อานิสงส์เจเทปาสินค้าเกษตรไทยไปญี่ปุ่นโตต่อเนื่อง

กรุงเทพฯ  1 พ.ค. – ไทยเดินหน้าเจรจาขยายโควตาสินค้าผลิตภัณฑ์สุกรแปรรูปในเวทีเจเทปา ผลักดันญี่ปุ่นพิจารณาเปิดตลาดสินค้าเพิ่ม  ด้าน สศก.เผยสินค้าเกษตรไทยไปญี่ปุ่นโตร้อยละ 4.72 ต่อปี


นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)  เปิดเผยว่า สศก.เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการร่วมว่าด้วยการค้าสินค้าภายใต้ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับญี่ปุ่นสำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (เจเทปา) ครั้งที่ 5 และการประชุมคณะอนุกรรมการร่วมว่าด้วยกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ภายใต้เจเทปาครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2561 ซึ่งกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะเจรจาการค้าสินค้าและกรมศุลกากรเป็นหัวหน้าคณะเจรจากฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า

สำหรับการประชุมครั้งนี้ ไทยยังคงขอขยายโควตาสินค้าผลิตภัณฑ์สุกรแปรรูป ซึ่งไทยมีศักยภาพส่งออกไปญี่ปุ่นและผลิตภัณฑ์สุกรของไทยเป็นผลิตภัณฑ์ปลอดสารเร่งเนื้อแดง นอกจากนี้ ยังเสนอให้มีการปรับโอนพิกัดศุลกากร จากปี 2545 เป็นปี 2560 ทั้งตารางการลดภาษีและกฎเฉพาะรายสินค้าเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชน และจากความตกลงเจเทปาที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ปัจจุบันครบรอบ 10 ปี ที่จะต้องมีการเจรจาทบทวนความตกลงเจเทปาร่วมกัน ซึ่งไทยยังคงผลักดันให้ญี่ปุ่นพิจารณาการเปิดตลาดสินค้าเพิ่มในสินค้าที่ยังไม่เคยเปิดตลาด และหากการเจรจาเป็นไปตามเป้าหมายจะมีสินค้าเกษตรไทยได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดเพิ่มครั้งนี้ นอกจากนี้ ไทยยังเสนอให้ปรับปรุงข้อบทการค้าสินค้า เพื่อให้สอดคล้องตามองค์การศุลกากรโลกและสถานการณ์ปัจจุบัน


สำหรับการค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ถือว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าสินค้าเกษตรอันดับ 3 ของไทย โดยระหว่างปี 2558 – 2560 มีสัดส่วนการค้าสินค้าเกษตรร้อยละ 9.59 ของมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรของไทยกับโลก ซึ่งปี 2558 ไทยและญี่ปุ่นมีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตร 158,000 ล้านบาท และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2559 และ 2560 เป็นมูลค่า 164,000 ล้านบาท และ 173,000 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งมีการเติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.72 ต่อปี

อย่างไรก็ตาม ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าสินค้าเกษตรกับญี่ปุ่นตลอด โดยปี 2558 – 2560 ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นเป็นมูลค่าเฉลี่ย 155,000 ล้านบาท และนำเข้าจากญี่ปุ่นเฉลี่ย 0.1 แสนล้านบาท ซึ่งไทยได้เปรียบดุลการค้าสินค้าเกษตรเฉลี่ย 145,000 ล้านบาท สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ เนื้อไก่ปรุงแต่ง ชิ้นเนื้อและเครื่องในไก่แช่แข็ง ยางแผ่นรมควัน และอาหารสุนัขหรือแมว ส่วนสินค้านำเข้า ได้แก่ เนื้อปลาแช่เย็นจนแข็งจำพวกปลาสคิปแจ็กหรือปลาโอท้องแถบ ปลาแอลบาคอร์หรือปลาทูนาครีบยาว ปลาแมคเคอเรล และปลาซาร์ดีน ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าหากไทยสามารถผลักดันให้การเจรจาเป็นไปตามเป้าหมายได้จะเป็นการขยายโอกาสในการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยอย่างต่อเนื่อง.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เชียงใหม่อากาศแปรปรวน เจอลมหนาว-ฝนตก 3 วันติด

ชาวเชียงใหม่เจอลมหนาวและฝนตกต่อเนื่อง 3 วันติด อุตุฯ ย้ำอากาศแปรปรวน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ยังมีฝนตกและลมหนาว แนะรักษาสุขภาพ

“อัจฉริยะ” ยื่นสอบปม “ทนายตั้ม” ปูดข่าวผู้บริหารปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ

“อัจฉริยะ” ยื่นหนังสือตรวจสอบข้าราชการช่วยผู้บริหารรัฐวิสาหกิจปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ คาดอาจมีทนายดังเข้าไปเอี่ยว เสนอตำรวจให้สอบพยานรายสำคัญที่เป็นประโยชน์กับ “มาดามอ้อย”

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊ก บช.ก. สอบปากคำ

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊กสอบสวนกลาง สอบปากคำ นานกว่า 5 ชั่วโมง ขณะที่พนักงานสอบสวนเตรียมเข้าค้น “ษิทรา ลอว์ เฟิร์ม” เช้าพรุ่งนี้ หาหลักฐานเพิ่ม ก่อนฝากขังช่วงบ่าย ค้านประกันตัว

“บิ๊กอ้อ” เผย “ทนายตั้ม-ภรรยา” มีพฤติการณ์หนี-ยุ่งเหยิงพยานฯ

“บิ๊กอ้อ” ชี้ตำรวจต้องออกหมายจับ “ทนายตั้ม” เหตุพบพฤติการณ์เตรียมหลบหนีออกนอกประเทศ และยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน นอกจากนี้ยังมีคดีต่อเนื่อง 3 คดี เตรียมแจ้งข้อหาเพิ่ม

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นตอนเช้า-ภาคใต้ฝนหนัก

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นในตอนเช้า เตือนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พร้อมอัปเดตเส้นทางพายุ “หยินซิ่ง”

MOU44

MOU 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง ตอนที่ 1

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องเอ็มโอยู 44 และเส้นแบ่งอาณาเขตทางทะเล หรือเส้นเคลม กลายเป็นปมร้อน ท่ามกลางความกังวลถึงผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และสิทธิเหนือเกาะกูด ติดตามความเห็นและมุมมองจากผู้เกี่ยวข้องในรายงาน “ปมร้อน เอ็มโอยู 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง”

ทนายตั้ม

“ทนายตั้ม” สร้างตัวตนผ่านสื่อ หวังหาผลประโยชน์หรือไม่

หลังจากพนักงานสอบสวนควบคุมตัว “ทนายตั้ม” และภรรยา เข้าเรือนจำไปแล้ว มีคำถามตามมาว่า ทนายคนดังสร้างตัวตนจนโดดเด่นในสังคม เพื่อหาผลประโยชน์จากความน่าเชื่อถือที่สร้างไว้หรือไม่