บขส. ตรึงราคาค่าโดยสาร 3 เดือนทุกเส้นทาง

กรุงเทพฯ 29 มิ.ย. – บขส. ไม่หวั่นราคาน้ำมันแพง ประกาศตรึงราคาค่าโดยสาร ทั้ง 46 เส้นทางทั่วไทย ช่วยลดค่าครองชีพให้ประชาชน ยาว 3 เดือน เชิญชวนประชาชนมาใช้บริการ คุณภาพบริการเหมือนเดิม


นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยถึงกรณีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง มีมติให้ปรับเพิ่มอัตราค่าโดยสารรถประจำทาง หมวด 2 (เส้นทางที่มีต้นทางจากกรุงเทพมหานครไปยังต่างจังหวัด) และหมวด 3 (เส้นทางระหว่างจังหวัดที่ไม่มีกรุงเทพมหานครเป็นต้นทางปลายทาง) กิโลเมตรละ 5 สตางค์ ในส่วน บขส. ขอยืนยันว่าจะตรึงราคาค่าโดยสารในอัตราเดิมต่อไป เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพ และเป็นทางเลือกในการเดินทางให้กับประชาชนตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ทั้งนี้ปัจจุบัน บขส. เปิดให้บริการเดินรถ ในเส้นทางภาคเหนือ จำนวน 15 เส้นทาง รวม 40 เที่ยววิ่ง (ไป-กลับ) อาทิ กรุงเทพ-เชียงใหม่ , กรุงเทพฯ-เชียงราย , กรุงเทพฯ-สุโขทัย-อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย , กรุงเทพฯ-(อุตรดิตถ์) พิษณุโลก , กรุงเทพฯ-แม่สาย , กรุงเทพฯ-หล่มเก่า ,กรุงเทพฯ-คลองลาน , กรุงเทพฯ-เชียงคำ , กรุงเทพฯ-ทุ่งช้าง , กรุงเทพฯ -เขื่อนภูมิพล , กรุงเทพฯ-สารจิตร และกรุงเทพฯ-ป่าแดด-เชียงของ เป็นต้น เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก จำนวน 18 เส้นทาง รวม 52 เที่ยววิ่ง (ไป-กลับ) อาทิ กรุงเทพฯ-หนองคาย , กรุงเทพฯ-เชียงคาน , กรุงเทพฯ-สุรินทร์ , กรุงเทพฯ-บุรีรัมย์ , กรุงเทพฯ-นครพนม , กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี , กรุงเทพฯ-มุกดาหาร , กรุงเทพฯ-สระบุรี , เอกมัย-แหลมงอบ และจตุจักร-ตราด เป็นต้น และเส้นทางภาคใต้ จำนวน 13 เส้นทาง รวม 35 เที่ยววิ่ง (ไป-กลับ) อาทิ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต , กรุงเทพฯ-เกาะสมุย , กรุงเทพฯ-คลองท่อม-กระบี่, กรุงเทพฯ-สงขลา, กรุงเทพฯ-สุไหงโกลก, กรุงเทพฯ-ปัตตานี-ยะลา , กรุงเทพฯ (หมอชิต2) -หาดใหญ่ , กรุงเทพฯ (หมอชิต2)- สตูล , กรุงเทพฯ(หมอชิต2)-นครศรีฯ-หัวไทร และกรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – ตรัง เป็นต้น ผู้โดยสารสามารถสอบถามข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1490 เรียก บขส. ตลอด 24 ชั่วโมง


กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส. ยอมรับว่าจากสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ บขส. มีค่าใช้จ่ายต้นทุนน้ำมันเพิ่มขึ้น ประมาณ 3-5% หรือประมาณเดือนละ 6-8 ล้านบาท จากเดิมที่ บขส.มีต้นทุนน้ำมันเฉลี่ยประมาณ 24-25 ล้านบาทต่อเดือน โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 บขส. มีต้นทุนค่าใช้จ่ายน้ำมัน

ประมาณเกือบ 200 ล้านบาท อย่างไรก็ดี บขส. ยินดีที่จะตรึงราคาค่าโดยสารให้กับประชาชน และยังคงมุ่งมั่นที่จะให้บริการประชาชนด้วยบริการที่มีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย รวมทั้งให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยและมีการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบายของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวด ทั้งภายในสถานีขนส่ งผู้โดยสารและบนรถโดยสารด้วย .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

นายกฯ ติดตามภารกิจช่วยเหลือคนติดซาก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จุดเกิดเหตุอาคาร สตง.ถล่ม ติดตามภารกิจช่วยเหลือผู้ที่ติดค้างอยู่ใต้ซากอาคาร พร้อมให้กำลังใจทุกหน่วยงานทำงานอย่างเต็มที่

ตึกถล่มแผ่นดินไหว

72 ชั่วโมง ยังมีหวังพบผู้รอดชีวิตตึก สตง. ถล่ม

ใกล้ครบ 72 ชั่วโมงเหตุตึก สตง. ถล่ม แต่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยังไม่ละความพยายาม และยังมีความหวังในการค้นหาผู้ที่ติดอยู่ใต้ซาก

ตรวจอาคารแผ่นดินไหว

ตรวจอาคารใน กทม.แล้วกว่าหมื่นแห่ง พบสีแดง 2 แห่ง ยังห้ามเข้าใช้ จากเหตุแผ่นดินไหว

หน่วยงานร่วมแถลงสถานการณ์ภาคเศรษฐกิจและระบบทางการเงินจากเหตุแผ่นดินไหว เผยตรวจสอบอาคารแล้วกว่า 10,000 แห่ง เป็นสีเขียว พบ 2 แห่ง ยังมีสีแดงไม่ให้เข้าใช้อาคาร แจง 4 บริษัทประกันภัยตึก สตง.ถล่ม ทำประกันภัยต่อกับบริษัทประกันต่างประเทศ

อพยพออกจากตึก

ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ แจ้งให้เข้าใช้งานในอาคารได้แล้ว

ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ สั่งคนออกจากตึกทันที หลังเกิดเสียงดัง-รอยร้าว-เศษปูนร่วง ล่าสุดแจ้งให้เข้าใช้งานในอาคารได้แล้ว