“สมคิด”เร่งสร้างสตาร์ทอัพรองรับกองทุนเอกชน

ตลท. 31 ก.ค. – รัฐบาลดึงหลายหน่วยงานตั้งกองทุนขนาดใหญ่ร่วมลงทุนสร้างสตาร์ทอัพเกิดใหม่จำนวนมาก รองรับกองทุนเอกชนเข้าร่วมลงทุน  ขณะที่มหาวิทยาลัยระบุนักศึกษาแนวคิดใหม่รอรับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน  ขณะที่ ตลท.พร้อมเจียดเงินตั้งกองทุน 1 พันล้านบาท เริ่มลงทุนต้นปีหน้า  


นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกระทรวงอุตสาหกรรม ประชุมร่วมกับผู้บริหารกระทรวงการคลัง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)  สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)  สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากรัฐบาลต้องการสร้างผู้ประกอบการสตาร์ทอัพริเริ่มใหม่ของเมืองไทยสร้างโดยคนไทย เพื่อบ่มเพาะผู้ประกอบการให้โอกาสได้เติมทุน  จึงต้องการตั้งกองทุนขนาดใหญ่ นำโดย ตลท.และหน่วยงานอื่น เพื่อปั้นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพขึ้นมา เพื่อให้มีผู้ประกอบการสตาร์ทอัพให้เพียงพอต่อการคัดเลือกจากกองทุนของภาคเอกชนให้เข้ามาลงทุน ยอมรับขณะนี้มีผู้ประกอบการสตาร์ทอัพจำนวนน้อยมากยังไม่พอให้กองทุนเอกชนคัดเลือกลงทุน จึงเชิญภาคเอกชนมาสะท้อนปัญหา เพื่อหาแนวทางในการส่งเสริม 

เพราะบริษัทเอกชนเมื่อต้องการร่วมลงทุนกับผู้มีศักยภาพเท่านั้น จึงเน้นไปลงทุนกับต่างชาติ  จึงต้องการดึงมหาวิทยาลัยปั้นนักศึกษาหลายด้านไม่ใช่เฉพาะด้านไอที วิทยาศาสตร์ เพื่อร่วมวิจัยให้เกิดการลงทุน มองว่าเมืองไทยมีศักยภาพหลายอย่างที่ส่งเสริมให้สร้างขึ้นมาได้ นายกรัฐมนตรีพร้อมสนับสนุนสร้างบริษัทในมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมสตาร์ทอัพเกิดขึ้นในสังคมไทย  กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันสร้างผู้ประกอบการเฟส 2 เพราะเฟสแรกเริ่มตั้งตัวแล้ว  ด้วยการส่งเสริมกองทุนกล้าเสี่ยงเข้าไปลงทุน (Angel VC) เป็นหัวหอกเริ่มต้นเข้าร่วมลงทุนกับผู้มีแนวคิด และนำมาบ่มเพาะให้มีความรู้เพิ่ม  โดยกระทรวงดิจิทัลฯ พร้อมแก้ปัญหาอุปสรรคให้เสร็จก่อนการจัดงานประชุมเชิงปฏิบัติการใหญ่  “ดิจิทัลเวนเจอร์” ในช่วงเดือนกันยายนนี้  และมอบหมายให้กระทรวงการคลังศึกษาแนวทางการเพิ่มแรงจูงใจด้านภาษี เพื่อลดภาระให้กับผู้ประกอบการ 


รัฐบาลต้องการส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ 10,000  ราย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนตั้งกองทุนร่วมลงทุน VC เพื่อลงทุนกับผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ คาดว่า 3-4 ปีข้างหน้าจะร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพได้รับพันราย ขณะนี้กองทุนของรัฐบาลและเอกชนต้องการส่งเสริมการร่วมทุนกับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ รายเล็กต้องการเงินทุน 10-20 ล้านบาท รายใหญ่ต้องการ 40-50 ล้านบาท เฉลี่ย 30 ล้านบาทต่อราย ยอมรับว่าผู้ประกอบการสตาร์ทอัพมีศักยภาพผ่านการคัดเลือกเพียงร้อยละ 10  ปัจจุบันร่วมทุนไปแล้ว 28,338 ล้านบาท นับว่าแบงก์รัฐตั้งกองทุน VC ทั้งธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย เอสเอ็มอีแบงก์ ตลท. ขณะที่ภาคเอกชนตั้งกองทุน CVC เช่น กลุ่มทรู ไทยพาณิชย์ กรุงศรีอยุธยา ภาคอสังหาฯ ประกันชีวิต บีทีเอส ล็อกซ์เล่ย์ 

