เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย จัดงานวันชาติปีที่ 76

กรุงเทพฯ 5 มิ.ย. – เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย แสดงความรำลึกอาลัยในวันชาติครบรอบปีที่ 76 ต่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์โจมตีโดยกลุ่มฮามาส และเรียกร้องให้ฮามาสปล่อยตัวประกันโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข


ฯพณฯ เออร์นา ซากิฟ เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย กล่าวในงานวันชาติอิสราเอลปีที่ 76 ว่า ปีนี้นับเป็นวาระการฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตกับราชอาณาจักรไทยครบปีที่ 70 ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงมิตรภาพและความร่วมมืออันยืนนานระหว่างทั้ง 2 ประเทศ บนพื้นฐานของการเคารพซึ่งกันและกัน การมีค่านิยมร่วมกันและยึดมั่นในพันธกิจเดียวกันเพื่อสร้างสันติภาพและความก้าวหน้า ในงานดังกล่าว เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยยังได้กล่าวรำลึกถึงเหยื่อสงครามการก่อการร้าย ที่กลุ่มติดอาวุธฮามาสบุกเข้าถล่มโจมตีถึงในดินแดนของอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 จนทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,200 คน ภายในวันเดียว โดยรวมถึงแรงงานไทย 41 คนด้วย แม้เวลาผ่านไป 8 เดือนแล้ว แต่จนถึงปัจจุบัน ยังคงมีผู้บริสุทธิ์อีกมากถึง 125 คน ในจำนวนนี้มีทั้งเด็กและผู้หญิง รวมถึงคนไทย 6 คน ที่ถูกกลุ่มฮามาสจับเป็นตัวประกัน จึงขอเรียกร้องให้กลุ่มฮามาสปล่อยตัวประกันทั้งหมดโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข

พร้อมกันนี้ เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ยังกล่าวย้ำชื่นชมบรรดาแรงงานไทยที่ได้สร้างคุณานุปการให้แก่อุตสาหกรรมการเกษตรและเศรษฐกิจของอิสราเอล และแสดงความหวังว่า ไทยกับอิสราเอล จะยังคงสานความสัมพันธ์ต่อกันให้แนบแน่นยิ่งขึ้นทั้งในด้านนวัตกรรม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม นอกเหนือไปจากความร่วมมือด้านการเกษตร เทคโนโลยี และการศึกษา เพื่อก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ ไปสู่โลกที่มีสันติภาพและความมั่นคง รุ่งเรืองร่วมกัน


เพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้เสียชีวิต ในวาระดังกล่าว สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย จึงได้เปิดตัวงานศิลปะที่ศิลปินชาวอิสราเอลและชาวไทย คือ Sammy Nidam และ เสกสรรค์ ทุมมัย ได้ร่วมกันสรรสร้างในชื่อ “Nirvana Gate” หรือ ประตูแห่งนิพพาน โดยเสกสรรค์ ทุมมัย ศิลปินไทยได้เผยถึงไอเดียการออกแบบว่า ได้แนวคิดจากตุงไยแมงมุงของคนไทยภาคเหนือ-อิสาน และเรื่องราวความเชื่อของชีวิตหลังความตายเป็นต้นแบบ ด้วยการนำวัสดุรูปทรงตุง จำนวน 41 ชิ้นเป็นสัญลักษณ์แทนจำนวนผู้เสียชีวิตชาวไทย ในกรอบสีทอง แทนสัญลักษณ์ประตูแห่งนิพพาน จัดวางในลักษณะแขวนตุง

ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวชื่นชมความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศที่ดำเนินไปอย่างแน่นแฟ้น พร้อมทั้งระบุว่า ตนและเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ผนึกกำลังร่วมมือกันอย่างดียิ่งนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์โรคระบาด Covid-19 จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอิสราเอล จะยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน.-801.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เชียงใหม่อากาศแปรปรวน เจอลมหนาว-ฝนตก 3 วันติด

ชาวเชียงใหม่เจอลมหนาวและฝนตกต่อเนื่อง 3 วันติด อุตุฯ ย้ำอากาศแปรปรวน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ยังมีฝนตกและลมหนาว แนะรักษาสุขภาพ

“อัจฉริยะ” ยื่นสอบปม “ทนายตั้ม” ปูดข่าวผู้บริหารปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ

“อัจฉริยะ” ยื่นหนังสือตรวจสอบข้าราชการช่วยผู้บริหารรัฐวิสาหกิจปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ คาดอาจมีทนายดังเข้าไปเอี่ยว เสนอตำรวจให้สอบพยานรายสำคัญที่เป็นประโยชน์กับ “มาดามอ้อย”

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊ก บช.ก. สอบปากคำ

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊กสอบสวนกลาง สอบปากคำ นานกว่า 5 ชั่วโมง ขณะที่พนักงานสอบสวนเตรียมเข้าค้น “ษิทรา ลอว์ เฟิร์ม” เช้าพรุ่งนี้ หาหลักฐานเพิ่ม ก่อนฝากขังช่วงบ่าย ค้านประกันตัว

“บิ๊กอ้อ” เผย “ทนายตั้ม-ภรรยา” มีพฤติการณ์หนี-ยุ่งเหยิงพยานฯ

“บิ๊กอ้อ” ชี้ตำรวจต้องออกหมายจับ “ทนายตั้ม” เหตุพบพฤติการณ์เตรียมหลบหนีออกนอกประเทศ และยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน นอกจากนี้ยังมีคดีต่อเนื่อง 3 คดี เตรียมแจ้งข้อหาเพิ่ม

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นตอนเช้า-ภาคใต้ฝนหนัก

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นในตอนเช้า เตือนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พร้อมอัปเดตเส้นทางพายุ “หยินซิ่ง”

MOU44

MOU 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง ตอนที่ 1

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องเอ็มโอยู 44 และเส้นแบ่งอาณาเขตทางทะเล หรือเส้นเคลม กลายเป็นปมร้อน ท่ามกลางความกังวลถึงผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และสิทธิเหนือเกาะกูด ติดตามความเห็นและมุมมองจากผู้เกี่ยวข้องในรายงาน “ปมร้อน เอ็มโอยู 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง”

ทนายตั้ม

“ทนายตั้ม” สร้างตัวตนผ่านสื่อ หวังหาผลประโยชน์หรือไม่

หลังจากพนักงานสอบสวนควบคุมตัว “ทนายตั้ม” และภรรยา เข้าเรือนจำไปแล้ว มีคำถามตามมาว่า ทนายคนดังสร้างตัวตนจนโดดเด่นในสังคม เพื่อหาผลประโยชน์จากความน่าเชื่อถือที่สร้างไว้หรือไม่