fbpx

ทุจริตเงินไร้ที่พึ่งที่นครพนมชาวบ้านเผยมีรายชื่อผีโผล่รับเงิน

นครพนม 10 มี.ค.- เลขาธิการ ป.ป.ท. เปิดเผยขณะนี้พบเค้าลางมีเจ้าหน้าที่รัฐหน่วยงานอื่น เข้ามาเกี่ยวข้องกับขบวนการทุจริตเงินคนไร้พึ่งด้วย ส่วนที่ จ.นครพนม ชาวบ้านแฉ มีรายชื่อผีโผล่รับเงินคนไร้ที่พึ่ง

หลังเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือ ป.ป.ท. ลงพื้นที่ตรวจสอบพบการทุจริตเบิกจ่ายเงินศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนครพนมถึง 12 อำเภอ มีผู้เสียหายกว่า 560 ราย ทีมข่าวได้ลงไปตรวจสอบที่บ้านเทพนิมิต หมู่ 9 ต.หนองซน อ.นาทม จ.นครพนม ซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดย่อม มีร้อยกว่าหลังคาเรือน แต่มีรายชื่อผู้ได้รับสิทธิ์เงินช่วยเหลือมากกว่า 200 คน ชาวบ้านหลายคนบอกตรงกันว่า ก่อนหน้านี้ ผู้นำชุมชน ได้รวบรวมสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของชาวบ้านไปส่งให้ ผอ.โรงเรียนแห่งหนึ่ง จากนั้น เรียกไปประชุมเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา กำชับว่าหากมีเจ้าหน้าที่ถามให้ตอบตรงกันว่าได้รับเงินครบหมดแล้ว โดยจ่ายเงินให้คนละ 50 บาท เพื่อเป็นค่าเสียเวลา

นายพิชัย ประจะเณ อายุ 75 ปี เล่าว่า เมื่อวันเด็ก มีเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาสังคม เรียกเข้าไปรับเงิน 2,000 บาท ในฐานะเป็นคนไร้ที่พึ่ง ทั้งที่ไม่เคยออกมาสำรวจ หรือชี้แจงหลักเกณฑ์ใดๆ

เช่นเดียวกับ นางสุณี สุนทร อายุ 58 ปี ชาวบ้านหมู่บ้านเดียวกัน ที่ถูกเรียกไปรับเงิน 1,000 บาท ให้มาประกอบอาชีพ เมื่อวันเด็กที่ผ่านมา กระทั่งเกิดเรื่องฉาว เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. เรียกไปสอบ จึงทราบว่า ตัวเองมีชื่อรับเงินคนไร้ที่พึ่งมาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งละ 2,000 บาท

ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. พบว่า ในจ.นครพนม มีผู้เสียหาย ถึง 564 ราย ในพื้นที่ 12 อำเภอ โดยพบมากสุดที่ อ.นาหว้า 270 ราย รองลงมา คือ อ.นาทม 140 ราย และมีการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือชาวบ้านในปี 2560 ทั้งสิ้น  1,700,000 บาท แต่นำไปจ่ายให้กับชาวบ้าน บางรายได้เพียง 1,000-2,000 บาท/ปี บางรายได้ 200-300 บาท ส่วนบางรายมีชื่อ แต่ไม่เคยได้รับเงินเลย ขณะที่การตรวจสอบ พบเอกสารการเบิกจ่ายครบรายละ 5,000 บาท เบื้องต้นจะแจ้งข้อกล่าวหา 4 ข้อหา กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริจต ได้แก่
1.ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ตามมาตรา 147  
2.ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามมาตรา 157
3.ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปลอมเอกสาร ตามมาตรา 161 และ 4.ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานรับรอง เป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ ตามมาตรา 162


ขณะที่พันโทกรทิพย์ ดาโรจน์ เลขาธิการ ป.ป.ท. เปิดเผย การตรวจสอบการทุจริตเงินอุดหนุนสงเคราะห์ผู้ยากไร้หรือไร้ที่พึ่ง ขณะนี้พบเค้าลางสำคัญอาจมีข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐจากหน่วยงานอื่น เข้ามาเกี่ยวกับในขบวนการทุจริต ครั้งนี้ด้วย

ก่อนหน้านี้บอร์ด ป.ป.ท. อนุมัติไต่สวนไปรอบแรก 2 จังหวัด คือ ขอนแก่นและเชียงใหม่ และรอบที่สองบอร์ดอนุมัติไต่สวนเพิ่ม 5 จังหวัด คือ บึงกาฬ หนองคาย น่าน สุราษฎร์ธานี และตราด นอกจากนี้มีอีก 22 จังหวัดที่เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.ลงพื้นที่ตรวจสอบ และกำลังหาพยานหลักฐานอยู่ เบื้องต้นพบความผิดปกติ คือ 1.พระนครศรีอยุธยา 2.สระบุรี 3.กระบี่ 4.ตรัง 5.สงขลา 6.นราธิวาส 7.ยะลา 8.พัทลุง 9.อุดรธานี 10.ร้อยเอ็ด 11.นครราชสีมา 12.สุรินทร์ 13.บุรีรัมย์ 14.ชัยภูมิ 15.ยโสธร 16.ลำพูน 17.ลำปาง 18.เชียงราย 19.พิษณุโลก 20.สระแก้ว 21.อ่างทอง และ 22.นครพนม อยู่ระหว่างตรวจสอบและพบความผิดปกติดังกล่าวข้างต้น.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย