ข่าวดี! ค่าไฟไม่ขึ้นสำหรับบ้านใช้ไม่เกิน 500 หน่วย/เดือน

กรุงเทพฯ 25 พ.ย.-กพช. เคาะแนวนโยบายการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ ฝ่าวิกฤติราคาพลังงาน มกราคม – เมษายน 2566 ให้ ปตท.ร่วมรับภาระ 6 พันล้านบาท ปรับสูตรไฟฟ้าบ้านให้เหมาะสม ย้ำดูแลผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน ไม่ขึ้นค่าไฟฟ้า


นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน หารือลดภาระค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) งวดใหม่ (ม.ค.-เม.ย.66 ) ที่ต้นทุนค่าไฟฟ้าเฉลี่ยจะขยับขึ้นเป็นไม่ต่ำกว่า 5.37 บาทต่อหน่วยจากอัตราเฉลี่ยงดปัจจุบันที่ 4.72 บาท/หน่วย โดย กพช.ให้นโยบายช่วยเหลือประชนชนกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านที่อยู่อาศัยไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน ค่าไฟฟ้าจะไม่ขึ้นราคา ใช้เกณฑ์การใช้เหลือเช่นเดียวกับงวดปัจจุบัน คือ หากใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.7 บาทต่อหน่วย ส่วนกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้า 301-500 หน่วยต่อเดือน จะได้รับส่วนลดค่าไฟฟ้าร้อยละ 15-45 โดยงวดปัจจุบันใช้งบประมาณกลางของรัฐเข้าดูแล 7,000 ล้านบาท แต่งวดใหม่ การดูแลจะมีการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติเพื่อลดภาระให้มากที่สุดรวมทั้งให้ บมจ.ปตท. เข้ามาร่วมรับภาระรวม 6 พันล้านบาท และอาจใช้งบกลางฯ บางส่วน ซึ่งจำเป็นต้องช่วยเหลือประชาชนระยะสั้นไปก่อน เพราะต้นทุนที่ขึ้นหลักๆ ได้รับผลกระทบต้นทุนเชื้อเพลิงแพงจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง สหพันธรัฐรัสเซียและประเทศยูเครนที่ยังไม่มีข้อยุติส่งผลให้ราคาพลังงานโลกมีความผันผวนและมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรง ในขณะที่ต้นปีหน้า ก๊าซจากเมียนมาจะลดกำลังผลิต เพราะมีการซ่อมแซมอุปกรณ์ ทางไทยก็มีความสุ่มเสี่ยงต้องนำเข้าแอลเอ็นจีมากขึ้น จึงต้องบริหารจัดการทุกด้าน ทั้งก๊าซ หรือนำเชื้อเพลิงอื่นทดทนก๊าซ

ทั้งนี้ ราคาก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG (JKM) ปรับเพิ่มขึ้นจากต้นปี 2564 ที่ 10 $/MMBTU (เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู) เป็น 30 $/MMBTU ในเดือน ต.ค. 65 การประมาณการแนวโน้มราคา LNG ในปี 2566-2567 อยู่ที่ 25 – 33 $/MMBTU ซึ่งกำลังการผลิตก๊าซฯ จากแหล่งอ่าวไทยลดลงจึงจำเป็นต้องนำเข้า Spot LNG หรือตลาดจร ที่มีราคาสูงเข้ามาทดแทนเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อต้นทุนเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าของประเทศสูงขึ้นตามไปด้วย


กพช. จึงมีมติเห็นชอบแนวนโยบายการบริหารจัดการก๊าซฯ เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤตราคาพลังงาน (ตั้งแต่ ม.ค.-เม.ย. 66) ดังนี้

1.การบริหารก๊าซธรรมชาติเพื่อการผลิตไฟฟ้า โดยจัดสรรก๊าซฯ จากอ่าวไทยหลังโรงแยกก๊าซฯ เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยก่อน ในปริมาณที่ไม่เพิ่มภาระอัตราค่าไฟฟ้าจากปัจจุบัน โดยมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไปคำนวณอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่า Ft สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ส่วนนี้ประกอบารปิโตรเคมีไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากในขณะนี้กำลังผลิตปิโตรเคมีลดลง และมอบหมายให้ กกพ. เร่งศึกษาการจัดทำอัตราค่าไฟฟ้ากลุ่มประเภทบ้านอยู่อาศัยที่มีการใช้ไฟฟ้ามากกว่า 500 หน่วยต่อเดือนขึ้นไป เพื่อส่งเสริมการประหยัดพลังงาน

