fbpx

ไทย-ญี่ปุ่นจับมือพัฒนาเอสเอ็มอีผ่านศูนย์ ITC

กรุงเทพฯ 11 พ.ค.- ไทยและญี่ปุ่นร่วมมือพัฒนาเอสเอ็มอีไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ผ่านการตั้งศูนย์ ITC กล้วยน้ำไท และ 76 จังหวัดทั่วประเทศ เด็นโซ่นำหลักการ LASI กำจัดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตมาแนะนำเอสเอ็มอี



นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายชิโร ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เปิดศูนย์ปฎิรูปอุตสาหกรรม (ITC) และโครงการสาธิตการผลิตแบบ  (LASI) โดยบริษัท เดนโซ่  ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล้วยน้ำไท และ กสอ.ยังลงนามความร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่น 2 บริษัท คือ โตโยบิสเนส เอ็นจิเนียริ่งคอร์ปอเรชั่นและบริษัท ไอสมาร์ท เทคโนโลยีส์ ในการนำเทคโนโลยีมาตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของคนและเครื่องจักร 



นายซะโดะชิมะ กล่าวว่า  ไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์อันดีมานาน นักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนไทยอย่างต่อเนื่องและถือเป็นชาติที่เข้ามาลงทุนไทยมากที่สุด ปีที่ผ่านมาญี่ปุ่นนำคณะนักธุรกิจ 600 คนเข้ามาดูลู่ทางการลงทุนในไทยและยังได้หารือกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับโครงการ Connected Industries และนอกจากการเปิดศูนย์ ITC แล้ว ทางกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (เมติ) จะร่วมกับไทยพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยต่อไปด้วย



นายอุตตม กล่าวว่า ศูนย์ ITC กล้วยน้ำไทจะให้ความช่วยเหลือพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถปรับตัวและพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในยุคดิจิทัลและพัฒนาผู้ประกอบการไทยตามนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 และให้บริการในส่วนของ Co-Working Space การบริการเครื่องจักรกลางที่องค์กรขนาดใหญ่ให้ยืมมาให้บริการเอสเอ็มอีใช้งานได้ ซึ่ง 8 เดือนที่ผ่านมามีผู้สนใจเข้ามารับบริการกว่า 3,800 ราย พัฒนาผลงานนวัตกรรมให้เอสเอ็มอีไปแล้วกว่า 100 ชิ้นงาน คิดเป็นมูลค่ากว่า 50 ล้านบาท และเตรียมขยายออกไปยังส่วนภูมิภาคผ่านศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคทั้ง 11 แห่งของ กสอ. ศูนย์ปฎิรูปอุตสาหกรรมเซรามิก จังหวัดลำปาง และศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมระดับจังหวัดอีก 64 จังหวัด รวมเป็น 76 จังหวัด ทุกศูนย์จะสามารถเปิดให้บริการภายในปี 2561 นอกจากนี้ ยังประสานความร่วมมือไปยังการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ขยายศูนย์ ITC ไปยังพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตลอดจนเตรียมศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายไปในพื้นที่อื่น เพื่อส่งเสริมการยกระดับเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0


นายคัทซึฮิโกะ ซุกิโตะ กรรมการบริหาร บริษัท เด็นโซ่ คอร์ปอเรชั่น สำนักงานใหญ่ เมืองคาริยะ จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า  เด่นโซ่ ใช้หลักการ LASI กำจัดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตทั้งหมด และหวังที่จะพัฒนาผู้ประกอบการ  Lean Automation System Integrator ที่มีศักยภาพของไทยผ่านโครงการนี้ โดยเชื่อว่าจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลุ่มอุตสาหกรรม Automation ซึ่งเป็นแกนหลักของนโยบาย Thailand 4.0 ไปพร้อมกับการประสานแนวคิด  Connected Industries 


สำหรับศูนย์ ITC ได้จัดตั้งอาคาร Showcase ที่มีการจำลองระบบการผลิตเพื่อเรียนรู้หลักการกำจัดความสูญเปล่าและการออกแบบระบบการผลิตแบบ Lean Automation ประกอบด้วย หุ่นยนต์เคลื่อนไหวได้ 7 ตัว เทคโนโลยีด้าน IoT รวมถึงเทคโนโลยีการจำลองเครื่องจักรและระบบการผลิต เพื่อใช้สำหรับเรียนรู้การใช้งานหุ่นยนต์พื้นฐานและการออกแบบระบบการผลิตแบบอัตโนมัติอย่างมีประสิทธิภาพ 


ด้านนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือพีทีทีจีซี ร่วมเปิดศูนย์ต้นคูณ (Ton Koon) ซึ่งบริษัทได้สร้างให้กับกสอ.ในฐานะที่เป็น Big Brother ช่วยพัฒนาเอสเอ็มอีในกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกไทยและในเดือนกรกฎาคมนี้บริษัทจะเปิดศูนย์ความร่วมมือและออกแบบผลิตภัณฑ์หรือ Custom Solution Center ที่เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ชีวิตติดลบ! ชาวแม่สายจมน้ำจมโคลน 10 วันแทบหมดตัว

หลายชุมชนชายแดนแม่สาย เผชิญน้ำท่วมและจมโคลนมา 10 วันแล้ว อยู่ในสภาพแทบหมดตัว ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับชีวิตที่ต้องติดลบจากน้ำท่วมครั้งนี้

อาลัย “อดีตแข้ง U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา

วงการลูกหนังอาลัย “อดีตนักเตะ U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา ชาวบ้านเผยจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลงสะพานอย่าขับเร็ว

สอบเพิ่ม “ไอ้แม็ก” ฆ่าชิงทรัพย์หญิงขับโบลท์ ฝากขังพรุ่งนี้

ตำรวจคุมตัว “ไอ้แม็ก” สอบปากคำเพิ่มคดีฆ่าชิงทรัพย์โชเฟอร์สาวขับโบลท์ เจ้าตัวปฏิเสธไปชี้จุด อ้างปวดท้องไม่สบาย เตรียมฝากขังพรุ่งนี้