4 เดือน ต่างชาติขนเงินลงทุนเข้าไทย 54,958 ล้านบาท ญี่ปุ่นที่ 1

นนทบุรี 18 พ.ค.-อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยสถิตินักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย รอบ 4 เดือน ปี 2567 (ม.ค.-เม.ย.) พุ่งสูง อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในไทย ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 253 ราย เงินลงทุนสะพัดกว่า 54,958 ล้านบาท สร้างการจ้างงานคนไทยถึง 1,019 คน ญี่ปุ่นครองแชมป์เข้ามาลงทุนอันดับ 1 รองลงมา สิงคโปร์ สหรัฐ จีน และฮ่องกง ด้านการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 77 ราย มูลค่าการลงทุน 14,033 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน


นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม-เมษายน) อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 253 ราย โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวจำนวน 69 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ผ่านช่องทางการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการใช้สิทธิตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ) จำนวน 184 ราย เกิดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 54,958 ล้านบาท ส่งผลดีต่อการจ้างงานคนไทยถึง 1,019 คน

สำหรับนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่


  1. ญี่ปุ่น 63 ราย คิดเป็นร้อยละ 25 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 34,055 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจบริการตรวจสอบคุณภาพชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจบริการชุบเคลือบผิวด้วยโลหะ ธุรกิจบริการพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์ตามความต้องการของลูกค้า เช่น แอนิเมชัน ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (ชิ้นส่วนอลูมิเนียมทุบขึ้นรูป/ ชิ้นส่วนรถยนต์/ ชิ้นส่วนโลหะ)
  2. สิงคโปร์ 42 ราย คิดเป็นร้อยละ 17 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 4,499 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ ธุรกิจบริการทางวิศวกรรมและเทคนิค เช่น การให้คำปรึกษาแนะนำในการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและซอฟต์แวร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การให้บริการติดตั้งเครื่องจักร และการแก้ไขปัญหา เพื่อลดการขัดข้องของเครื่องจักร ธุรกิจบริการติดตั้ง ซ่อมแซม บำรุงรักษาเครื่องชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ ธุรกิจบริการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง ประเภทไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง
    ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (แม่พิมพ์และอุปกรณ์จับยึด ชิ้นส่วนยานพาหนะผลิตภัณฑ์จาก พลาสติกชีวภาพ)
  3. สหรัฐอเมริกา 41 ราย คิดเป็นร้อยละ 16 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติ เงินลงทุน 1,148 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ ธุรกิจบริการทางวิศวกรรม ธุรกิจค้าปลีกสินค้า (อาหารและเครื่องดื่มสำเร็จรูปเครื่องจักรที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมเครื่องมือช่าง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์)
    ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจบริการให้คำปรึกษาและแนะนำในการประกอบธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น การวางแผนทางธุรกิจการให้คำปรึกษาทางการเงิน และการให้คำปรึกษาทางการตลาด ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (พวงมาลัยรถยนต์ / DRUM BRAKE ASSEMBLY)
  4. จีน 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 11 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติ เงินลงทุน 4,031 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ ธุรกิจบริการที่ให้แก่บริษัทในเครือ หรือบริษัทในกลุ่ม (บริการให้เช่าพื้นที่อาคารโรงงาน) ธุรกิจบริการตัดโลหะ (Coil Center)ธุรกิจบริการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการดิจิทัล เช่น การรับฝาก การซื้อขาย และให้เช่า อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (ชุดพัดลมระบายความร้อนสำหรับรถยนต์หลอดไฟแบบ LED ชิ้นส่วน พลาสติกสำหรับอุตสาหกรรม)
    ธุรกิจบริการให้ใช้ช่วงสิทธิแฟรนไชส์ (Franchising) เพื่อประกอบธุรกิจการขายอาหารและเครื่องดื่ม
  5. ฮ่องกง 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุน 1,650 ล้านบาท ในธุรกิจ อาทิ ธุรกิจค้าปลีกสินค้า (เครื่องฉีดขึ้นรูป/ ฟิล์มไวแสง) ธุรกิจบริการศูนย์กระจายสินค้าระหว่างประเทศด้วยระบบที่ทันสมัย ธุรกิจบริการออกแบบทางวิศวกรรม ก่อสร้าง ติดตั้ง ทดสอบการใช้งานระบบ การซ่อมแซม บำรุงรักษา แผงโซล่าเซลล์และอุปกรณ์ต่างๆ เกี่ยวกับระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (อะไหล่และส่วนประกอบรถยนต์ ชิ้นส่วนประกอบที่ทำจากอลูมิเนียม แม่พิมพ์) ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ โดยเป็นการจัดซื้อสินค้า วัตถุดิบ และชิ้นส่วนสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อค้าส่งในประเทศ

