ซาอุฯสกัดจรวดที่กบฏเยเมนยิงเข้ามาถึง 7 ลูก

ริยาด 26 มี.ค.- กองกำลังซาอุดีอาระเบียสกัดขีปนาวุธที่กลุ่มกบฏเยเมนยิงข้ามพรมแดนเข้ามาถึง 7 ลูกเมื่อวานนี้ เกือบครึ่งยิงตรงมายังกรุงริยาด ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดก่อนครบรอบ 3 ปีที่ซาอุดีอาระเบียเป็นแกนนำกองกำลังแทรกแซงเยเมนในวันนี้ 


ซาอุดีอาระเบียเผยว่า กลุ่มกบฏฮูธียิงขีปนาวุธ 3 ลูกมายังกรุงริยาด ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 2 คน ส่วนอีก 4 ลูกยิงไปยังย่านที่มีผู้คนอาศัยหนาแน่นตามเมืองทางตอนใต้ ชาวกรุงริยาดเผยว่า ได้ยินเสียงดังสนั่นและไฟสว่างวาบเหนือท้องฟ้าช่วงก่อนเที่ยงคืน กองกำลังพันธมิตรที่นำโดยซาอุดีอาระเบียแถลงว่า การกระทำก้าวร้าวและเป็นปรปักษ์ของกลุ่มกบฏฮูธีที่มีอิหร่านหนุนหลังเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า อิหร่านยังคงสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธที่มีศักยภาพทางทหาร การยิงขีปนาวุธหลายลูกมุ่งเป้าหมายที่เป็นเมืองถือเป็นเรื่องร้ายแรง 

สถานีโทรทัศน์มาซิราของกลุ่มฮูธีรายงานอ้างว่า ทางกลุ่มได้ยิงขีปนาวุธใส่ท่าอากาศยานสากลคิงคาลิดในกรุงริยาด และทางวิ่งเครื่องบินในเมืองทางตอนใต้ของซาอุดีอาระเบียหลายเมือง กลุ่มฮูธียิงขีปนาวุธเข้ามาในซาอุดีอาระเบียตั้งแต่ปีก่อน ซาอุอาระเบียอ้างว่าสามารถสกัดได้ทั้งหมด 


กลุ่มฮูธีเข้ายึดกรุงซานาของเยเมนตั้งแต่เดือนกันยายน 2557 และขยายพื้นที่ยึดครองไปเรื่อย ๆ ทำให้กองกำลังพันธมิตรนำโดยซาอุดีอาระเบียเข้าไปแทรกแซงตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2558 จนถึงขณะนี้ การสู้รบทำให้มีผู้คนล้มตายร่วมหมื่นคน บาดเจ็บ 53,000 คน สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระบุว่า สถานการณ์ในเยเมนเป็นวิกฤตด้านมนุษยธรรมร้ายแรงที่สุดในโลก ประชาชน 8.4 ล้านคนกำลังอดอยาก แต่การเจรจาสันติภาพที่ยูเอ็นเป็นเจ้าภาพหวังยุติการนองเลือดล้มเหลวมาแล้วหลายรอบ.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เชียงใหม่อากาศแปรปรวน เจอลมหนาว-ฝนตก 3 วันติด

ชาวเชียงใหม่เจอลมหนาวและฝนตกต่อเนื่อง 3 วันติด อุตุฯ ย้ำอากาศแปรปรวน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ยังมีฝนตกและลมหนาว แนะรักษาสุขภาพ

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นตอนเช้า-ภาคใต้ฝนหนัก

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นในตอนเช้า เตือนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พร้อมอัปเดตเส้นทางพายุ “หยินซิ่ง”

MOU44

MOU 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง ตอนที่ 1

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องเอ็มโอยู 44 และเส้นแบ่งอาณาเขตทางทะเล หรือเส้นเคลม กลายเป็นปมร้อน ท่ามกลางความกังวลถึงผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และสิทธิเหนือเกาะกูด ติดตามความเห็นและมุมมองจากผู้เกี่ยวข้องในรายงาน “ปมร้อน เอ็มโอยู 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง”