ผู้ว่าฯ สตง.ยันตรวจสอบภาษีนักการเมือง ไม่เลือกปฏิบัติ

214สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ 18 มี.ค.-ผู้ว่าฯ สตง. ยันใช้มาตรา 61 ตามประมวลรัษฎากร ให้กรมสรรพากรทำหน้าที่ในการประเมินภาษีเพื่อเรียกคืนภาษีหุ้นชินฯ รอดูผล 31 มี.ค.นี้ เชื่อต้องมีคนรับผิดทางอาญาแน่นอน ยันการตรวจสอบนักการเมืองกว่า 60 คนไม่ได้รับคำสั่ง แต่ทำตามหน้าที่ ย้ำทุกคนต้องเสียภาษีให้แผ่นดิน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (18 มี.ค.) คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน จัดอภิปรายสาธารณะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ชาตินี้หรือชาติหน้า? ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ “การตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่น กรณีการโกงภาษีหุ้นชินคอร์ปและภาษีเชฟรอน” ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์

โดยนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กล่าวว่า หลังจากมีการประชุมหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ถึงกรณีหุ้นชินคอร์ป ซึ่งได้มีการพูดถึงการนำมาตรา 44 มาใช้ในกรณีนี้ โดยเห็นพ้องกันว่าจะต้องดำเนินการตามมาตรา 61 ตามประมวลรัษฎากร ให้กรมสรรพากรทำหน้าที่ในการประเมินภาษีเพื่อเรียกคืนภาษีหุ้นชินคอร์ป และจะไม่มีการเสนอให้ใช้คำสั่ง คสช.มาตรา 44 ในกรณีดังกล่าว


“มีบางฝ่ายเกรงว่าการใช้มาตรา 44 จะถูกกล่าวอ้างได้ว่าเป็นเรื่องการเมือง เพราะต้องเรียกเก็บจากนักการเมือง อาจถูกมองว่าเป็นการใช้เครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมืองหรือใช้อำนาจในการบีบบังคับ จนกระทบต่อหลักนิติธรรม และยังไม่ถือเป็นการแสดงความรับผิดชอบของกรมสรรพากรทั้งที่มีกฎหมายอยู่แล้ว จะสร้างความรู้สึกไม่ดีให้เกิดขึ้นมากกว่าเดิมได้ จึงเห็นพ้องกันว่าไม่ควรนำมาตรา 44 มาใช้ในกรณีนี้” นายพิศิษฐ์ กล่าว

นายพิศิษฐ์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามว่าจนถึงวันที่ 31 มีนาคมนี้ จะมีอะไรเกิดขึ้น ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาส่งสัญญาณและย้ำชัดเจนว่ากรมสรรพากรต้องทำหน้าที่ สตง.จึงไม่จำเป็นต้องส่งหนังสือเตือนอีก และหากกรมสรรพากรทำตามหน้าที่ไม่ได้ ก็ต้องรับผิดชอบ ส่วนการประเมินวงเงินนั้น ไม่ได้เป็นหน้าที่ของ สตง.ว่าจะประเมินเท่าใด แต่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงาน และหากไม่มีการดำเนินการ ก็อาจจะต้องส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พร้อมยืนยันการตรวจสอบกรณีหุ้นชินฯ ในช่วงนี้ เพราะตนเพิ่งมีอำนาจเต็ม และเป็นการตรวจสอบแบบสุ่มตรวจ ไม่ได้เฉพาะเจาะจงหรือมีคำสั่งจากฝ่ายบริหาร แต่เป็นการทำตามหน้าที่เพื่อให้มีการจัดเก็บภาษีอย่างเป็นธรรม โดยไม่ได้สนใจว่าเป็นใคร หรือชื่ออะไร และกรณีหุ้นชินฯ จะต้องมีคนรับผิดทางอาญาแน่นอน

ผู้ว่าฯ สตง. ยังกล่าวถึงกรณีการเปิดเผยรายชื่อนักการเมืองกว่า 60 รายชื่อที่มีการตรวจสอบพบการจ่ายภาษีไม่ถูกต้องในขณะนี้ ยืนยันว่าไม่ได้ตรวจเฉพาะนักการเมือง แต่นักธุรกิจรายใหญ่ก็มีการตรวจสอบเช่นกัน ที่มีมูลค่ารวมกว่าหมื่นล้านบาท ซึ่งต้องมีคนรับผิดชอบ


“ขอแนะนำนักการเมืองที่กลัวว่าจะเข้าข่ายว่าหากรู้ตัวว่าชำระภาษีไม่ครบ ก็รีบไปชำระภาษี โดย สตง.จะพิจารณาจากความสัมพันธ์ของรายได้ และการชำระภาษีในช่วงก่อน ขณะและพ้นตำแหน่ง ทั้ง 2 รัฐบาลคือสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  อดีตนายกรัฐมนตรี และไม่ขอเปิดเผยรายชื่อนักการเมืองกว่า 60 คน เพราะการเปิดเผยชื่อใดชื่อหนึ่งจะถือเป็นการเลือกปฎิบัติ และเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานตรวจสอบได้มีประสิทธิภาพ” นายพิศิษฐ์ กล่าว

212ขณะที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าหากใช้เฉพาะมาตรา 61 ประมวลรัษฎากรนั้น เป็นเรื่องที่ยากและคาดการณ์ผลได้ยาก จึงน่าจะใช้มาตรา 44 ขยายเวลาในการอุทธรณ์ ซึ่งเห็นว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจในการออกหมายเรียกตามมาตรา 3 วรรค 2 เพื่อขยายเวลาออกหมายเรียกกรณีผู้อยู่ต่างประเทศ แต่ที่ผ่านมาไม่เคยใช้กฎหมายที่เป็นโทษกับผู้เสียภาษี ซึ่งยอมรับว่าอาจจะอึดอัด เพราะที่ผ่านมาเป็นการดำเนินการที่เป็นคุณต่อผู้เสียภาษี

นายธีระชัย ยังเสนอว่า ควรต้องแก้กฎหมายบังคับให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินของบริษัทต่าง ๆ เช่น การจัดซื้อ การขายทั้งในและต่างประเทศ เหมือนในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และให้สื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบด้วย

ด้าน น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีภาษีเชฟรอน ว่า การทุจริตของนักการเมืองและเอกชน จะทำไม่ได้ถ้าไม่มีข้าราชการให้ความร่วมมือ ซึ่งเป็นตัวสำคัญ เพราะรู้จักช่องโหว่ของกฎหมายดีที่สุด จึงให้คำแนะนำนักการเมืองและเอกชนให้ดำเนินการในช่องว่างของกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ขณะที่กรณีหุ้นชินฯ ก็พบว่ามีข้าราชการให้คำแนะในการหลีกเลี่ยงเสียภาษี

“อยากให้เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียกเก็บเงินภาษีให้ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา และไม่ต้องกลัวว่าจะถูกกล่าวหาว่ากลั้นแกล้งใคร หากทำหน้าที่อย่างเต็มที่แล้ว เพราะเงินเดือนที่ได้คือภาษีของประชาชน ไม่ใช่ของนักการเมือง ส่วนการกระทำของเจ้าหน้าที่บางกลุ่มที่ให้คำปรึกษาหรือเอื้อประโยชน์ให้กับนักการเมืองและนักธุรกิจในการเลี่ยงภาษี ถือว่ามีความผิดอย่างร้ายแรงทั้งทางวินัย กฎหมายแพ่ง และอาญาด้วย” น.ส.รสนา กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ตึกถล่มแผ่นดินไหว

72 ชั่วโมง ยังมีหวังพบผู้รอดชีวิตตึก สตง. ถล่ม

ใกล้ครบ 72 ชั่วโมงเหตุตึก สตง. ถล่ม แต่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยังไม่ละความพยายาม และยังมีความหวังในการค้นหาผู้ที่ติดอยู่ใต้ซาก

ตรวจอาคารแผ่นดินไหว

ตรวจอาคารใน กทม.แล้วกว่าหมื่นแห่ง พบสีแดง 2 แห่ง ยังห้ามเข้าใช้ จากเหตุแผ่นดินไหว

หน่วยงานร่วมแถลงสถานการณ์ภาคเศรษฐกิจและระบบทางการเงินจากเหตุแผ่นดินไหว เผยตรวจสอบอาคารแล้วกว่า 10,000 แห่ง เป็นสีเขียว พบ 2 แห่ง ยังมีสีแดงไม่ให้เข้าใช้อาคาร แจง 4 บริษัทประกันภัยตึก สตง.ถล่ม ทำประกันภัยต่อกับบริษัทประกันต่างประเทศ

อพยพออกจากตึก

ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ แจ้งให้เข้าใช้งานในอาคารได้แล้ว

ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ สั่งคนออกจากตึกทันที หลังเกิดเสียงดัง-รอยร้าว-เศษปูนร่วง ล่าสุดแจ้งให้เข้าใช้งานในอาคารได้แล้ว

ทองคำนิวไฮ

หุ้นร่วง-ทองไปต่อ ขึ้นแรง ทำนิวไฮอีก

หุ้นไทยเปิดตลาดเช้านี้ร่วงราว 20 จุด หลังต้องปิดตลาดชั่วคราวหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 28 มี.ค.68 ด้านราคาทองคำสร้างสถิติสูงสุดต่อเนื่อง