ทำเนียบฯ 9 ม.ค.- ครม.มอบหมายให้ธ.ก.ส.ออกมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ผ่าน 3 มาตรการ 9 โครงการ
ผู้สื่อข่าวรายว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบ มาตรการช่วยเหลือรายได้น้อยในส่วนของ ธ.ก.ส. เตรียมวงเงินรองรับ 95,000 ล้านบาท ผ่าน 3 มาตรการ 9 โครงการ ประกอบด้วย มาตรการที่ 1 การพัฒนาตนเอง จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ แนวทางที่ 1. โครงการให้ความรู้ทางการเงินแก่เกษตรกรลูกค้าผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 60 กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรผู้มีรายได้น้อย 1 ล้านราย เพื่อให้วิเคราะห์ต้นทุนการผลิต การลดต้นทุนการผลิต และจัดทำแผนการผลิต แผนการตลาด และแผนการเงิน โดย ธ.ก.ส. จัดทำสมุดความดี 1 เล่ม เป็นเงิน 16 ล้านบาท 2. โครงการเงินฝากกองทุนทวีสุข และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ส่งเสริมการออมเมื่อเข้าสู่วัยชราสร้างภูมิคุ้มกัน ในวัยเกษียณ กลุ่มเป้าหมย 90,000 ราย ให้เปิดบัญชีเงินฝากได้เพียงคนละ 1 บัญชี เท่านั้น ใช้เงินเปิดบัญชีครั้งแรกต้องครบเต็มจำนวนปีละ 600 บาท 1,200 บาท 6,000 บาท และ 12,000 บาท จากนั้นให้ฝากเงินต่อเนื่องทุกปี สามารถฝากเงินล่วงหน้าเต็มจำนวนได้ไม่เกิน 1 ปี จากนั้นเมื่อออมปีถัดไปสามารถทยอยฝากเป็นรายเดือนได้จนครบเต็ม ในระยะเวลา 1 ปี จึงจะได้รับสิทธิ์ในความคุ้มครองประกันอุบัติเหตุ และได้รับสวัสดิการเพิ่มขึ้นเป็นแบบขั้นบันไดตามอายุของการออมของลูกค้า เช่น เงินรับขวัญบุตรแรกเกิด เงินช่วยเหลืองานศพ เงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
มาตรการที่ 2 การพัฒนาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อย (XYZ) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในการพัฒนาอาชี ระหว่างผู้มีรายได้น้อย หรือเกษตรกรทั่วไปกับกลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร และ SMAEs ในพื้นที่ ทั่วประเทศ 77 จังหวัด
เพื่อจ่ายเงินกู้ให้แก่กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร และ SMAEs เพื่อจ้างผู้มีรายได้น้อย 384,000 ราย ผลิตสินค้าเกษตรที่ตรงกับความต้องการของตลาดผ่านระบบการจ้างผลิตแบบเกษตรพันธะสัญญา (Contract Farming) และแบ่งผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้มีรายได้น้อย วงเงินสินเชื่อ 45,000 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี ปีที่ 1 วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท จ านวน 100,000 ราย ปีที่ 2 วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท จำนวน 200,000 ราย วงเงินสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท จำนวน 384,000 ราย คิดดอกเบี้ยตามโครงการในอัตราร้อยละ 3.51 ต่อปี คิดจากผู้กู้ร้อยละ 0.01 ต่อปี รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3.50 ต่อปี กำหนดชำระคืนไม่เกิน 12 เดือนนับแต่วันกู้ โดยกำหนดวงเงินกู้และหลักประกันเพิ่มเติมและให้ใช้เป็นกรณีพิเศษสำหรับโครงการนี้
โดย ธ.ก.ส.ขอให้รัฐบาลช่วยรับภาระ กรณีเกิดความเสียหายจาก NPLs ตามโครงการนี้ และไม่นำมาคำนวณรวมเป็น NPLs เพื่อประเมินผล ด้วยการแยกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA) วงเงินงบประมาณที่ใช้ในการด าเนินงานโครงการรวมทั้งสิ้น 4,875 ล้านบาท รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 3.50 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันกู้ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,725 ล้านบาท โดยให้ ธ.ก.ส.เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจ าปีตามค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นจริง และขอสนับสนุนค่าใช้จ่ายฝึกอบรม จากงบประจำปีจากรัฐบาล ปีละ 50 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี รวมทั้งหมด 150 ล้านบาท ดำเนินการตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 – 31 ธันวาคม 2566 ระยะเวลาการจ่ายเงินกู้ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 – 31 ธันวาคม 2563
โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อสร้างอาชีพเป็นการยกระดับรายได้ก่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนในอาชีพให้กับ ผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ กลุ่มเป้าหมาย ผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 400,000 ราย วงเงินสินเชื่อจำนวน 20,000 ล้านบาท ให้สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 50,000 บาท คิดดอกเบี้ยเงินกู้ใน 6 เดือนแรก ในอัตราร้อยละ 0 ต่อปี และตั้งแต่เดือนที่ 7 เป็นต้นไป คิดดอกเบี้ยในอัตรา MRR (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 7 ต่อปี) ลดหย่อนหลักประกันเงินกู้ในกรณีใช้บุคคลค้ำประกันหรือบุคคลรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ให้กู้ได้ไม่เกินรายละ 50,000 บาท
มาตรการที่ 3 ลดภาระหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาทางการเงิน และลดภาระหนี้ในระบบ กลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ที่มีหนี้เป็นภาระหนัก 535,137 ราย วงเงิน 126,798 ล้านบาท โดยการพักชำระต้นเงิน 2 ปี ในระหว่างพักช าระหนี้คิดอัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 7 ต่อปี) ให้ทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยนำต้นเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 มาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ คิดดอกเบี้ยในอัตรา MRR ชำระคืนไม่เกิน 7 ปี ปลอดการชำระต้นเงินไม่เกิน 2 ปีแรก ส่วนต้นเงินอีกไม่เกินร้อยละ 50 ให้น ามาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ใหม่ และก าหนดช าระคืนตามแหล่งที่มาของรายได้ สัญญาพักชำระหนี้หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ช าระต้นเงินร้อยละ 50 แรกได้เสร็จสิ้นภายใน 7 ปี ให้ลดดอกเบี้ยที่พักไว้ให้ครึ่งหนึ่ง
ส่วนกรณีลูกค้ารายย่อยที่มีหนี้ไม่เกิน 300,000 บาท จ านวน 383,157 ราย (คิดเป็นร้อยละ 71 ของจำนวนลูกค้าที่มีหนี้เป็นภาระหนักทั้งหมด มีต้นเงินคงเป็นหนี้ 52,605 ล้านบาท โดยให้ลูกค้าพักการช าระดอกเบี้ยเป็นเวลา 2 ปี และขอให้รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส.แทนผู้มีรายได้น้อยในอัตราร้อยละ 3.00 ต่อปี ธ.ก.ส. รับภาระดอกเบี้ยแทนผู้มีรายได้น้อยประมาณร้อยละ 4.00 ต่อปี 1.4 วงเงินงบประมาณ ขอให้รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ ธ.ก.ส.แทนผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ไม่เกิน 300,000 บาท ใน 2 ปีแรก ทั้งกลุ่มที่พักช าระหนี้และกลุ่มที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ในอัตราร้อยละ 3.00 ต่อปี ของต้นเงินกู้ รวม 52,605 ล้านบาท กรอบวงเงินชดเชย 2 ปี ปีละ 1,579 ล้านบาท รวมจ านวน 3,158 ล้านบาท โดยขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจ าปี และ ธ.ก.ส.รับภาระดอกเบี้ยแทนผู้มีรายได้น้อยประมาณ 3,847 ล้านบาท โดยแยกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) .-สำนักข่าวไทย