านายประภัสร์ ได้รับเงินเดือนในอัตราเดือนละ 4 แสนบาท และเมื่อข้อ1 ของสัญญาจ้างกำหนดเวลาจ้างตั้งแต่ 14 พ.ย.255-17 พ.ค.2558 แต่สัญญาสิ้นสุดลงก่อนในวันที่ 10 ก.ค.57 นายประภัสร์ จึงมีสิทธิ ได้รับค่าตอบแทนเท่าค่าจ้างเดือนสุดท้ายของนายประภัสร์ คูณด้วยระยะเวลา 6 เดือนรวมเป็นเงิน 2.4 ล้านบาท และรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยผิดนัดให้แก่นายประภัสร์ ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ของต้นเงินจำนวน 2.4 ล้านบาท นับตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.57 จนถึงวันที่ 11 เม.ย.59 ซึ่งเป็นวันฟ้องคดี รวมเป็นระยะเวลา 642 วัน คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน 316,602.74 บาท และต้องรับผิดชดใช้เงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับอัตราค่าจ้างเดือนสุดท้ายหนึ่งเดือน เป็นเงิน 400,000บาท ตามมาตรา 582 วรรค1 ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ประกอบข้อ 5.4ของสัญญาจ้างและรับผิดชดใช้เงินค่าตอบแทนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปีของต้นเงินจำนวน400,000บาท ตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค.58 ถึงวันที่ 11 เม.ย.59 คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน22,849.31 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 3,139,452.05 บาท

ด้านนายประภัสร์ กล่าวว่า ที่ต้องมาฟ้องเพราะบอร์ด รฟท. ในขณะนั้นตัดสินใจไม่ยอมจ่ายชดเชยการเลิกจ้าง ซึ่งไม่ได้พิจารณาตามข้อกฎหมาย  แต่ทำตามอำเภอใจ เรื่องนี้น่าเสียดายว่าไม่ควรที่จะเกิดขึ้น น่าจะให้เป็นตามสัญญา ก็ไม่ต้องมาเสียเงินดอกเบี้ยเพิ่มเติม จากเงินค่าจ้างที่ต้องจ่าย  แต่กลับทำให้หน่วยงานต้องเสียค่าดอกเบี้ยเพิ่มจากเงินเดือนชดเชยที่ต้องได้ บอร์ด รฟท.ชุดนั้นจึงควรต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น  เพราะเป็นผู้ออกคำสั่ง ตนไม่ติดใจหรือต่อว่ารัฐบาล คสช. เพราะเข้าใจเรื่องของความเหมาะสมต้องการคนที่ตัวเองไว้ใจมาทำงาน ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการบริหารงานสามารถทำได้

อย่างไรก็ตาม หากคู่กรณีไม่พอใจผลคำพิพากษาก็สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วัน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอ เข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอ เข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอ เข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอ เข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