fbpx

นสศ.สัมมนาถอดบทเรียนการบริหารเหตุการณ์วิกฤติจากบทเรียน 13 หมูป่า

ลพบุรี 24 ก.ค.-   ผบ.นสศ.ชี้ข้าศึกที่ถ้ำหลวง คือ เวลา – อากาศ ส่วน ผบ.ซีล ระบุช่วงกดดันที่สุดคือ จ่าแซมเสียชีวิต  ด้าน ปภ.เชื่อมีฟ้องร้องแน่หลังจบเหตุการณ์  


พล.ท.สุนัย ประภูชะเนย์  ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ(นสศ.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ระบบการจัดการบริหารเหตุการณ์วิกฤติ” ณ แหล่งสมาคม นสศ. โดยมีตัวแทนหน่วยงานที่ร่วมปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือโค้ชและน้อง ๆ ทีมหมูป่าอคาเดมี ออกจากถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน เข้าร่วมสัมมนา อย่างคับคั่ง อาทิ พล.ร.ต.อาภากร อยู่คงแก้ว ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ (นสร.) หรือ ผบ.ซีล พล.ต สายันห์ เมืองศรี ผบ.มทบ.34 นายสมศักดิ์ คณาคำ นายอำเภอแม่สาย จ.เชียงราย

ตัวแทนทีมเก็บรังนกนางแอ่น อ.กันตัง จ.ตรัง ทีมกู้ภัย อาสาสมัคร  ทีมสำรวจและขุดเจาะถ้ำ จาก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์  บริษัทChevron (Thailand)  บริษัท Water Resource Engineering บริษัทจีโอเมคคานิคอล เซอร์วิสเซศ จก.  สมาคมกู้ภัยภูซางการกุศล จ.พะเยา  จิตอาสาและอาสากู้ภัย(ฝ่ายลำเลียงสนับสนุนภายในถ้ำ)  คณะที่ปรึกษาทางทหารสหรัฐประจำประเทศไทย  สถานทูสหรัฐ  ศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายสากล โดยก่อนการเริ่มสัมมนา มีการมอบเงินช่วยเหลือแก่ครอบครัวและยืนสงบนิ่งเพื่อเป็นเกียรติแก่ น.ต.สมาน กุนัน อดีตซีลนอกราชการ ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ภายในถ้ำหลวง โดยมี ผบ.ซีล เป็นตัวแทนรับมอบ


พล.ท.สุนัย กล่าวว่า  หากเปรียบถ้ำหลวงเป็นปฏิบัติการทางทหาร  ข้าศึกก็คือ วัน เวลา สภาพอากาศ และสภาพร่างกายของเด็ก ๆ  ซึ่งฝ่ายยุทธการจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยปฏิบัติการทางยุทธวิธีที่กำหนดไว้ คือ การเข้าไปค้นหาและช่วยเหลือทีมหมูป่า ทางปากถ้ำ การสำรวจหาปล่องถ้ำ โพรงถ้ำ และการเจาะผนังถ้ำ ซึ่งการปฏิบัติช่วงแรกค่อนข้างสับสน แต่พอผ่านไประยะหนึ่งทุกอย่างก็ลงตัว แต่สุดท้ายการปฏิบัติงานทุกอย่างก็ต้องมีกฎหมายรองรับ เพื่อป้องกันการฟ้องร้องในอนาคต เช่น กรณีเกษตรกรที่พื้นที่ไร่นาถูกน้ำท่วมเสียหาย 

ด้านนายอุดมศักดิ์ ขาวหนูนา ผู้อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 16 ชัยนาท  กล่าวว่า  ตามมาตรา 4 พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 เหตุการณ์ถ้ำหลวง จัดอยู่ใน “สาธารณภัย”  ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ในฐานะ ผู้อำนวยการจังหวัดเชียงราย และ ผู้บัญชาการเหตุการณ์  สามารถสั่งการหน่วยงานใด ๆ ของรัฐในการปฏิบัติการได้ มีอำนาจสั่งให้คนออก หรือ เข้า พื้นที่ก็ได้ เช่น การให้สื่อมวลชนออกจากพื้นที่วนอุทยานถ้ำหลวง ไปยังอบต.โป่งผา หรือ หากฝ่าฝืนก็มีโทษตามกฎหมาย 

“ถ้าผมทำได้ ผมอยากจะไปปลดป้ายที่อยู่ด้านหลังท่านผู้ว่าฯณรงศักดิ์ ออก เพราะตามกฎหมายจะต้องใช้ชื่อว่า ศูนย์บัญชาการค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ไม่ใช่ศูนย์อำนวยการร่วมฯ เพราะหากมีการฟ้องร้องนี่ผิดแน่นอน เช่น น้ำท่วมใหญ่ปี 54 หลังเสร็จงานก็มีการฟ้องกว่า 800 คดี  และที่ต้องให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนส่งชื่อก็เพื่อป้องกันการถูกฟ้อง เพราะล่าสุดลีน่า จัง ก็ยังฟ้องโค้ชเอก ข้อหาบุกรุกถ้ำหลวง” นายอุดมศักดิ์ กล่าว


