ครม.เห็นชอบแต่งตั้ง ขรก.-คกก.ตามที่แต่ละกระทรวงเสนอ

ทำเนียบรัฐบาล 7 มี.ค.- ครม.เห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการและคณะกรรมการฯ ตามที่แต่ละกระทรวงเสนอ – แต่งตั้ง “สุวิช สุทธิประภา” เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ


น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบในเรื่องแต่งตั้ง วันที่ 7 มีนาคม 2566 ดังนี้

1.การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงพาณิชย์) โดยคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้ง นางมนัสนิตย์ จิรวัฒน์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาการพาณิชย์ (นักวิชาการพาณิชย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป


2.การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ) โดยคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง นายพิชิต บุญสุด อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ

3.การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (ครั้งที่ 1) (กระทรวงพลังงาน) โดยคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ 4 ปี ในวันที่ 6 เมษายน 2566 ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 1) ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2566 ถึงวันที่ 6 เมษายน 2567

4.การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ โดยคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอแต่งตั้ง นายประสิทธิ์ วัฒนาภา เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ แทนประธานกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว


5.การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวม 6 คน ได้แก่ นายสมัย โชติสกุล เป็นประธานกรรมการ นายวรพนธ์ ตันติวันรัตน์ เป็นกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง นายเสน่ห์ สุขหล้า เป็นกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง นายนิคม เกษมปุระ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นายกฤษฎา ชัยกุล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และนายอำนวย ภู่ระหงษ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป

6.การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน โดยคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน จำนวน 7 คน ได้แก่ นายสิงหเดช ชูอำนาจ นายสมบัติ นิเวศรัตน์ นางสุภางค์ จันทวานิช นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว นายบวรนันท์ ทองกัลยา นายพิชัย ซื่อมั่น และนายเกษม มหัทธนทวี ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป

7.การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ จำนวน 9 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี ได้แก่ นายเธียรชัย ณ นคร ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ ศาสตราจารย์นันทวัฒน์ บรมานันท์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ นายวิทวัส ชัยภาคภูมิ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ นายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ นายเชิดศักดิ์ หิรัญสิริสมบัติ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ พลเอกประชาพัฒน์ วัจนะรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ นางสาวธิดารัธ ธนภรรคภวิน ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ และนายสุวิช สุทธิประภา ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป

8.การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม แทนประธานกรรมการและกรรมการอื่นที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ โดยคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม แทนประธานกรรมการและกรรมการอื่นที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ได้แก่ นายโอภาส การย์กวินพงศ์ (ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข) เป็นประธานกรรมการ และนายสุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย (ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข) เป็นกรรมการ ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป และให้มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่ง คือเท่ากับวาระของคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมชุดปัจจุบันที่คงเหลืออยู่.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง