สงครามตะวันออกกลางรอบใหม่ อิสราเอล-ฮามาส

อิสราเอล 8 ต.ค.-สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส การปะทะทั้งสองฝ่ายมีผู้เสียชีวิตรวมแล้วกว่า 600 ราย ขณะที่อิสราเอลลั่นเดินหน้าตอบโต้ฮามาสเต็มรูปแบบ ที่มาและปูมหลังของความขัดแย้งระหว่างทั้งสองฝ่าย ที่บ่มเพาะเกิดขึ้นมานานหลายสิบปี


เมื่อวานนี้ กองกำลังฮามาสของปาเลสไตน์ ได้เริ่มปฎิบัติการแบบสายฟ้าแลบ ที่เรียกว่า ‘พายุอัลอักซอ’ (Al-Aqsa Storm) ด้วยการระดมยิงจรวดโจมตีอิสราเอลกว่า 3,000 ลูก ส่งนักรบแทรกซึมข้ามพรมแดนของอิสราเอล เข้าไปไล่สังหารผู้คนในหลายชุมชน เป็นลอบเข้าไปก่อการครั้งใหญ่ในอิสราเอลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในความขัดแย้งกว่า 70 ปี แล้วจับตัวประกันซึ่งมีทั้งทหารและพลเรือนจำนวนมากกลับเข้าไปยังฉนวนกาซา 

รัฐบาลอิสราเอลโดยนาย เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีประกาศว่า อิสราเอลกำลังเข้าสู่ภาวะสงคราม แล้วจึงเริ่มปฏิบัติการตอบโต้ ครั้งใหญ่ เพื่อล้างแค้นให้กับชาวอิสราเอลที่เสียชีวิตแล้วมากกว่า 300 ราย บาดเจ็บมากกว่า 1,200 คน ในวันนี้ยังได้เตือนให้ชาวปาเลสไตน์ในพื้นทีเป้าหมายให้หลบหนีออกจากบ้านไป เพื่อรักษาชีวิต นอกจากนั้นยังประกาศตัดน้ำตัดไฟ ตัดเชื้อเพลิง และห้ามการขนส่งสินค้าเข้าไปยังฉนวนกาซาด้วย


สงครามรอบนี้ เป็นการปะทะกันระหว่างชนสองสายเลือดที่เคยอยู่ร่วมกันบนแผ่นดินนี้มานานตั้งแต่โบราณ จนเมื่อร้อยปีที่ผ่านมา การเมืองโลกทำให้ทั้งสองขยายความขัดแย้ง โดยมีกลุ่มประเทศของแต่ละฝ่ายคอยหนุนหลังดินแดนนี้ ในอดีตคือ ดินแดนปาเลสไตน์ โดยมีชาวยิว เป็นชนกลุ่มน้อย จนหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษเข้ายึดครอง และในเวลานี้เองที่ เริ่มมีความเคลื่อนไหวต่อตั้งรัฐชาวยิว ให้ชาวยิวที่แตกกระสานในหลายประเทศทั่วโลกกลับไปสร้างบ้านแห่งชาติ บนดินแดนที่บรรพบุรุษ อาศัยอยู่เก่าก่อน แต่นั่นคือ ปมขัดแย้งใหญ่ เพราะ ดินแดนนี้เป็นดินแดนแห่งบรรพบุรุษของชาวปาเลสไตน์เช่นกัน ตั้งแต่วันแรกของการสร้างรัฐอิสราเอล ก็ต้องแลกด้วยเลือดเนื้อ    

ในปี 1948 ชาวยิว สถาปนารัฐเอกราช อิสราเอล ซึ่งต้องผ่านการทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์และพันธมิตรชาวอาหรับ แต่เมื่อหยุดยิงกันได้ ในปีถัดมา อิสราเอลเข้ายึดพื้นที่ส่วนใหญ่ ทำให้ปาเลสไตน์หลายแสนคนต้องอพยพออกจากบ้านของตัวเอง เช่นเดียวกับสงครามและการต่อสู้หลายครั้งต่อมา สงครามครั้งใหญ่อีกหนเมื่อปี 1967 ที่รู้จักกันในชื่อ สงคราม 6 วัน  เป็นวังวนแห่งความขัดแย้งที่ จบลงโดยไม่มีการบรรลุข้อตกลงใด ๆ จบลงที่ต่างฝ่ายก็ต่างโทษกันและกัน ว่าเป็นต้นเหตของความขัดแย้ง และมักจะจบลงด้วยการช่วงชิงความได้เปรียบของอิสราเอล 

ปฏิบัติการของฮามาสเมื่อวานนี้ที่เป็นชนวนสงครามครั้งล่าสุด อาจเทียบเคียงได้กับสงคราม โยม คิปเปอร์ เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์เดียวกันนี้ตรงกับวันสำคัญทางศาสนาของชาวยิวเหมือนกัน และเป็นการใช้วิธีโจมตีแบบสายฟ้าแลบเหมือนกัน แต่ที่อาจต่างออกไป  เมื่อ 50 ปีที่แล้วเป็นการสู้รบระหว่างกองทหารของอิสราเอลกับหล่าชาติอาหรับ แต่ในครั้งเป็นกองกำลังฮามาส ที่ระดมโจมตี ทำให้เหยื่อเป็นพลเรือนมากมาย ยิ่งไปกว่า นั้นฮามาส ยังได้เรียกร้องให้ชาวปาเลสไตน์ทั้งหมด จับอาวุธขึ้นสู้ต่อต้านการยึดครอง 