2. กพช.ได้ขอความร่วมมือจาก ปตท. ให้พิจารณาจัดสรรรายได้จากการดำเนินธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ ประมาณ 1,500 ล้านบาทต่อเดือน ระยะเวลา 4 เดือน (ตั้งแต่ ม.ค. – เม.ย. 66) มาช่วยสนับสนุนในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้า โดยแบ่งการจัดสรร ดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นส่วนลดราคาค่าก๊าซฯ ให้กับ กฟผ. เพื่อสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือลดค่าไฟฟ้าแก่กลุ่มเปราะบางที่ใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 500 หน่วยต่อเดือน โดยมอบหมายให้ กกพ. กำกับดูแลการดำเนินการต่อไป ส่วนที่ 2 เป็นส่วนลดราคาก๊าซฯ สำหรับโรงแยกก๊าซฯ ในการคำนวณต้นทุนก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เพื่อเป็นเชื้อเพลิง


3. กพช. มีมติเห็นชอบให้ ปตท. ร่วมกับ กฟผ. บริหารจัดการผลกระทบของราคาก๊าซธรรมชาติต่อค่าไฟฟ้า โดยให้ ปตท. คิดราคาก๊าซฯ สำหรับโรงไฟฟ้าของ กฟผ. IPP และ SPP ในระดับราคาเดียวกับที่ใช้การประมาณการค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ตั้งแต่เดือนที่ กพช. มีมติเป็นต้นไป รูปแบบนี้จะทำให้ต้นทุนก๊าซเฉลี่ยไปในหลายๆงวด ไม่ได้ ขึ้นสูงเฉพาะงวดใดงวดหนึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชน 

 นอกจากนี้ ที่ประชุม กพช. มีมติเห็นชอบการดำเนินการตามมาตรการการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response) ในกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมเพื่อลดการใช้ก๊าซฯ โดยกำหนดให้ผลตอบแทนจากการดำเนินมาตรการ Demand Response เป็นส่วนหนึ่งของค่า Ft และมอบหมายให้ กกพ. เร่งดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้สามารถลดต้นทุนค่าไฟฟ้าในภาพรวมต่อไป อีกทั้งที่ประชุม กพช. ได้มติมอบหมายให้ กบง. พิจารณาดำเนินการและกำกับดูแลแนวทางการบริหารจัดการก๊าซฯ เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤตราคาพลังงานต่อไป ส่วนภาระคงค้างของ กฟผ.ในการช่วยดูแลค่าไฟฟ้า 1.2 แสนล้านบาทนั้น ทุกหน่วยงานก็ช่วยกันดูแลให้กระทบประชาชนน้อยที่สุด และดูแลหน่วยงานต่างๆ ให้ทำงานต่อไปได้

“การตรึงค่าไฟฟ้าไม่ใช่ของขวัญปีใหม่ แต่ต้องประคับประคองไปให้ได้ เพราะผันผวนมากจากปัญหารัสเซีย-ยูเครน ราคาทั้งแอลเอ็นจี และแอลพีจีผันผวนมาก แอลพีจีก็กระโดดไปกว่า 600 เหรียญ/ตัน ก็ต้องดูแล ทำทุกทาง แต่ก็คาดว่า แอลเอ็นจีจะไม่ถึง 50 เหรียญ/ล้านบีทียู จึงไม่ต้องใช้มาตรการบังคับประหยัดพลังงานแต่ก็ต้องขอความร่วมมือประหยัดพลังงานต่อเนื่อง ส่วนเอ็นจีวีเมื่อครบกำหนดตรึงราคา 15 ธ.ค. จะตรึงต่อหรือไม่ก็ยังมีเวลาพิจารณา” รมว.พลังงานกล่าว .–สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง