fbpx

“อาจารย์ธรณ์” ชี้ “ปลาหมอคางดำ” กำจัดไม่หมด

กรุงเทพฯ 16 ก.ค. – “อาจารย์ธรณ์” ระบุ Alien Species เข้าไปอยู่ในธรรมชาติแล้ว กำจัดให้หมดยาก สิ่งที่ต้องทำคือ ควบคุมการระบาดให้มากที่สุด รวมทั้งลดผลกระทบทั้งต่อแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและระบบนิเวศ


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวถึงการกำจัดปลาหมอคางดำซึ่งเป็น Alien Species โดยระบุว่า เมื่อสัตว์น้ำรุกรานต่างถิ่นเข้าไปอยู่ในธรรมชาติถึงระดับหนึ่งแล้ว การจัดการให้หมดเป็นเรื่องที่เป็นไปแทบไม่ได้ พร้อมยกตัวอย่างปลาซักเกอร์ที่ยังมีอยู่ในแหล่งน้ำของไทย หรือปลาช่อนในสหรัฐอเมริกา

การจัดการด้านพื้นที่คือ คุมการระบาดให้มากที่สุด โดยแบ่งพื้นที่เป็นเขต 3 เขต ได้แก่ เขตหลักคือ อ่าวไทย ตัว ก. เขตรองซึ่งพบการระบาดเป็นพื้นที่ๆ กระจายออกไปทั้งในแผ่นดินและในทะเล และเขตที่ปลายากไปถึงเช่น เกาะต่างๆ แหล่งน้ำที่ไม่เชื่อมต่อกับแหล่งอื่น


สำหรับเขตหลักต้องเน้นการลดจำนวนปลาหมอ เขตรองต้องคุมไม่ให้ขยายออกไปข้างๆ เพิ่มขึ้น ส่วนเขตไม่มีปลาไปถึงตามธรรมชาติต้องคุมไว้ให้ได้

เมื่อการกำจัดการปลาหมอคางดำให้หมดเป็นไปได้ยากนั้น จึงต้องพยายามลดผลกระทบให้มากสุดทั้งต่อระบบนิเวศ รวมถึงการประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและทำประมงเนื่องจากปลาหมอคางดำที่เข้าไปในระบบนิเวศจะกินสัตว์น้ำอื่นส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรุนแรง เมื่อเข้าไปแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะไปกินสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยง หากเข้าไปในแหล่งประมง ทำให้สัตว์น้ำเศรษฐกิจหายไป ชาวประมงพื้นบ้านจับได้แต่ปลาหมอราคาต่ำ ในการลดจำนวนปลาหมอคางดำคือ จับเท่าที่ทำได้แล้วนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น เป็นอาหารคน อาหารสัตว์ โดยคณะประมงคิดค้นเมนูกู้แหล่งน้ำทั้งปรุงสดและผลิตภัณฑ์ โดยต้องหาแนวทางนำมาใช้ประโยชน์อื่นๆ อีก

นอกจากนี้ยังมีวิธีการส่งผู้ล่าลงไปจัดการ โดยผู้ล่าต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการได้แก่ เป็นปลาท้องถิ่น มีประโยชน์ และหาได้ในจำนวนมาก ทั้งนี้จะไม่ส่งสัตว์น้ำต่างถิ่นไปกินสัตว์น้ำต่างถิ่นเพราะอาจเกิดปัญหารุนแรงขึ้น ประเด็นมีประโยชน์หมายถึง ต่อให้ไม่กินปลาหมอคางดำหรือกินได้ไม่เยอะ คนก็ยังจับมากินมาขายได้ ส่วนเรื่องหาได้เยอะหมายถึง ต้องรวบรวมพันธุ์ปลาได้มากพอซึ่งอาจเป็นที่มาของปล่อยปลากะพงกินปลาหมอคางดำเพราะปลากะพงขาวมีคุณสมบัติครบ


สำหรับเรื่องที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมเช่น จะกินปลาอื่นไหม กินปลาหมอคางดำได้แค่ไหน ปลาผู้ล่าต้องไหนถึงเหมาะ จำนวนปลาหมอคางดำหนาแน่นแค่ไหนจึงสมควรปล่อยปลาผู้ล่า การปล่อยปลาจึงต้องระมัดระวังผลกระทบข้างเคียงและศึกษาพื้นที่ให้แน่ชัดว่า จะควบคุมได้ พร้อมกันนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรณ์ระบุว่า ถึงขั้นนี้ต้องยอมรับว่า ต้องหาทางอยู่ร่วมกับปลาหมอคางดำต่อไป และพยายามลดความเสียหายให้มากที่สุด. -512 – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

ชายแดนแม่สายยังเละจมโคลน จับตาพายุลูกใหม่

แม้จะผ่านน้ำท่วมใหญ่ในรอบร้อยปีมาหลายวันแล้ว แต่ตอนนี้ชายแดนแม่สายยังเต็มไปด้วยความเสียหายและดินโคลนจำนวนมาก ชาวบ้านหลายคนยังไม่สมารถกลับเข้าบ้านได้

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค การซ้อมเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งที่ 7 ณ โรงเรือพระราชพิธี ท่าวาสุกรี และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ขณะที่ “เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ” ให้กำลังใจทำหน้าที่ได้เต็มที่-ประสบความสำเร็จ

พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนตกหนัก 76 จังหวัด 19-23 ก.ย.

พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ซูลิก” แล้ว คาดขึ้นฝั่งเวียดนามคืนนี้ หัวพายุส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีฝนแล้ว ช่วงระหว่างวันที่ 19-23 ก.ย.67 มีพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมาก 76 จังหวัด