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในไทยดังที่กล่าวไปข้างต้น ได้สร้างประโยชน์ให้เกิดกับประเทศไทยจะเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านจากประเทศผู้เข้ามาลงทุนให้แก่คนไทย สร้างทักษะการทำงานขั้นสูงให้กับแรงงานไทย เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมในการออกแบบระบบโซล่าร์ขั้นสูง องค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีติดตามยานพาหนะ องค์ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาสถานีอัดประจุไฟฟ้า องค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องจักรและอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่า การอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยในปี 2567 เพิ่มขึ้นจากปี 2566 จำนวน 36 ราย คิดเป็นร้อยละ 17 (ม.ค.-เม.ย.67 อนุญาต
253 ราย /ม.ค.-เม.ย.66 อนุญาต 217 ราย) และมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 16,256 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42 (ม.ค.-เม.ย.67 ลงทุน 54,958 ล้านบาท/ ม.ค.-เม.ย.66 ลงทุน 38,702 ล้านบาท) ในขณะที่มีการจ้างงานคนไทยลดลง 1,400 ราย คิดเป็นร้อยละ 58 (ม.ค.-เม.ย.67 จ้างงาน 1,019 คน/ ม.ค.-เม.ย.66 จ้างงาน 2,419 คน) โดยจำนวนนักลงทุนที่เข้ามาสูงสุดยังคงเป็นนักลงทุนญี่ปุ่นเช่นเดียวกับปีก่อน

สำหรับการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ของนักลงทุนต่างชาติ ช่วงสี่เดือนแรกของปี 2567 มีนักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 77 ราย คิดเป็น 30% ของจำนวนนักลงทุนต่างชาติในไทย เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนจำนวน 34 ราย หรือเพิ่มขึ้น 79% (ม.ค.-เม.ย.67 ลงทุน 77 ราย/ ม.ค.-เม.ย.66 ลงทุน 43 ราย) และมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 14,033 ล้านบาท คิดเป็น 26% ของเงินลงทุนทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 6,512 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 87% (ม.ค.-เม.ย.67 เงินลงทุน 14,033 ล้านบาท/ ม.ค.-เม.ย.66 เงินลงทุน 7,521 ล้านบาท เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น 20 ราย เงินลงทุน 2,002 ล้านบาท จีน 14 ราย เงินลงทุน 980 ล้านบาท สิงคโปร์ 9 ราย เงินลงทุน 1,018 ล้านบาท และประเทศอื่นๆ 34 ราย เงินลงทุน 10,033 ล้านบาท โดยธุรกิจที่ลงทุนในพื้นที่ EEC อาทิ 1. ธุรกิจบริการทางวิศวกรรมและเทคนิคเช่น ให้คำแนะนำในการติดตั้งระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องจักร ให้คำปรึกษา และแนะนำเชิงเทคนิคเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดเหตุขัดข้องจากการใช้งานเครื่องจักรและอุปกรณ์ เป็นต้น

  1. ธุรกิจบริการวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนยานพาหนะไฟฟ้า
  2. ธุรกิจบริการซ่อมแซมหินเจียร ใบหินตัด ใบเลื่อย เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีส่วนประกอบทำด้วยเพชร
  3. ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูปทางด้านภาพ เสียงระบบนำร่อง และชิ้นส่วน/ แม่พิมพ์ ชิ้นส่วนแม่พิมพ์ และชิ้นส่วนโลหะปั๊มขึ้นรูป/ อะไหล่และส่วนประกอบรถยนต์)
  4. ธุรกิจบริการพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อจำหน่ายและ/หรือให้บริการ เช่น ซอฟต์แวร์การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล เป็นต้น.-514-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นร.หญิง ม.1 จมทะเลดับ หลังโรงเรียนพาไปทัศนศึกษาที่ระยอง

โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครราชสีมา พานักเรียนไปทัศนศึกษาที่ จ.ระยอง นักเรียนหญิง ม.1 ถูกคลื่นดูดลงทะเลขณะเล่นน้ำ เสียชีวิต พ่อแม่สุดเศร้าสูญเสียลูกสาวคนเดียวของครอบครัว

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง

น้ำท่วมขนส่งเชียงใหม่กระทบผู้โดยสาร เปิดจุดจอดรับ-ส่งชั่วคราว

น้ำขยายวงกว้างเข้าท่วมสถานีขนส่งเชียงใหม่แห่งที่ 2 และ 3 เต็มพื้นที่ ระดับน้ำสูงเกือบ 50 ซม. ผู้ประกอบการขนส่งต้องนำรถทัวร์โดยสารออกมาจอดรับ-ส่งบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ยืนยันผู้ประกอบการยังให้บริการตามปกติ

ระทึก! แท็กซี่พลิกคว่ำเกิดเพลิงไหม้ 5 ชีวิตรอดหวุดหวิด

รถแท็กซี่พลิกคว่ำและเกิดเพลิงลุกไหม้กลางถนนพระราม 9 ผู้โดยสารหญิงสติดีถีบประตูช่วยตัวเองและคนอื่นออกมาจากตัวรถรวม 5 ชีวิตได้ทัน แต่ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 1 คน เป็นคนขับแท็กซี่ ตำรวจเร่งสอบสวนหาสาเหตุ

ข่าวแนะนำ

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง

น้ำท่วมเชียงใหม่

นายกฯ ห่วงน้ำท่วมเชียงใหม่ สั่งเร่งช่วยเหลือ เฝ้าระวัง 24 ชม.

“นายกฯ แพทองธาร” ห่วงน้ำท่วมเชียงใหม่ สั่งเร่งช่วยเหลือประชาชนและสัตว์โดยด่วน เฝ้าระวังสถานการณ์ 24 ชม. พร้อมฟื้นฟู

หญ้าอาหาร​สัตว์​พระราชทาน

ระดม​ขน​ส่ง​ “หญ้าอาหาร​สัตว์​พระราชทาน” ช่วยช้างแม่แตง

พระนคร​ศรี​อยุธยา​ 5 ต.ค. – รมว.​เกษตร​ฯ​ สั่งอธิบดี​กรม​ปศุสัตว์ ​เร่งนำส่ง​ “หญ้า​อาหารสัตว์​พระราชทาน” ช่วย​เหลือ​ช้าง​ของ​ศูนย์​บริบาล​ช้าง​ อำเภอ​แม่แตง​ จังหวัด​เชียงใหม่​ ที่ประสบภัย​น้ำท่วม​ ต้องอพยพสัตว์​หนีน้ำ อธิบดี​กรม​ปศุสัตว์​ระบุส่งถึงจุดพักพิงสัตว์​ชั่วคราว​แล้ววานนี้​ ระดมขนส่งต่อเนื่อง​ทั้งหญ้าสดและหญ้า​แห้ง​ เตรียม​จัดทีมสัตวแพทย์​สนับสนุน​การ​ดูแล​สุขภาพ​และ​รักษา​สัตว์​ต่าง​ๆ​ ของ​ศูนย์​บริบาล​ช้าง​ที่​มีอยู่เป็น​จำนวนมาก นายสัตวแพทย์สมชวน​ รัตนมังคลานนท์​ อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า​ ได้เร่งขนส่ง​ “หญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน” ไปช่วยเหลือ​ช้างกว่า​ 100 ตัวของ ศูนย์บริบาลช้าง อำเภอแม่แตง​ จังหวัดเชียงใหม่ที่ประสบภัยน้ำท่วม​ ตามข้อสั่งการของศ.ดร.​ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยศูนย์บริบาลช้างแห่งนี้ มีช้างกว่า 100 เชือก รวมถึงสัตว์อีกหลายชนิดเช่น​ ควาย​ แพะ​ แกะ​ สุนัข​ แมว​ เป็น​ต้น หลังเกิดเหตุ​น้ำท่วมฉับพลันและระดับน้ำสูง​ ได้​สั่งการ​ให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ลำปางร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียง สำนักงานปศุสัตว์สัตว์อำเภอแม่แตง นำหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน 2, 000 กิโลกรัม​หรือ​ 2 ตันไปส่งมอบเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นให้แก่ช้าง ทั้งนี้​ กำชับ​ให้​สำนักพัฒนาอาหารจัดส่ง​หญ้าไปช่วยเหลือเพิ่มเติม​ โดยวันนี้​ […]

ปรับเส้นทางรถไฟสายเหนือ

รฟท.ปรับสถานีต้นทางสายเหนือเป็นลำปาง ผลกระทบจากน้ำท่วม

การรถไฟฯ แจ้งปรับเปลี่ยนสถานีต้นทาง-ปลายทาง ขบวนรถสายเหนือ 12 ขบวนเป็นการชั่วคราว หลังเกิดน้ำท่วมเชียงใหม่อีกระลอก