มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 25 ก.ค.-นักวิชาการชี้ไทยยังมีปัญหาด้านสิทธิความไม่เท่าเทียมของเพศทางเลือก แนะรัฐควรออกกฎหมายรับรองเพศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำอย่างมีบรรทัดฐาน หากไม่ออกกฎหมายก็ควรหามาตรการดูแลอย่างครอบคลุม
นักกฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน พร้อมด้วยตัวแทนเพศทางเลือกในหลากหลายเจเนอเรชั่น ร่วมเสวนา “สิทธิเพศทางเลือก กับอนาคตสังคม ไทย” เพื่อสะท้อนปัญหาต่างๆในสังคมของเพศทางเลือกในประเทศไทย และวิเคราะห์ผลกระทบหาก พ.ร.บ. รับรองเพศ ประกาศใช้ หรือหากไม่มี พ.ร.บ.รองรับ
ผศ.ดร. มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจุบันไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าในสังคม ไทยมีการเปิดเผยของเพศทางเลือกมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและระดับโลก หลายประเทศเห็นถึงปัญหาด้านความไม่เท่าเทียมและพิจารณาหาแนวทางแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะออกกฎหมายมารองรับเพื่อเป็นบรรทัดฐานที่ยอมรับโดยทั่วไปของสังคม แต่สำหรับประเทศไทยปัจจุบัน ยังไม่มีกฎหมายที่รอง รับถึงสิทธิความไม่เท่าเทียมของเพศทางเลือก ทำให้พบปัญหาหลักๆ 3ประเด็น คือคำนำหน้าในเอกสารสำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งทำให้เป็นปัญหารากฐาน นำไปสู่ปัญหาในการใช้ชีวิต การเรียน การทำงาน และการไม่มีสถานะทางสังคมที่ชัดเจน ยมองว่า หากมีการออกพ.ร.บ.รับรองเพศมาใช้ จะช่วยให้เพศทางเลือกมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กฎหมายระบุไว้และสามารถเลือกใช้คำนำหน้าได้ตามเพศวิถีและจะได้รับผลตามกฎ หมายของเพศนั้นๆและช่วยลดปัญหาความไม่ยอมรับด้านสังคมอีกทางด้วยเช่นกัน ที่สำคัญเมื่อมีคำนำหน้าในเอกสารสำคัญที่ชัดเจนจะช่วยลดความไม่เท่าเทียม โดยเฉพาะการทำงาน แม้ว่าปัจจุบันจะมีพ.ร.บ. ความเท่าเทียมกันการทำงานที่รองรับในประเด็นดังกล่าวอยู่แล้วในระดับหนึ่งก็ตาม และสุดท้ายควรมีกฎหมายรับรองครอบครัวกฎหมายการจดทะเบียนสมรสกับการใช้ชีวิตครอบครัว ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่นำไปสู่การเรียกร้องสิทธิของกลุ่มเพศทางเลือกทั่วโลก โดยกฎหมายที่ไม่รองรับการใช้ชีวิตคู่ของเพศทางเลือกส่งผลให้เกิดปัญหาด้านกฎหมายมากมาย เช่น การใช้สิทธิแทนคู่สมรส การรับรองสิทธิคู่สมรส รวมไปถึงการรับรองบุตรบุญธรรม ซึ่งตามกฎหมายปัจจุบันไม่ได้ระบุห้ามไว้แต่อย่างใด แต่เมื่อมีการรับรองถึงคู่สมรสของเพศทางเลือกแล้วนั้นจะช่วยปรับทัศนคติของคนในสังคมและทำให้เรื่องดังกล่าวเป็นที่ยอมรับมากขึ้น นักวิชาการกำลังร่วมกันผลักดันกฎหมายนี้อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามหากท้ายสุด พ.ร.บ.รับรองเพศไม่ได้ถูกประกาศใช้ในประเทศไทย รัฐบาลก็ควรหาแนวทางเพื่อตอบสนองดูแลประชากรเพศทางเลือกที่เติบโตและเปิดเผยมากขึ้นในประเทศไทยอย่างครอบคลุม รวมทั้งหามาตรการรองรับการเปิดกว้างที่เพิ่มขึ้นของกระแสโลกด้วย
ด้านอาจารย์วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม กล่าวว่าช่วงที่ตัวเองเป็นวัยรุ่นการแสดงออกให้ทางเลือกยังไม่เป็นที่ยอมรับของคนในสังคมมากนัก มีความไม่เท่าเทียมสูงทั้งในแง่การเรียนและการทำงานองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องแต่งกายให้ตรงตามเพศสภาพ แม้กระทั่งการเป็นแม่พิมพ์ของชาติก็ถูกกีดกันไม่ให้ทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ เพราะเกรงว่าจะชักจูงลูกศิษย์ให้มีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนทางเพศ แต่ในปัจจุบันสังคมได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก เปิดกว้างมากขึ้นและชี้วัดบุคคลที่ความสามารถมากกว่าเพศสภาพ หากมีกฎหมายรับรองเพศประกาศใช้ ปัญหาจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมทางเพศให้หมดไปและอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายของคนในสังคมอย่างเป็นสุขมากขึ้น
นายชวิน ศรีสมวัฒน บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทองคณะวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะเพศทางเลือก กล่าวว่าโชคดีที่ยุคปัจจุบัน เพศทางเลือกได้รับการยอมรับมากขึ้น โดยตลอดการเรียน4ปี ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเสรีภาพในการแสดงออกทางเพศทั้งการแต่งกายชุดนักศึกษาหญิง และการสวมชุดครุยรับปริญญาทำให้รู้สึกเท่าเทียมและไม่แปลกแยกกับเพื่อนคนอื่น แต่อาจได้รับผลกระ ทบเมื่อต้องสัมภาษณ์เข้าฝึกงานในบริษัทที่ถูกปฏิเสธ โดยนโยบายไม่รับบุคคลที่แต่งกายข้ามเพศ มองว่า หากมีกฎหมายรับรองเพศประกาศใช้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการทำลายกำแพงของความเหลื่อมล้ำให้เบาบางลง เกิดความเข้าใจที่ดีและยอมรับในความแตกต่างของแต่ละบุคคลรวมถึงไม่ตัดสินคนอื่นเพียงแค่เพศสภาพ.-สำนักข่าวไทย