ความคืบหน้าการผลิตวัคซีนโควิด-19

20 พ.ย.-พาไปดูความคืบหน้าการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากทั่วโลก รวมทั้งในไทย ซึ่งวัคซีนของแต่ละประเทศมีข้อจำกัด และผลทดสอบแตกต่างกันไป


เริ่มที่วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) และไบออนเทค (BioNTech) สหรัฐอเมริกา ถือเป็นข่าวดีที่แสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้ มีชื่อเรียกว่าวัคซีนอาร์เอ็นเอ
-ชุดแรก เตรียมการฉีดก่อนเทศกาลคริสต์มาส ความท้าทายคือการขนส่งวัคซีนที่จะต้องจัดทำภายใต้อุณหภูมิลบ 80 องศาเซลเซียส
-ยังไม่สามารถตอบได้ว่า ผู้รับวัคซีนจะมีภูมิคุ้มกันยาวนานแค่ไหน อาจจำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นทุกปี เช่นเดียวกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
-ข้อจำกัดคือ ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจะไม่สามารถรับวัคซีนนี้ได้ คาดว่าจะสามารถผลิตได้จำนวน 1.3 พันล้านโดสภายในสิ้นปีหน้า แต่บริษัททั้งสองสามารถร่วมมือกับผู้ผลิตวัคซีนรายอื่นๆ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้นได้ เช่นร่วมมือกับประเทศไทย

นายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติเผย รัฐบาลไทยเตรียมประสานขอข้อมูลเชิงลึกกับบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ผู้คิดค้นวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในสัปดาห์ที่สามของเดือน พ.ย.นี้ ภายหลังมีการเปิดเผยผลวิเคราะห์ในขั้นแรกของวัคซีนจากบริษัทยารายใหญ่ในต่างประเทศ ว่าสามารถป้องกันไม่ให้คนติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้ถึง 90% ส่วนการผลิตวัคซีนที่รัฐบาลไทยสนับสนุน ยังเดินหน้าตามแผนเดิมเริ่มทดสอบในคน ต้นเดือนมกราคมปีหน้า ซึ่งวัคซีนที่ผลิตในไทย ไว้ใช้เองในประเทศ อยู่ระหว่างการพัฒนา 20 กว่าชนิด หลักๆ ที่มีความคืบหน้ามากที่สุด คือ วัคซีนชนิด mRNA และวัคซีนชนิด DNA
1.วัคซีนชนิด mRNA พัฒนาโดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิจัยและพัฒนาวัคซีน จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
-ข้อจำกัดคือผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ไม่สามารถรับวัคซีนนี้ได้
-ปัจจุบันอยู่ระหว่างทดสอบในสัตว์ทดลองเพื่อดูประสิทธิผลของวัคซีน ก่อนเริ่มทดสอบในคนราวเดือน ม.ค. ปีหน้า
2.ส่วนวัคซีนชนิด DNA พัฒนาโดยบริษัทไบโอเน็ตเอเชีย ได้รับทุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย ให้ทดสอบในคนระยะที่ 1 และจะมีการทดสอบระยะที่ 2 ในไทยประมาณต้นปีหน้า ซึ่งราวปลายเดือนมีนาคม 2564 ไทยน่าจะได้คำตอบว่าการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีนโควิดที่พัฒนาในประเทศอยู่ที่ระดับใด แต่หากประเทศไทยยังคงควบคุมโรคได้ดี จะไม่มีกลุ่มตัวอย่างเพียงพอสำหรับการทดลอง ซึ่งจำเป็นต้องไปขอความร่วมมือกับประเทศอื่นที่มีการระบาดของโรคต่อเนื่อง หรือใช้ผลที่ได้จากการทดสอบในประเทศไทยไปเทียบเคียงกับประเทศอื่นที่มีความก้าวหน้ามากกว่า เพื่อขอการรับรองจากองค์การอาหารและยาอนุมัติให้ขึ้นทะเบียน


วัคซีนของรัสเซีย
-ขึ้นทะเบียนวัคซีนต้านโควิด ตัวที่ 2 แล้ว โดยใช้ชื่อว่า เอพิวัคโคโรนา (EpiVacCorona) มีอาสาสมัครเข้าร่วมการทดสอบทางคลินิกของวัคซีนตัวนี้ 100 คน
-เป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพด้านการกระตุ้นภูมิคุ้มกันสูง
-ส่วนวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ตัวแรก ที่ขึ้นทะเบียน เมื่อช่วงต้นเดือนส.ค.2563 ใช้ชื่อว่า สปุตนิกไฟว์ (Sputnik V) ตามดาวเทียมที่รัสเซียยิงขึ้นสู่อวกาศเมื่อปี 1957
-ผลการทดสอบขั้นต้นที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันโรค
-ผลข้างเคียงน้อย ถือเป็นวัคซีนโควิดที่ได้รับการอนุมัติเป็นชนิดแรกของโลก ตามรายงานของรอยเตอร์ อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยมองว่ายังต้องเดินหน้าทดสอบกับมนุษย์ในวงกว้างและในระยะยาว เพื่อดูเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนต้านโควิด-19 ในระยะยาว
-ตั้งเป้าผลิตวัคซีนโควิดให้ได้ราว 1.5-2 ล้านโดสต่อเดือนภายในสิ้นปีนี้ และจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 6 ล้านโดสต่อเดือนได้

ด้านเยอรมนีเผยความสำเร็จของการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 แซงหน้าคู่แข่งรายอื่นๆ โดยวัคซีน ที่มีชื่อว่า ซีวีเอ็นคอฟ (CVnCoV) สามารถอยู่ในสภาพอุณหภูมิห้องได้นาน ถึง 24 ชั่วโมง ไม่ต้องแช่แข็งในอุณหภูมิติดลบตลอดเวลา สามารถแช่เย็นด้วยอุณหภูมิมาตรฐานของตู้เย็นทั่วไป ทำให้ช่วยรักษาคุณภาพของวัคซีนได้ง่ายขึ้น ลดภาระในการจัดเก็บวัคซีน ถือเป็นความก้าวหน้าเหนือวัคซีนบีเอ็นที162บี2 (BNT162b2) ที่พัฒนาโดยไฟเซอร์ (Pfizer) บริษัทยายักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ร่วมกับบริษัทไบโอเอ็นเท็ค(BioNTech) ของเยอรมนี ที่เพิ่งประกาศว่ามีประสิทธิภาพมากกว่า 90% แต่ต้องแช่แข็งไว้ที่อุณหภูมิลบ 70 องศาเซลเซียส และวัคซีนจะอยู่ได้เพียง 24 ชม.เมื่ออยู่ในตู้เย็นทั่วไป

ก่อนหน้านี้ เพจเฟซบุ๊ก “ไทยคู่ฟ้า” โพสต์เมื่อวันที่ 18 พ.ย. ว่ามีข่าวดีจากที่ประชุม ครม.มาบอก ล่าสุดประเทศไทยจะได้จองวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ล่วงหน้า จำนวน 26 ล้านโดส กับบริษัท AstraZeneca (Thailand) จำกัด และบริษัท AstraZeneca UK จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตวัคซีนที่กำลังทดสอบในคนระยะที่ 3 โดยใช้งบ 2,379,430,600 บาท ซึ่ง ครม.ได้อนุมัติแล้ว จากนั้นก็จะจัดซื้อวัคซีนที่ได้จากการจองล่วงหน้า วงเงิน 1,500 กว่าล้าน และมีค่าบริหารจัดการวัคซีน อีก 2,000 กว่าล้าน มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือน พ.ย.63- ธ.ค.64


วัคซีนจำนวนนี้จะช่วยลดอัตราการป่วย เสียชีวิต และค่าใช้จ่ายภาครัฐในการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ครอบคลุมคนไทย 13 ล้านคน โดยหากพัฒนาวัคซีนสำเร็จเราจะมีวัคซีนใช้ทันทีและจะเป็นประเทศแรกๆ ที่เข้าถึงวัคซีน เพราะเราได้จองซื้อล่วงหน้า ไม่เช่นนั้นอาจไม่ได้มาหรืออาจต้องจ่ายเงินซื้อในราคาสูง การจองซื้อนี้เราจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมาด้วย เพื่อให้ผลิตได้เองภายในประเทศ ไม่ต้องกังวลเรื่องการขนส่งและความเสียหาย

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คนไทยเริ่มใส่หน้ากากป้องกันโรคลดลงจากกว่า 90% เหลือเพียง 50% จึงต้องสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้คนกลับมาสวมหน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่างให้ใกล้เคียงแบบเดิม เพราะไม่ว่าที่ไหนเรายังคงมีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 อยู่.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตักบาตรปีใหม่

ปชช.ร่วมตักบาตรวันปีใหม่ 2568 เพื่อความเป็นสิริมงคล

ประชาชนร่วมกิจกรรมตักบาตร​ รับปีใหม่ 2568 เนืองแน่น​ “สุดาวรรณ” เผยตัวเลขสวดมนต์ข้ามปี กว่า 12 ล้านคน พร้อมเชิญชวนสักการะพระเขี้ยวแก้ว ถึง 14 ก.พ.นี้

“SIAM PARAGON THE MAGICAL COUNTDOWN CELEBRATION 2025”

สยามพารากอนคึกคัก เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติที่กำลังสนุกสนานกับบทเพลงจากเหล่าศิลปินดังที่มาเพิ่มความสุขด้วยบทเพลงและโชว์สุดอลังการ

ประชาชนเนืองแน่น ไหว้พระเขี้ยวแก้ว-สวดมนต์ข้ามปี

ประชาชนยังหลั่งไหลสักการะพระเขี้ยวแก้ว ทำบุญ รอสวดมนต์ข้ามปี ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยปีนี้กรมการศาสนาร่วมกับภาคีเครือข่ายและวัดทั้ง 76 จังหวัด จัดสวดมนต์ข้ามปี

ข่าวแนะนำ

ข่าวแห่งปี 2567 : การเมืองปี 68 พรรคการเมืองยังต้องรักษาดุลยภาพทางอำนาจ

วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองปี 2568 ทนักวิชาการมองว่าจะมีปัญหารุมเร้า แต่เชื่อว่ารัฐบาลจะผ่านไปได้

บขส.โคราช คนแน่น รอรถอย่างน้อย 5 ชม.

หลังเดินทางกลับไปฉลองเทศกาลปีใหม่ที่ภูมิลำเนา วันนี้ (1 ม.ค.) ประชาชนเริ่มทยอยเดินทางกลับเข้า กทม. เพื่อทำงานในวันพรุ่งนี้ ขนส่งหลายจังหวัดคนแน่น เพราะต้องรอรถเปล่าตีจากกรุงเทพฯ ขึ้นไปรับ

ทยอยกลับกรุง

ถ.มิตรภาพ ช่วง อ.ปากช่อง รถหนาแน่นเต็มพื้นที่

วันหยุดเทศกาลปีใหม่วันสุดท้าย ประชาชนทยอยเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ ทำให้วันนี้ถนนมิตรภาพ ปริมาณรถช่วง อ.ปากช่อง หนาแน่นเต็มพื้นที่ แต่ยังเคลื่อนตัวได้เรื่อยๆ