ปลัด ยธ.ร่วมประชุมฯ ที่เจนีวา สวิสเซอร์แลนด์

ยธ.15 มี.ค.-ปลัดฯ ยุติธรรม เผยในเวทีประชุมที่เจนีวา สมาพันธรัฐสวิส คกก.สิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ สอบถาม 6 ข้อ เสรีภาพการแสดงความเห็น-การค้ามนุษย์ฯ- ร่างรัฐธรรมนูญ เตรียมส่งให้ ครม.พิจารณาต่อไป


 

รายงานจากนครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่14 มี.ค.2560 ตามเวลาประเทศไทย ระหว่างเวลา 16.00-19.00น.นายชาญเชาว์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม(ยธ.) ในฐานะคณะผู้แทนไทย นำเสนอรายงาน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ไอซีซีพีอาร์)เป็นวันที่ 2 ในการประชุมทบทวนการบังคับใช้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ระหว่างวันที่ 13-14 มีนาคม 2560


ภาพข่าวปลัดยธไปประชุมที่เจนีวา (2)

โดยมีการตอบคำถามเพิ่มเติมจากวันแรกเรื่องร่าง พ.ร.บ.ต่อต้านการทรมานฯ สภาพห้องกักของตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และเรือนจำทัณฑสถาน ความเป็นอิสระของศาลยุติธรรม  การเรียกไปปรับทัศนคติ  สิทธิในการชุมนุม การบังคับใช้กฎหมาย  ระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้กำลัง การอบรมด้านสิทธิมนุษยชน  สิทธิของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ

 


ขณะที่คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (HRC) สอบถามคำถามเพิ่มเพื่อให้คณะผู้แทนตอบในประเด็นต่างๆ ดังนี้ (1)เสรีภาพในการแสดงความเห็น การใช้มาตรา112  พ.ร.บ.การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ฯกฎหมายหมิ่นประมาท  (2) การค้ามนุษย์และการใช้แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมภาคเกษตร ประมง (3)การดูแลผู้โยกย้ายถิ่นฐาน จากเมียนมา โรฮีนจา อุยกูร์เด็กโยกย้ายถิ่นฐาน การไม่ผลักกลับสู่อันตราย (non refoulement)การแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐ (4)สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและสมัครลงเลือกตั้งของกลุ่มต่างๆ (5)สิทธิในที่ดิน สิทธิชุมชน สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์และชนพื้นเมืองดั้งเดิม(6) ร่างรัฐธรรมนูญ และการให้การคุ้มครองคนที่ไม่มีสัญชาติไทย

 

นายชาญเชาว์ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย กล่าวย้ำความสำคัญของการปฏิบัติ การสร้างวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนและการเคารพสิทธิผู้อื่นและกฎหมายพร้อมแจ้งว่า จะเสนอผลการรายงานครั้งนี้ และข้อเสนอของคณะกรรมการ HRCให้ ครม. พิจารณาต่อไป

 

ส่วนบรรยากาศโดยรวมเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ โดยมีคำถามมากมายหลายประเด็นซับซ้อน และมีเวลาจำกัด คณะผู้แทนจึงเลือกส่งคำตอบเป็นลายลักษณ์อักษรเพิ่มเติมให้กับ คณะกรรมการ HRC  ให้ภายใน 48 ชั่วโมง

 

ด้านเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ  ณ นครเจนีวาชี้แจงให้คณะกรรมการHRC ทราบถึงบริบทการเมืองและสังคมไทยก่อนหน้าเดือนพฤษภาคม 2557 และความพยายามของรัฐบาล รวมถึง สนช.ในการผลักดันมาตรการและกฎหมายที่ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมรวมถึงพัฒนาการตามโรดแมปสู่การปรองดอง การปฏิรูป และการเลือกตั้งทั่วไป .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง