นายกฯ เผยมีกำหนดยุบสภาในใจแล้ว ปัดถ่วงเวลาเอื้อ รสทช.

รัฐสภา 17 ก.พ.- นายกฯ พร้อมฟังข้อเสนอฝ่ายค้านแก้ปัญหาประเทศ – เผยมีกำหนดยุบสภาในใจแล้ว ปัดถ่วงเวลาเอื้อ รสทช. – หวังเลือกตั้งบริสุทธิ์ สร้างสรรค์ มุ่งประโยชน์ประเทศ-ประชาชน


พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นการอภิปรายทั่วไปรัฐบาลโดยไม่มีการลงมติของฝ่ายค้าน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 ว่า ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเชื่อว่า ทุกคนจะทราบดีว่า นายกรัฐมนตรี พยายามดำเนินการให้ประเทศไทยเดินหน้าไปให้ได้ และทีมงานได้พยายามทำหน้าที่อย่างเต็มที่ แต่ปัญหาประเทศมีความซับซ้อน ต้องใช้ระยะเวลา พร้อมเห็นว่า การอภิปรายของฝ่ายค้านตลอด 2 วันที่ผ่านมา มีทั้งที่เป็นประโยชน์ ที่จะเป็นข้อมูลให้รัฐบาลนำไปปรับปรุงแก้ไข และพร้อมอดทนรับฟัง เพื่อประเทศชาติ และประชาชน โดยปฏิเสธที่จะให้คะแนนการอภิปรายของฝ่ายค้าน รวมถึงการตอบชี้แจงของตนเองต่อสภาด้วย แต่ขอให้ประชาชนที่รับฟังเป็นผู้พิจารณา และเข้าใจว่า ส.ส.หลายคนมีความปรารถนาดี แต่ก็มี ส.ส.ส่วนหนึ่งที่ยังเข้าใจคลาดเคลื่อน

นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงการกำชับ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลเข้าร่วมการประชุมรัฐสภา ในวันนี้ (17 ก.พ.) ที่จะมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติว่า ได้พยายามเน้นย้ำ ส.ส.มาตลอด เนื่องจากเป็นร่างกฎหมายสำคัญ ที่รัฐบาลควรจะดำเนินการให้เสร็จสิ้น ซึ่งฝ่ายบริหารได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ จึงขอให้ฝ่ายนิติบัญญัติช่วยกันพิจารณา เพื่อไม่ให้กฎหมายบังคับใช้ล่าช้า จนเกิดผลกระทบตามมา และการแก้ปัญหาล่าช้า


ส่วนการลงพื้นที่หาเสียงหลังจากนี้จะเข้มข้นขึ้นหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี ไม่ขอให้มองการลงพื้นที่เป็นการหาเสียงทั้งหมด เพราะที่ผ่านมาได้ปฏิบัติหน้าที่มาโดยตลอด แม้หลังจากนี้จะต้องมีการลงพื้นที่อยู่บ้าง แต่คงไม่มาก และยังคงต้องทำตามหน้าที่นายกรัฐมนตรี ที่แม้จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นแล้ว ก็ยังคงต้องรักษาการ โดยจะยังคงทำหน้าที่เช่นเดิม ตามกรอบกฎหมายกำหนด พร้อมยังเห็นว่า การหาเสียงของพรรคการเมืองบางครั้งหาเสียงไว้แล้ว แต่ไม่สามารถทำจริงได้ จึงต้องพยายามหาเสียงให้สามารถปฏิบัติได้จริง ภายใต้งบประมาณ และเงื่อนไขที่มีจำกัด

พลเอกประยุทธ์ ยังปฏิเสธที่จะกล่าวถึงความพร้อมในการร่วมเวทีดีเบตนโยบายพรรคการเมือง เพียงแต่ระบุว่า ยังไม่ได้ตัดสินใจ และจะต้องพิจารณาโอกาส และความเหมาะสม รวมถึงปัจจุบันก็มีการสื่อสารทุกวันอยู่แล้ว

นายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยถึงกำหนดการยุบสภาด้วยว่า มีกำหนดไว้ใจในล่วงหน้าแล้ว โดยปฏิเสธว่า จะเป็นสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคมหรือไม่ เนื่องจากจะต้องรอการตัดสินใจอีกครั้ง รวมถึงการวางแผนงานต่าง ๆ ล่วงหน้า แต่มั่นใจว่า หลายพรรคการเมืองมีความพร้อมอยู่แล้ว และสำหรับพรรครวมไทยสร้างชาตินั้น ก็เชื่อว่า มีความพร้อมเช่นเดียวกัน พร้อมยืนยันว่า ไม่มีการถ่วงเวลาเพื่อให้พรรครวมไทยสร้างชาติมีความพร้อมสำหรับการเลือกตั้งก่อน โดยหวังว่า การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น จะเป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธ์ สร้างสรรค์ มองประโยชน์ประเทศชาติ และประชาชนสำคัญที่สุด เพื่อให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้ .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง