ครม.ไฟเขียวจ่ายค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหาย

ทำเนียบ 16 ก.ค.-ครม.ไฟเขียวรับหลักการร่างกฎกระทรวงการจ่ายค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายจากการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อ

นาวคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการจ่ายค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายจากการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. …. ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจ่ายค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเสียหายแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558


นายคารม กล่าวว่า ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอว่า
1.พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 48 บัญญัติให้ในการดำเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัตินี้ หากเกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลใดจากการเฝ้าระวัง การป้องกัน หรือการควบคุมโรค ให้ทางราชการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้นั้นตามความจำเป็น ซึ่งการชดเชยความเสียหายดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ประกอบกับพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นการกำหนดมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยให้สอดคล้องกับกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็น พันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตาม สธ. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงการจ่ายค่าทดแทนเพื่อชดเขยความเสียหายจากการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. …. เพื่อกำหนดมาตรการทางกฎหมายในกรณีการดำเนินการของเจ้าพนักงานควบคมโรคติดต่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลใดจากการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคอันจะเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเสียหายของประชาชนที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหนักงานควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

1.1กำหนดให้ในกรณีที่มีการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อแล้วเกิดความเสียหายขึ้น ให้ดำเนินการกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้รายงานด้วยตนเองถ้าความเสียหายเกิดขึ้นในเขตจังหวัด ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดรายงานต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แต่หากความเสียหายเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ให้ผู้อำนวยการสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร รายงานต่อคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ต้องดำเนินการภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรจะได้รู้ถึงความเสียหาย (2) ในกรณีผู้เสียหายหรือทายาทโดยธรรมของผู้เสียหายได้ยื่นคำขอรับค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายด้วยตนเอง ให้ผู้เสียหายยื่นคำขอที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หากความเสียหายเกิดขึ้นในเขตจังหวัด หรือสำนักอนามัย กรุงเทพมหานครหากเกิดความเสียหายขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร โดยต้องยื่นคำขอภายใน 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรจะได้รู้ถึงความเสียหาย โดยให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด หรือผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานครรายงานต่อรายงานต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณี ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ


1.2กำหนดให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่พิจารณากำหนดค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายแก่ผู้เสียหายโดยให้คำนึงถึงสภาพความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับ ประโยชน์ที่ผู้เสียหายได้รับ รวมถึงโอกาสที่ผู้เสียหายจะได้รับการบรรเทาความเสียหายในทางอื่นด้วย ซึ่งต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับรายงาน และหาถมีเหตุจำเป็นอาจขยายระยะเวลาออกไปอีกได้ไม่เกิน 30 วันนับแต่ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โดยกำหนดให้พิจารณาค่าทดแทนเพื่อชดเขยความเสียหาย ดังนี้ (1) ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท (2) ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท (3) ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานไต้ตามปกติ ให้จ่ายในอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่จังหวัดที่ประกอบการงาน ณ วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ไม่สมารถประกอบการงานได้ตามปกติ (4) ในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครพิจารณากำหนดค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้เสียหายนั้น ดังต่อไปนี้ 1) ค่าทดแทน ให้จ่ายเป็นเงินจำนวนตั้งแต่ 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท 2) ค่าจัดการศพ ให้จ่ายเป็นเงินจำนวน 20,000 บาท และ 3) ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู ให้จ่ายเป็นเงินจำนวนไม่เกิน 30,000 บาท (5) ค่าเสียหายอื่นนอกจาก (1) (2) (3) และ (4) ให้จ่ายเป็นเงินตามจำนวนที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครเห็นสมควร แต่ไม่เกิน 30,000 บาท และ (6) ในกรณีความเสียหายเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของผู้เสียหาย ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครคำนึงถึงสภาพของทรัพย์สินนั้น ราคาตามท้องตลาด หรือราคาอ้างอิงจากทางราชการในวันที่เกิดความเสียหายและปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดความเป็นธรรม

1.3ในกรณีที่กำหนดค่าชดเชยความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือทรัพย์สินของผู้เสียหายแล้ว ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครดำเนินการ ดังนี้ 1) ในกรณีที่ค่าทดแทนความเสียหายเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 400,000 บาท ให้เสนอเรื่องไปยังกรมควบคุมโรคเพื่อพิจารณากำหนดค่าทดแทนและดำเนินการเบิกจ่ายค่าทดแทนต่อไป 2) ในกรณีที่ค่าทดแทนความเสียหายเป็นจำนวนเงินเกินกว่า 400,000 บาท ให้เสนอเรื่องไปยังกรมควบคุมโรคเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติพิจารณากำหนดค่าทดแทน โดยให้กรมควบคุมโรคดำเนินการเบิกจ่ายค่าทดแทนต่อไป

1.4ในกรณีที่เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือทรัพย์สินของผู้เสียหายต่อเนื่องกันหลายจังหวัดหรือระหว่างจังหวัดกับกรุงเทพมหานคร ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหรือผู้อำนายการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี รายงานต่อกรมควบคุมโรคภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับรายงานจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หรือวันที่ได้รับคำขอจากผู้เสียหาย และให้กรมควบคุมโรคเสนอเรื่องไปยังคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติเพื่อพิจารณาค่าทดแทนต่อไป


“ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับจึงอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติดังกล่าวที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ (ภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน ๒๕๖๖) ซึ่งคณะรัฐมนตร์ได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เห็นขอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ออกไปอีก 1 ปี นับแต่วันที่ครบกำหนด จนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567” นายคารม กล่าว.-317.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

เปิดปมสังหารยกครัว 4 ศพ แค้นชู้สาว

เปิดปมเหตุสลดฆ่ายกครัว 3 ศพ ก่อนผู้ก่อเหตุยิงตัวเองเป็นศพที่ 4 ใน จ.สมุทรปราการ พบข้อมูลว่าความแค้นครั้งนี้มาจากเรื่องชู้สาว แต่ลูกชายของผู้ตายยังไม่เชื่อว่าแม่มีความสัมพันธ์กับมือปืน แต่ยอมรับมือปืนให้เงินแม่ใช้ทุกวัน

ศาลไม่ให้ประกัน “สามารถ” ชี้พฤติการณ์ร้ายเเรง

ทนายเผยศาลไม่ให้ประกัน “สามารถ” เพราะพฤติการณ์ร้ายเเรง เตรียมยื่นอุทธรณ์คำสั่งประกัน ด้าน “แม่สามารถ” วอนผู้มีอำนาจอย่าเอาความลูกชายตน ลั่นหลังจากนี้จะสู้เพื่อความยุติธรรม