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ปัจจุบันตั้งกองทุนร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพที่มีแนวคิดนวัตกรรมและบริหารจัดการที่ดีเฉลี่ยวงเงิน 1-2 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อราย เพื่อสนับสนุนเด็กรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดดีทั้งด้านดิจิทัลมิเดียร์ วาดคอมเตอร์กราฟฟิก รวมทั้งกองทุนของทรูวงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท จึงต้องเพิ่มทุนอีก 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ขยายไปร่วมทุนกับ สตาร์ทอัพของต่างชาติเพิ่ม หากดึงกองทุนสตาร์ทอัพจากทั่วโลกมาได้จะเพิ่มศักยภาพอย่างมาก  ยอมรับว่าสิงคโปร์กองทุน CVC เติบโตอย่างมาก เพราะอำนวยความสะดวกและมีแรงดึงดูดการลงทุน  ดังนั้น ไทยควรเพิ่มแรงจูงใจด้านภาษีเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญมาลงทุนด้านสตาร์ทอัพมากขึ้น 

นายธนพงษ์ ณ ระนอง นายกสมาคมไทยเวนเจอร์แคปปิตอล กล่าวว่า หากมีระบบบัญชีถูกต้องจะดึงดูดให้เกิดสตาร์ทอัพมากขึ้น สมาชิกของสมาคมฯ มีเงินลงทุน 3,000 ล้านบาท แต่ยังลงทุนน้อยมาก เพราะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง จึงต้องการลงทุนกับเอกชนที่ดำเนินการมาแล้วระยะหนึ่งและมีผลดำเนินการดี ขณะนี้ได้ตั้งกลุ่มพรีเมียร์ลีกของไทย เพื่อหันมาเน้นช่วยเหลือกลุ่มหลักและดึงดูดให้สตาร์ทอัพรายอื่นเข้า  ขณะที่ผู้บริการไทยพาณิชย์ แจ้งว่าตั้งกองทุน CVC ต้องการออกไปลงทุนกับสตาร์ทอัพหลายพื้นที่ทั่วโลก ทุก 6 เดือนจะออกแบบการร่วมลงทุน เพื่อเปิดให้สตาร์ทอัพเสนอเข้ามาให้ร่วมลงทุน ยอมรับว่าผู้ประกอบการของไทยยังน้อยมากเพราะขาดแรงจูงใจ  


ตัวแทนจากธนาคารกรุงเทพ เผยว่า ได้ออกไปลงทุนหลายประเทศทั่วโลก ด้านอุตสาหกรรม, E-Commerce,Tradding,Fintech และหากขาดความรู้ความเข้าใจพร้อมดึงต่างชาติเข้ามาเสริมความรู้  ในส่วนของเอสซีจี ตั้งกองทุนมาแล้ว 3 ปี ขนาดกองทุทน 3,000 ล้านบาท มองว่าการร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพ  ต้องมีลูกค้า มีแผนธุรกิจชัดเจน ยอมรับว่าในยุโรปสนใจมางทุนในอาเซียน ตัวแทนกองทุนสิริ ได้รวมกลุ่มตั้งกองทุนร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพช่วงแรก ๆ 3 ปีก่อน  ต้องสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ  สำหรับบทบาทของมหาวิทยาลัย  มองว่าศักยภาพของนักศึกษาไทยสร้างให้เป็นสตาร์ทอัพได้แน่นอน จึงมีแผนตั้งเมืองนวัตกรรมแห่งสยามผ่านการส่งเสริมจากจุฬาฯ ขณะที่มหาลัยหลายแห่ง ยอมรับว่านักศึกษาที่มีศักยภาพได้บ่มเพาะรอการสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานอื่น เมื่อมองเห็นช่องทางการร่วมทุน นับเป็นจุดเริ่มที่ดีในการนำฝันของนักศึกษาออกมาเปิดเวทีแข่งขันกับต่างชาติ โดยเฉพาะกองทุนจาก ตลท. หากเข้ามาช่วยเหลือจะสร้างฝันของนักศึกษา. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ภรรยาหมอบุญมอบตัว

“ภรรยา-ลูก” หมอบุญ อ้างถูกปลอมลายเซ็น ไม่เคยรู้การกระทำใดๆ

ทนายความภรรยา-ลูก หมอบุญ เผยถูกปลอมลายเซ็นเอกสาร ไม่เคยรับรู้การกระทำใดๆ ของหมอบุญ โดยภรรยาได้หย่าร้างกับหมอบุญ ก่อนปี 66

น้ำผุดเชียงดาว

น้ำใต้ดินผุดท่วมอ่วม “บ้านเรือน-พื้นที่เกษตร” อ.เชียงดาว

มวลน้ำมหาศาลผุดขึ้นจากใต้ดิน เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เกษตร และบ้านเรือนประชาชน หลายหมู่บ้าน ใน อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ระดับน้ำบางจุด ท่วมบ้านเกือบถึงหลังคา พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 400 ไร่

เลือกตั้ง อบจ.

“แสวง” ลงพื้นที่สังเกตการณ์เลือกตั้ง นายก อบจ.อุดรธานี

“เลขาฯ แสวง” ลงพื้นที่ตรวจรับ-มอบอุปกรณ์เลือกตั้ง นายก อบจ.อุดรธานี พร้อมสังเกตการณ์เลือกตั้งพรุ่งนี้ (24 พ.ย.) วอนประชาชนออกมาใช้สิทธิ 8.00-17.00 น.