ชี้ ปลัด มท. ตำหนิข้าราชการ ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

กสม.5 ม.ค. – กสม. ชี้ปลัด มท. ตำหนิข้าราชการในที่ประชุม ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ควรเร่งตรวจสอบ สร้างบรรทัดฐานต่อข้าราชการ


นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ และ น.ส.สุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวถึงการเผยแพร่คลิปนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ตำหนิผู้ใต้บังคับบัญชาในการประชุมข้าราชการกระทรวงฯ ว่า กสม.เห็นว่ากรณีนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเกียรติยศชื่อเสียง ด้วยมีการใช้ถ้อยคำในลักษณะดูหมิ่น เหยียดหยามและลดทอนคุณค่าของบุคคล อันไม่สอดคล้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 4 ที่บัญญัติว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง รวมทั้งหลักสิทธิมนุษยชนสากลที่ระบุว่า การเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะด้วยเหตุแห่งสถานะทางสังคมหรือเหตุอื่นใดย่อมกระทำไม่ได้  

นอกจากนี้ หากพิจารณาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ข้าราชการต้องมีความประพฤติสุภาพเรียบร้อย และต้องรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการมิให้เสื่อมเสียด้วย ซึ่งในที่ประชุมกรรมการสิทธิฯ  ด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา มีความเห็นเบื้องต้นว่า กรณีนี้เข้าข่ายการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลอื่น สะท้อนวัฒนธรรมอำนาจนิยม และการขาดความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการสื่อสารที่เป็นการลดทอนคุณค่าและสร้างผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจหรือเกียรติยศของผู้อื่น ซึ่งเป็นเรื่องที่สังคมทุกภาคส่วนโดยเฉพาะสถาบันการศึกษาต้องช่วยกันบ่มเพาะ ปลูกฝังและสร้างวัฒนธรรมการเคารพสิทธิมนุษยชนซึ่งกันและกัน


“กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่าเรื่องนี้ผู้บังคับบัญชาของปลัดกระทรวงมหาดไทยควรจะเร่งตรวจสอบและดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตามหลักสิทธิมนุษยชนต่อไป” น.ส.สุภัทรา กล่าว

ด้านนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยสถิติเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 มีเรื่องร้องเรียนจำนวน 1,152 เรื่อง สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยประเด็นที่มีการร้องเรียนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 สิทธิและสถานะของบุคคล คิดเป็นร้อยละ 36.72 อันดับที่ 2 สิทธิในกระบวนการยุติธรรม คิดเป็นร้อยละ 13.72 และอันดับที่ 3 สิทธิชุมชน คิดเป็นร้อยละ 5.03 ส่วนประเด็นสิทธิอื่นๆ เช่น สิทธิของบุคคลในทรัพย์สิน สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย สิทธิและความเสมอภาคทางเพศ การเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรม สิทธิแรงงาน สิทธิเด็กและสิทธิคนพิการ เป็นต้น

สำหรับเรื่องร้องเรียนที่ กสม. รับไว้เป็นคำร้องเพื่อดำเนินการประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในปี 2565 จำนวน 124 คำร้อง ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว จำนวน 96 คำร้อง อยู่ระหว่างรอการพิจารณาของ กสม. จำนวน 6 คำร้อง และอยู่ระหว่างการติดตามผล การประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จำนวน 22 คำร้อง ซึ่งหลายคำร้องใช้ระยะเวลาไม่นานในการดำเนินการจนแล้วเสร็จ 


ส่วนการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในปี 2565 มีจำนวน 181 เรื่อง โดยประเด็นสิทธิที่มีมติว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. สิทธิในกระบวนการยุติธรรม เช่น กรณีการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจและสื่อมวลชน โดยละเมิดสิทธิของผู้ต้องหา ผู้เสียหาย และผู้เกี่ยวข้องในการเสนอข่าวต่อสาธารณะ กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่คืนทรัพย์สินที่ยึดไว้เป็นของกลางในคดีอาญา และกรณีพนักงานสอบสวนดำเนินคดีล่าช้า 2. สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย เช่น กรณีผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บสาหัสในการสลายการชุมนุม กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐทำร้ายร่างกายขณะจับกุมและควบคุมตัว และกรณีการตรวจสารพันธุกรรม (DNA) หรือการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดแบบเหมารวมโดยไม่ได้รับความยินยอม และ 3. สิทธิของบุคคลในทรัพย์สิน เช่น กรณีแนวเขตของอุทยานแห่งชาติ  ทับซ้อนที่ดินทำกินของราษฎร และกรณีปัญหาการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและการจัดระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตให้แก่คนจนเมืองในชุมชนแออัด.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

นายกฯ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัยตึก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัย ค้นหาผู้สูญหายเหตุตึก สตง.ถล่ม พร้อมสอบถามถึงอุปสรรคในการทำงานและความต้องการเพิ่มเติม

ปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

รองผู้ว่าฯ กทม. เผยยอดผู้เสียชีวิตเหตุตึกถล่ม ที่ผ่านการพิสูจน์อัตลักษณ์แล้ว อยู่ที่ 16 ราย และอยู่ระหว่างการค้นหาอีก 78 ราย พร้อมแจงปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

นายกฯ วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ เนื่องในวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

นายกรัฐมนตรี วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ พุทธศักราช 2568 ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า