พล.ร.ต.อาภากร ให้สัมภาษณ์ภายหลัง ว่า การดำน้ำมีหลายรูปแบบ แต่การดำน้ำในถ้ำถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับหน่วยซีล ซึ่งนักดำน้ำจากต่างประเทศที่อยู่ในภารกิจช่วยเหลือทีมหมูป่า จะมาถ่ายทอดองค์ความรู้และ workshop ให้กับหน่วยซีลที่   สัตหีบ ในส่วนของหน่วยซีลก็จะมีการถอดบทเรียนกันเอง ซึ่งขณะนี้เริ่มดำเนินการแล้ว สำหรับจุดอ่อนในภารกิจนี้ ยอมรับว่าเป็นเรื่องของเครื่องมือไม่พร้อม แต่เจ้าหน้าที่ก็มีเป้าหมายเดียวคือเดินหน้าภารกิจด้วยความปลอดภัย สิ่งที่ยากมากที่สุดก็คือการต้องใช้ชีวิตคนเข้าเสี่ยง และภาวะกดดันที่สุด คือการสูญเสียจ่าแซม รวมไปถึงสภาวะแวดล้อมที่บีบคั้น อากาศภายในน้ำเหลือเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ต้องรีบตัดสินใจนำเด็กออกมาโดยเร็วที่สุด เพราะหากช้าไปก็อาจไม่ได้อะไรกลับมา

ด้าน พล.ท.สุนัย กล่าวว่า การจัดสัมมนาวันนี้ เพื่อให้แต่ละหน่วยงานนำมาถอดบทเรียน เพราะเหตุการณ์ถ้ำหลวง ถือเป็นเรื่องใหม่ เชื่อว่าในอนาคตประเทศไทยต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติอีกหลายรูปแบบ และแม้ว่าภารกิจครั้งนี้จะยากลำบากแค่ไหน แต่ก็ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนไม่ได้ท้อถอย และมุ่งมั่นนำทีมหมูป่าทั้ง 13 คน ออกมาอย่างปลอดภัย 

สำหรับการเชิญตัวแทนจาก ศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายสากล หรือ ศตก. มาบรรยาย ก็เพราะว่า  ศตก. มีเครื่องไม้เครื่องมือที่พร้อมกว่าใคร ทั้งนี้ ทุกเหล่าทัพล้วนมี กองบัญชาการเหตุการณ์ หรือ บก.เหตุการณ์อยู่แล้ว แต่การเชิญ ศตก. น่าจะเพิ่มองค์ความรู้ได้มากขึ้น รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างการแก้ไขวิกฤตการณ์ต่างๆ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การสัมมนาประกอบด้วยการบรรยายและสาธิต “การจัดการบริหารเหตุการณ์วิกฤต” โดยผู้แทนศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายสากล, การบรรยายผลการปฏิบัติงานและบทเรียนที่ได้รับสู่การเตรียมความพร้อมในอนาคตโดยหน่วยที่ร่วมภารกิจ รวมทั้งการจัดกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อต่าง ๆ เช่น “ประชารัฐร่วมใจ ค้นหา กู้ภัยทีมหมูป่า”   “จัดการอย่างไรเมื่อต้องเอาชนะธรรมชาติและแข่งกับเวลา”  และ “บทเรียน สู่องค์ความรู้  : Best Practice” 

สำหรับการช่วยเหลือ 13 ชีวิต  ออกจากถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน กองทัพบกได้ส่งกำลังพล 1,323 นาย จาก กองทัพภาคที่ 3 , หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ,  ศูนย์การบินทหารบก , มณฑลทหารบกที่ 37, กองพลทหารราบที่ 4, กองพลทหารราบที่ 7, กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์, กองกำลังนเรศวร, กองกำลังผาเมือง และกรมแพทย์ทหารบก ภายใต้การอำนวยการจากศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก พร้อมยุทโธปกรณ์และเครื่องมือบรรเทาสาธารณภัย อาทิ เอลิคอปเตอร์ แบบ MI 17, เฮลิคอปเตอร์ เบลล์ 212 ,เฮลิคอปเตอร์แบล็คฮอว์ค  , รถครัวสนาม และโรงพยาบาลสนามเคลื่อนที่ เข้าร่วมปฏิบัติการในระหว่าง 23 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม 2561.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ฆ่ารัดคอขับโบลท์

รวบ “ไอ้แม็ก” ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ พบเคยถูกจับคดีโหด

จับแล้ว “ไอ้แม็ก” เดนคุก ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ ทิ้งร่างอำพราง ริมถนนห้วยพลู จ.นครปฐม ก่อนเอารถไปขาย สอบประวัติ พบเพิ่งพ้นโทษ คดีล่ามโซ่ล่วงละเมิดเด็กวัย 13 ปี นาน 1 สัปดาห์ เมื่อปี 2553

พายุโซนร้อนซูลิก

ฤทธิ์พายุโซนร้อนซูลิก ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่นครพนม

ฤทธิ์พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่ จ.นครพนม เจ้าหน้าที่ต้องเร่งเดินเครื่องสูบน้ำลงน้ำโขง

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง