เตือนควันบุหรี่มือสอง-มือสาม ล้อมเด็กไทย พบ 23.7% ยังสูบในบ้าน

กรุงเทพฯ 19 ธ.ค.- เตือนภัยมัจจุราชเงียบ! ควันบุหรี่มือสอง มือสาม ล้อมเด็กไทย พบ 23.7% ยังสูบบุหรี่ในบ้าน แพทย์ชี้นิโคตินส่งผลเปลี่ยนพันธุกรรมสืบทอดรุ่นต่อรุ่น เสพติดเป็นวงจร สสส.สานพลังปลุกกระแส “กลับบ้านปีใหม่ ไร้ควันบุหรี่” เปิดใจเด็ก 10 ขวบ ขอพ่อเลิกบุหรี่สำเร็จ เป็นของขวัญที่ดีใจที่สุด


เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2565 ที่โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน รัชดา น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในงานเสวนา “กลับบ้านปีใหม่ ไร้ควันบุหรี่” จัดโดยสมาคมเครือข่ายพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ เครือข่ายครอบครัวปลอดบุหรี่ เครือข่ายสื่อสร้างสรรค์เพื่อการขับเคลื่อนสังคม (Media Move) และ สสส. ว่าผลสำรวจจากองค์การอนามัยโลกปี 2562 พบทั่วโลกมีเด็ก 65,000 คน เสียชีวิตก่อนอายุ 5 ปี มีสาเหตุจากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ขณะที่ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่ยังสูบบุหรี่ในบ้าน 23.7% ในจำนวนนี้ 67.5% มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ในบ้านทุกวัน นอกจากนี้ ในทุก 10 ครัวเรือน ที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ จะมี 5 ครัวเรือนที่มีคนสูบบุหรี่ ในจำนวนนี้มี 3 ครัวเรือนมีการสูบในบ้าน

“สสส. ให้ความสำคัญการส่งเสริมให้บ้านปลอดบุหรี่ เพราะช่วยลดความเสี่ยงจากการรับควันบุหรี่มือสอง มือสามของสมาชิกในบ้าน และมีส่วนทำให้สมาชิกในบ้านที่สูบบุหรี่สามารถลดและเลิกบุหรี่สำเร็จ ที่สำคัญยังเป็นการปกป้องเยาวชนไม่ให้ทดลองสูบบุหรี่ เพราะคนในครอบครัวที่ไม่สูบบุหรี่จะเป็นต้นแบบในการรักสุขภาพของตนเองและคนใกล้ชิด เนื่องในโอกาสเทศกาลวันปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง สสส.ขอเชิญชวนผู้ที่สูบบุหรี่ให้ใช้ช่วงเวลาปีใหม่ปีนี้ ตั้งปณิธานในการเลิกบุหรี่ เพื่อเป็นของขวัญแทนความห่วงใยให้ตัวเองและครอบครัวที่คุณรัก ทั้งนี้ หากผู้ที่สูบบุหรี่ต้องการความช่วยเหลือในการเลิกบุหรี่สามารถโทรขอคำปรึกษาได้ฟรีที่สายเลิกบุหรี่ 1600” น.ส.รุ่งอรุณ กล่าว


นางอัญญมณี บุญชื่อ หัวหน้าโครงการพัฒนาจิตสำนึกเพื่อรู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยงบุหรี่และสุรา (โครงการอาสา) สนับสนุนโดย สสส. กล่าวว่า เด็กเล็กมีโอกาสเป็นกลุ่มเสี่ยงโดยตรงจากภัยจากบุหรี่ เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าผู้ใหญ่ จึงทำให้เมื่อรับสารพิษจากบุหรี่มือสองคือควันบุหรี่ และบุหรี่มือสามคือเถ้าบุหรี่ จะส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กกลุ่มนี้อยู่ในบ้านและในรถถึง 85% ของแต่ละวัน องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า การป้องกันการสูบบุหรี่และการดื่มสุราควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กที่ยังไม่เคยตระหนักหรือมีนิสัยนี้มาก่อน โครงการฯ จึงออกแบบกิจกรรมให้เด็กรับมือจากภัยของบุหรี่ ผ่าน 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1.ละครสร้างการตระหนักถึงภัย 2.กิจกรรมวินิจฉัยความเป็นกลุ่มเสี่ยงผ่านดราม่าเกม 3.กิจกรรมการจัดการความเครียดด้วยตนเองแทนการใช้บุหรี่ 4.กิจกรรมการดูแลตนอย่างสร้างสรรค์ และ 5.กิจกรรมสร้างไอดอลเด็ก ให้เด็กเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ปกครองเกิดการได้คิดจากผลของบุหรี่ที่มีต่อคนในครอบครัว โดยมีครูเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างบ้านและโรงเรียนในการดูแลเด็กๆ

