นิคมฯอมตะ ทุ่ม 120 ล้านดอลลาร์พัฒนาเมืองอัจฉริยะ

 


กรุงเทพฯ 14 มี.ค.- ก.พลังงาน และกลุ่มอมตะ รปั้นนิคมฯอมตะนครสู่เมืองอัจฉริยะ(Smart City)เบื้องต้นพัฒนาโซลาร์รูฟท็อป 100 เมกะวัตต์ วงเงิน 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 


วันนี้(14มี.ค.) กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) ได้ลงนาม(MOU). กับ บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชั่น เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City)พัฒนานิคมอุตสาหกรรม สู่เมืองอัจฉริยะ Smart Cities – Clean Energy โดยมีพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีร่วมเป็นสักขีพยาน

พลอากาศเอกประจิน  กล่าวว่า การดำเนินงานดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อปฏิรูป โครงสร้างเศรษฐกิจ กระทรวงพลังงานจึงผลักดันเมืองอัจฉริยะเป็นอีก มาตรการในแนวนโยบาย Energy 4.0 ที่มีความสำคัญ ซึ่งจะผบักดันทุกด้านทั้งด้านเทคโนโลยี การส่งเสริมพลังงานทดแทน ลดความต้องการใช้พลังงาน และลดการใช้ช่วงความต้องการสูงสุด(พีก) ผลักดันให้เกิดนวัตกรรมด้านพลังงานของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก ซึ่ง ในส่วนด้านนวัตกรรมไอที ก็ได้มีการส่งเสริม จังหวัดภูเก็ต และเชียงใหม่ ซึ่งการที่เอกชนมาลงทุนนับว่าเป็นเรื่องที่ดีและอยากเห็นการลงทุนแบบนี้ที่เพิ่มขึ้น

 


นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสนพ.กล่าวว่า สนพ. ได้ดำเนินโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy) และได้เปิดตัวโครงการไปเมื่อปี 2559 เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ปรับตัวสู่ทิศทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่ง อมตะ เข้าร่วมโครงการ APEC Low-Carbon Model Town ภายใต้คณะทำงานพลังงาน เพื่อเป็นเมืองต้นแบบให้แก่การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำอื่นๆ ต่อไป

 

นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวนับเป็นรูปแบบความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership) หรือ PPP ที่มีเป้าหมายในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี เป็นเมืองอัจฉริยะสมบูรณ์แบบ ที่จะมีส่วนในการสนับสนุนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC ปัจจุบันบ.เริ่มดำเนินการประกอบด้วย การติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา(โซลาร์รูฟท็อป) ในโรงงานอมตะนคร 2,000-3,000 แห่งภายใต้บ. Stumpf AMATA Solar โดยอมตะถือหุ้น 12% Stumpf จากออสเตรียถือหุ้น 88% โดยจะนำร่องเผาแรก 100 เมกะวัตต์ ลงทุนประมาณ 120 ล้านเหรียญสหรัฐคาดว่าจะเริมติดตั้งได้ในเดือนมิถุนายน ซึ่งจะใช้เวลาพัฒนา 3 ปีจากศักยภาพหลังคาที่จะทำได้ 800 เมกะวัตต์ เบื้องต้นได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากทั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียหรือเอดีบีและธนาคารไทยพาณิชย์

 

นอกจากนี้ยังมีโครงการตรวจสอบการจราจรอัจฉริยะกับ บริษัท AAPICO ITS ประเทศไทย โครงการโรงงานอัจฉริยะกับบริษัท Hitachi High-Technologies จากประเทศญี่ปุ่น โครงการบ้านอัจฉริยะกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น การพัฒนานวัตกรรมอัจฉริยะ(เมืองวิทยาศาสตร์อมตะ) กับกลุ่มบริษัทจากญี่ปุ่น เมืองการบินและอวกาศอัจฉริยะ โครงการศึกษาอัจฉริยะกับบริษัท KinderWorld จากประเทศ สิงคโปร์ และเมืองแห่งการศึกษาเอ็ดยูทาวน์(Amata College) ซึ่งจะทำให้ก้าวสู่เมืองอัจฉริยะในที่สุด -สำนักข่าวไทย

 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นหาร่างใต้ตึกถล่ม

คาดไม่เกิน 1 สัปดาห์ ทราบชัดมีผู้ติดค้างในซากอาคาร สตง.หรือไม่

คาดไม่เกิน 1 สัปดาห์ จะทราบชัดมีผู้ติดค้างในซากอาคาร สตง. หรือไม่ ปัจจุบันการทำงานบริเวณทางเชื่อมด้านอาคารจอดรถด้านหลังยังลงไปไม่ถึงพื้นของชั้นใต้ดิน

ผบ.ตร. สั่งเร่งตรวจสอบ ตร.พาผู้ต้องหาลอบนำข้อสอบฯ ออกจากโรงพัก

ผบ.ตร. สั่งเร่งตรวจสอบกรณีมีตำรวจพาผู้ต้องหาลักลอบนำข้อสอบฯ ออกจากโรงพัก ทั้งที่การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ย้ำใครผิดว่าไปตามผิด

รวบมือปาหิน

รวบแล้วมือปาหินใส่รถ ย่านบางนา-ตราด อ้างขาดสติเพราะดื่มเหล้า

รวบแล้วมือปาหินใส่รถประชาชน ย่านบางนา-ตราด อ้างขาดสติเพราะดื่มเหล้า พบประวัติเคยถูกจับมาแล้ว 12 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 13

ข่าวแนะนำ

สร้างสถานการณ์ ปาประทัดบอลใส่บ้านชาวไทยพุทธที่ปัตตานี

คนร้ายสร้างสถานการณ์ปาประทัดบอลใส่บ้านชาวไทยพุทธ ในพื้นที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบลายนิ้วมือ หาตัวผู้ก่อเหตุ