เมื่อมองให้ลึกลงไป ทำไมฮามาสถึงเลือกปฏิบัติการเช่นนี้ แม้ไม่มีหนทางจะชนะ ชิงพื้นที่คืนได่ ประการแรก หวังผลภายในปาเลสไตน์ ที่ยังแบ่งฝักแบ่งฝ่าย  มองได้ ฮามาส เปิดฉากต่อสู้เพื่อชิงบารมีอิทธิพลจากองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์เวสต์แบงค์ ประการที่สอง หวังผลภายนอก ที่ขณะนี้ ศัตรูอิสราเอล กำลังสานสัมพันธ์กับซาอุดิอาระเบีย ที่เป็นชาติยักษ์ใหญ่ในตะวันออกกลาง ซึ่งอาจทำให้อิสราเอลเป็นที่ยอมรับในโลกอาหรับมากขึ้น เหมือนเช่นในอดีตที่ฮามาสเคยก่อเหตุเพื่อขัดขวางแผนสันติภาพของปาเลสไตน์ฝ่ายตรงข้ามด้วย ไม่ว่าจะบรรลุผลหรือไม่ สำหรับชาวอิสราเอล และ ชาวปาเลสไตน์ ย่อมตกเป็นผู้สูญเสียทั้งสิ้น และยิ่งทำให้ปมขัดแย้งร้อยปียิ่ง.–สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รถทัวร์โดยสารชนท้ายเทรลเลอร์ เสียชีวิต-บาดเจ็บจำนวนมาก

รถทัวร์โดยสารชนท้ายรถบรรทุกเทรลเลอร์ บนถนนสาย 304 จังหวัดปราจีนบุรี ทำให้ไฟลุกไหม้รถทัวร์โดยสาร เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก

ชาวบ้านยอมรับค่าเยียวยาหลังละ 1 หมื่นบาท จากเจ้าของที่ดิน

ชาวบ้านยอมรับการเยียวยา บ้านละ 1 หมื่นบาท จากเจ้าของที่ดินใน จ.ระยอง หลังถมที่สูงมิดหลังคาของเพื่อนบ้าน และรับปากจะเร่งแก้ไขให้ทันหน้าฝนที่จะถึงนี้ แต่ชาวบ้านยังหวั่นใจ หากแก้ไขไม่ทันก็ยังจะเดือดร้อน น้ำจะไหลลงมาบ้านที่อยู่ต่ำกว่า

“พีช” หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายแล้ว

“นายกเบี้ยว” พร้อมลูกชาย หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายก่อนแล้ว จึงฝากจดหมายขอโทษไว้ ด้าน “กัน จอมพลัง” ยอมถอย ให้สองฝ่ายพูดคุย แต่ต้องเป็นรูปธรรม

ข่าวแนะนำ

โป๊ปฟรังซิส สิ้นพระชนม์แล้ว ขณะพระชนมายุ 88 พรรษา

สำนักวาติกัน แถลงผ่านทางโทรทัศน์ของสำนักวาติกันว่า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกและพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกันสิ้นพระชนม์แล้วในวันนี้

นายกฯ ปัดตอบ ผลสำรวจอยากให้ปรับ ครม.

“นายกฯ อิ๊งค์” ไม่ตอบคำถามผลสำรวจอยากให้ปรับ ครม. บอกพรุ่งนี้ตอบทีเดียว ก่อนแซว “ประเสริฐ” ปรับให้แล้ว เหตุพูดตำแหน่ง “จุลพันธ์” ผิด จาก รมช.คลัง เป็น รมช.มหาดไทย

Pope inaugurated the Holy Year on Christmas Eve on December 24, 2024

เปิดพระประวัติโป๊ปฟรังซิส

วาติกัน 21 เม.ย.- เว็บไซต์ข่าวโทรทัศน์ซีเอ็นบีซี (CNBC) ของสหรัฐ เปิดพระประวัติที่น่าสนใจ 10 ประการของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกและพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน ที่สิ้นพระชนม์วันนี้ (21 เม.ย.68) ขณะมีพระชนมายุ 88 พรรษา ประการที่ 1 ทรงเป็นพระสันตะปาปาลาตินอเมริกันและเยสุอิตคนแรก สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส มีพระนามเดิมว่า ฮอร์เก มาริโอ เบร์โกกลิโอ ประสูติวันที่ 17 ธันวาคม 2479 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา เป็นพระสันตะปาปาลาตินอเมริกันคนแรกของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก แตกต่างจากผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาเกือบ 200 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอิตาลี ทรงมาจากนอกทวีปยุโรปในฐานะพระสันตะปาปาพระองค์ที่ 266 และเป็นนักบวชคณะเยสุอิตคนแรกที่ขึ้นดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา ประการที่ 2  ทรงมีพื้นเพมาจากอิตาลี แม้ว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสประสูติในอาร์เจนตินา แต่ท่านมีมรดกทางชาติพันธุ์จากอิตาลี จากการที่บิดามารดาเป็นผู้อพยพชาวอิตาลี บิดาทำงานเป็นนักบัญชีในทางรถไฟ ขณะที่มารดาอุทิศตนให้กับการเลี้ยงลูกทั้ง 5 คน ประการที่ 3 ทรงศึกษาด้านเคมีและปรัชญา สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสศึกษาปรัชญาและมีปริญญาโทในด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส ทรงศึกษาในโรงเรียนเทคนิคและได้ฝึกอบรมเป็นช่างเทคนิคเคมี ก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนาแห่งอัครสังฆมณฑลบิญญา เดโวโต […]