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม กล่าวว่า คนที่ได้รับบุหรี่มือสอง นิโคตินที่อยู่ในบุหรี่จะเข้าสู่กระแสเลือดถึงแม้ว่าไม่ได้เป็นผู้สูบบุหรี่เอง เช่นเดียวกับทารกในครรภ์ นิโคตินสามารถเข้าสู่กระแสเลือดเด็กได้ง่าย ข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า สารนิโคตินจะส่งผลต่อยีนโน้มนำในต่อมเพศในครรภ์มารดา เมื่อแต่งงานมีลูก ลูกจะมียีนโน้มนำในการเสพติด ทำให้เสพติดได้ง่าย ยีนโน้มนำส่งผลทางพันธุกรรมสืบทอดไปยังรุ่นต่อรุ่นเหมือนกรณีโรคเบาหวาน และมีความเสี่ยงเพิ่มมากยิ่งขึ้น เมื่อไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีนิโคตินติดอยู่

นางฐาณิชชา ลิ้มพานิช ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมบทบาทพ่อแม่เพื่อสังคม กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานครอบครัวปลอดบุหรี่ โดยการสร้างการเรียนรู้เรื่องพิษภัยบุหรี่ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนในครอบครัว พบผู้เข้าร่วมกิจกรรม 208 คน มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่คือ ไม่สูบบุหรี่ในบ้านและบริเวณบ้าน 171 คน ในจำนวนนี้ ลดปริมาณการสูบได้ 135 คน และเลิกสูบบุหรี่ได้ 24 คน หนึ่งในสาเหตุที่ต้องการเลิกบุหรี่คือ อยากให้ลูกภูมิใจ และตระหนักถึงผลกระทบต่อคนในครอบครัว


ด.ญ.ปัญจรัตน์ หรือน้องออร์แกน อายุ 10 ขวบ กล่าวว่า ปัจจุบันพ่อเลิกสูบบุหรี่มากกว่า 3 ปีแล้ว ช่วงที่พ่อยังสูบบุหรี่ จะออกไปสูบนอกบ้านหรือหน้าบ้านวันละหลายครั้ง เพราะแม่ไม่ให้สูบในบ้าน เนื่องจากแม่มีอาการโรคภูมิแพ้ SLE ส่วนตนเอง มีอาการโรคหอบ เมื่อได้กลิ่นบุหรี่ หรือสัมผัส จะไอและคันตามตัว เมื่อพ่อสูบบุหรี่เสร็จจะกลับเข้าบ้านพร้อมกลิ่นบุหรี่ติดตัว เสื้อผ้า หรือที่นั่งบนโซฟา สิ่งที่ทุกคนได้รับตามมาคือสุขภาพของคนในบ้าน ทำให้มึนหัวและเป็นภูมิแพ้ตลอด

“จุดเปลี่ยนที่ทำให้พ่อเลิกบุหรี่ คือหนูเดินไปบอกว่าขอให้พ่อเลิกสูบบุหรี่ เพื่อสุขภาพของหนูและแม่ หนูไม่อยากให้พ่อเป็นมะเร็ง พ่อจึงตัดสินใจเลิกบุหรี่ ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน สู้กับตัวเอง ค่อยๆ ลดจนเลิกได้สำเร็จ ทำให้บ้านของเราไม่มีกลิ่นบุหรี่ พ่อก็ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีกลิ่นปาก ไม่มีกลิ่นตัว สุขภาพของพ่อเริ่มดีขึ้น และไม่ทะเลาะกันเรื่องกลิ่นบุหรี่อีกแล้ว” ด.ญ.ปัญจรัตน์ กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

งด ครม.

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” วันศุกร์

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” ศุกร์นี้ นายกฯ ตั้งเป้าปีหน้าน้ำท่วมภาคเหนือต้องไม่เกิดอีก ด้าน ศปช. เตรียมเสนอแผนแก้อย่างเป็นระบบใน ครม.สัญจร ศุกร์นี้

วิเคราะห์การเมืองสนามใหญ่ หลังศึกเลือกตั้งนายก อบจ.

วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 4 สนามใหญ่ โดยเฉพาะอุดรธานี ที่สะท้อนถึงความนิยมในตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี