19 เม.ย. – กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ศึกษาวิธีการบินของยุง หวังต่อยอดศึกษาการเป็นพาหะนำเชื้อโรค และหาวิธีการรักษาป้องกันในท้ายที่สุด
กลุ่มนักวิทยาศาตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และวิทยาลัยรอยัล เวทเทอระเนอรี ร่วมกันไขปริศนาธรรมชาติด้วยการศึกษาวิธีการบินของยุง โดยใช้กล้องความเร็วสูงระดับซูเปอร์-ไฮ สปีด ถ่ายภาพ 10,000 ช็อตต่อวินาที หลังจากช่วงแรกใช้กล้องหนึ่งและสองตัวแล้วจับภาพได้ไม่ครบสมบูรณ์ เพราะมีปัญหาที่ขาและหนวดของยุง ทำให้สังเกตจังหวะขยับของปีกไม่ชัด ภาพที่ได้จากกล้องทั้ง 8 ตัว ทำให้สามารถวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของปีของยุงได้ โดยปีกยุงขยับ 800 ครั้ง/วินาที และสร้างจังหวะการยกตัวขึ้นบินที่ไม่เหมือนแมลงชนิดอื่นๆ ยุงใช้หลักอากาศกลศาสตร์ 3 จังหวะเพื่อยกตัวขึ้นบิน รวมทั้งจังหวะการบินของปีกที่ขยับแบบหมุนวนเพื่อสร้างแรงยกตัวขึ้นบิน ซึ่งแตกต่างจากจังหวะขยับปีกของแมลงอื่นๆ ทั่วไป
ทีมนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้เชื่อว่า เทคนิคการบินแบบเฉพาะของยุงจะเป็นแรงบันดาลใจสู่การออกแบบนวัตกรรมอุปกรณ์การบินในระดับเล็กในอนาคต และหวังว่าการเข้าใจการบินของยุงจะช่วยให้เข้าใจการเป็นพาหะนำเชื้อโรคของยุงและรู้จักวิธีรักษาป้องกันหรือหยุดยั้งได้ในท้ายที่สุด. – สำนักข่าวไทย