สำนักข่าวไทย : 24 มี.ค. 63 – กระทรวงสาธาณสุขแถลงสถานการณ์โรคโควิด-19 วันนี้ 24 มี.ค. 63 พบผู้ป่วยเพิ่ม 106 ราย ยอดสะสมพุ่ง 827 ราย มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ 4 ราย
• พบผู้ป่วยรายใหม่ 106 ราย (ลำดับที่ 722-827) รวมผู้ป่วยสะสม 827 ราย
• ผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่ม 5 ราย รวมกลับบ้านแล้ว 57 ราย
• รักษา รพ. 766 ราย
• อาการหนัก 4 ราย ทุกรายใส่เครื่องช่วยหายใจ มีการเฝ้าระวังใกล้ชิด
• เสียชีวิตเพิ่ม 3 ราย ชายไทย อายุ 70 ปี ผู้ป่วยวัณโรคร่วม, คนไทย 79 ปี เกี่ยวข้องกับสนามมวย อาการหนักตั้งแต่แรกรับ มีโรคประจำตัวเยอะ อีกรายอายุ 45 ปี มีภาวะโรคเบาหวานและโรคอ้วน รวมเสียชีวิตสะสม 4 ราย
ผู้ป่วยรายใหม่ 106 ราย (ลำดับที่ 722-827) สามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 สัมผัสกับผู้ป่วยและเกี่ยวข้องกับสถานที่ก่อนหน้า 25 ราย
• สนามมวย 5 ราย เป็นสนามมวยลุมพินี, ราชดำเนิน เป็นผู้ชมและเซียนมวย จากจังหวัด กทม. นครปฐม สมุทรสาคร และอุบลราชธานี
• สถานบันเทิง 6 ราย เป็นย่านทองหล่อ, rca, นานา เป็นนักท่องเที่ยว พนง.เสิร์ฟ จากจังหวัดสระบุรี กทม. บุรีรัมย์ และชลบุรี
• สัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้า 12 ราย เป็นพนง.ขายเสื้อผ้า เซียนมวย พนง.บริการ รับราชการ ที่มีประวัติกินข้าวกับผู้ป่วย กินเลี้ยง ดื่มสุรากับผู้ป่วยที่สถานบันเทิง และใกล้ชิดกับผู้มีประวัติสนามมวย
• ร่วมพิธีทางศาสนา 2 ราย พบที่จังหวัดปัตตานี
กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยรายใหม่ 34 ราย
• มาจาก ตปท. 20 ราย คนไทย 8 ราย (พนง.ต้นรับบนเครื่องบิน, นศ. และพนง.ที่ปอยเปต) ต่างชาติ 12 ราย (ฝรั่งเศส, สวีเดน, ปากีสถาน, อังกฤษ และนิวซีแลนด์
• ทำงานหรืออาศัยในพท.แออัด 10 ราย เป็นผู้เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย, ชาวต่างชาติ (รปภ., พนง.รับรถ, ขับรถรับส่ง นทท., ขับรถแท็กซี่, พนักงานเสิร์ฟ, มัคคุเทศก์, พนง.ในสถานบันเทิง จากจังวัด กทม., จันทบุรี, ชลบุรี, บุรีรัมย์, อุบลราชธานี, ภูเก็ต และโคราช)
• บุคลากรทางการแพทย์ 4 ราย (แพทย์ พยาบาล จนท.สธ. จากภูเก็ต, ยะลา, บุรีรัมย์ และนครปฐม) เป็นกลุ่มก้อนใหม่ สาเหตุเพราะผู้ป่วยไม่แจ้งประวัติเสี่ยง ทำให้บุคลากรไม่สามารถป้องกันตัวเองได้
กลุ่มที่ 3 อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 47 ราย
กระทรวงสาธารณสุขจัดทำข้อมูลสถานที่ ประกาศให้ผู้เกี่ยวข้องเฝ้าระวังตัวเอง
• วันนี้ (24 มี.ค. 63) อัปเดต อุบลราชธานี ขอนแก่น กทม. สงขลา โคราช นนทบุรี และสุรินทร์ ผู้ที่อยู่ในสถานที่และเวลาตามประกาศ ขอให้รายงานตัวต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ได้แก่ นพ.สาธารณสุขจังหวัด, ผู้ว่าราชการจังหวัด, ผอ. โรงพยาบาล, นายอำเภอ, สาธารณสุขอำเภอ, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, อสม และผู้นำชุมชนทันที
• ให้กักตัวเอง สังเกตอาการ 14 วัน หากมีไข้ อาการของระบบทางเดินหายใจ ให้รีบพบแพทย์ทันที
• ติดตามประกาศสถานที่ที่พบผู้ป่วยได้ที่เว็บไซต์ ไทยรู้สู้โควิด https://www.facebook.com/thaimoph/ และเว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค https://ddc.moph.go.th/index.php
วิเคราะห์สถานการณ์ โดย พญ.วลัยรัตน์ ไชยฟู ผอ.กองระบาดวิทยา
ข้อมูล ณ 24 มี.ค. 63 เวลา 0.00 น.
• สถานการณ์ทั่วโลก
– มีผู้ป่วยทั้งหมด 192 ประเทศ เพิ่ม 5 ประเทศ
– ผู้ป่วยยืนยัน 366,866 (เพิ่ม 37,242)
– ผู้ป่วยวิกฤต 11,856 (เพิ่ม 1,558)
– รักษาหาย 101,065 (เพิ่ม 4,107)
– เสียชีวิต 16,098 (เพิ่ม 1,665)
• แนวโน้มประเทศไทย
– มีประเทศเฝ้าระวัง 2 ส่วน ได้แก่ ประเทศเขตโรคติดต่ออันตราย และพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง (มีผู้ป่วยมากกว่า 500 ราย)
ภาพจาก : https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
• ปรับเปลี่ยนมาตรฐานในการตรวจ จาก 2 ห้องปฏิบัติการ เป็น 1 ห้องปฏิบัติการ ถือว่าติดเชื้อ
• ลักษณะผู้ป่วยในภาพรวม ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย มากกว่าผู้หญิง กลุ่มอายุ 30-39 ปี รองลงมาคือ 20-29 ปี
• การกระจายในประเทศ ช่วงแรก 9-15 มี.ค. 63 กระจุกอยู่ กทม. ต่อมาช่วง 16-24 มี.ค. พบการกระจาย ไป 47 จังหวัด ศูนย์กลางอยู่ที่ กทม. ส่วนที่กระจายไป ตจว. เริ่มจากเคสสนามมวย มีคนเดินทางไป ตจว.
• อัตราการแพร่เชื้อ กทม.-ปริมณฑล 1:3.4 คน / สงขลา, ปัตตานี, ยะลา และภูเก็ต 1:2.2 คน / อื่น ๆ 1:1.8 คน
• จากอัตราการแพร่เชื้อ พบว่า 1 คน ใน กทม. สามารถแพร่เชื้อได้ 3-4 คน ซึ่งสูงกว่าอัตราการแพร่เชื้อทั่วไป หากปล่อยทิ้งไว้ จะยิ่งเพิ่มสูง ต้องระมัดระวังมากขึ้น
• ตอนนี้ใช้เรื่องของจังหวัดที่รับการรักษาเป็นหลักเนื่องจากข้อมูลยังไม่ครบถ้วน ในทางระบาดวิทยา อยากจะสืบสวนไปถึงจังหวัดที่เขาป่วย
• Social Distancing เป็นมาตรการที่พยายามจะลดโรค หากเราสามารถลดการกระจายได้ ผู้ป่วยจะลดลง ร้อยละ 50-80
การเตรียมความพร้อมและการรับมือ
– สำรับ Worst Case Scenario (กรณีเลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้) ต้องแยกผู้แ่วยอาการน้อยไปอยู่ รพ. หรือ รร. ส่วนเครื่องช่วยหายใจ ณ ปัจจุบันถ้าอัตราการเกิดโรคใหม่และหนักยังไม่มาก ทรัพยากรที่เป็นเครื่องมือช่วยเรื่องทางเดินหายใจยังเพียงพอ
– หากผู้ป่วยเพิ่มเป็นหลักหลายพันขึ้นไปก็อาจไม่พอ จะมีการจัดครุภัณฑ์ รับบริจาค สถานการณ์นี้ ปชช. เป็นผู้กำหนดว่าจะเพิ่มขึ้นหรือไม่
– ลดระยะเวลาของการคาดการณ์จาก 2 ปี เหลือแค่สิ้นเดือน เพื่อรับมือและหามาตรการใหม่ในการรับมือ
– คนใน กทม. พยายามเดินทางออก ตจว. ทำให้มีผู้ป่วยเพิ่ม หากในวันหยุด คนใน กทม. ไม่ได้เดินทางไปไหน ก็จะมีโอกาสน้อยที่จะนำเชื้อไปแพร่ให้กับผู้สูงอายุที่ ตจว.
– หากไม่มีอาการอย่าเพิ่งไปตรวจ จะทำให้ผู้ที่มีอาการ, มีโอกาสติดเชื้อไม่ได้ตรวจ
– กรณีผู้เสียชีวิต สามารถจัดงาน, ฌาปณกิจได้ และผู้เสียชีวิตบางรายก็ไม่มีเชื้อแล้ว ผู้ร่วมงานควรมี Social Distancing กับผู้ร่วมงานคนอื่น ๆ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อมากกว่า
ฟังเพิ่มเติม : https://bit.ly/2WzG6Rs